การดูแลตนเองเมื่อฉายรังสีบริเวณสมอง


798 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

สมอง  ระบบมะเร็งวิทยา 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

แขนและขาอ่อนแรง 

ทั่วไป

การฉายรังสี/ฉายแสง ( รังสีรักษา ) บริเวณสมอง อาจจะฉายเฉพาะตำแหน่งบริเวณที่เป็นโรค หรือฉายรังสีครอบคลุมทั้งสมอง ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็ง ความรุนแรงของโรค และสภาพร่างกายของผู้ป่วย นอกจากนั้น ปริมาณรังสีที่ใช้ก็จะแตกต่างกันด้วยตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละรายที่แพทย์รังสีรักษาเห็นควร

มีผลข้างเคียงอะไรบ้างระหว่างฉายรังสีรักษาบริเวณสมอง? และ ดูแลอย่างไร?

ผลข้างเคียง (ผลแทรกซ้อน) ที่พบได้ในระหว่างการฉายรังสีบริเวณสมอง ได้แก่

มีผลข้างเคียงอะไรบ้างเมื่อฉายรังสีรักษาบริเวณสมองครบแล้ว? และดูแลอย่างไร?

ผลข้างเคียงภายหลังครบรังสีบริเวณสมองไปแล้ว หรือ เรียกว่า ผลข้างเคียงระยะยาว ได้แก่

  • เส้นผมในบริเวณที่ฉายรังสีปริมาณไม่สูง (น้อยกว่า 3,000-4,000 หน่วย) จะสามารถขึ้นใหม่ได้และจะเหมือนผมเดิมทุกประการ แต่เมื่อได้รังสีสูงกว่านี้ เส้นผมที่ขึ้นใหม่ อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น เส้นผมมีขนาดเล็กลง ผมบาง สีอ่อนลง หงอกขาว หรือ อาจไม่ขึ้นเลย
  • ความจำอาจลดลง ทำให้การตัดสินใจอาจผิดไปจากเดิมได้ (เกิดทั้งจากตัวโรคเอง และ ร่วมกับการรักษา) ดังนั้นในช่วงที่ผู้ป่วยยังมีความจำและการตัดสินใจที่ดีอยู่นั้น ควรให้ผู้ป่วยตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่างๆให้เรียบร้อยก่อน เช่น การทำพินัยกรรม และการเซ็นเอกสารสำคัญต่างๆทางกฎหมาย
  • เนื้อสมองอาจเสื่อมสภาพหรือตายได้ อาจทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาต โดยอาจเกิดจากตัวโรคเอง จากการฉายรังสี และจากการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ผ่าตัด ซึ่งพบได้ประมาณ 5-10% ซึ่งการดูแลรักษานั้นแพทย์รังสีรักษาอาจพิจารณาให้ยาเพิ่มเลือดเลี้ยงสมอง ยาลดการทำงานของเกล็ดเลือดเพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตัน หรือ อาจพิจารณาผ่าตัดเอาเนื้อสมองในส่วนที่ตายออก
  • ตาบอดได้ หากตำแหน่งโรคของผู้ป่วยอยู่ใกล้ หรืออยู่บริเวณดวงตา หรือเส้นประสาทตา ซึ่งอาจเกิดจาก ตัวโรคเอง การฉายรังสี และ การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ผ่าตัด
  • มีอาการชักได้ ซึ่งอาจเกิดจาก ตัวโรคเอง การฉายรังสี การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ผ่าตัด หรือปัญหาอื่นๆทางอายุรกรรม เช่น มีเกลือแร่ในร่างกายเสียสมดุล แต่ส่วนใหญ่ มักเกิดจากตัวโรคเอง
  • มีโอกาสเป็นมะเร็งชนิดที่สองได้ประมาณ 10-15% หากผู้ป่วยอยู่รอดได้นาน (ส่วนใหญ่มักนานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป)
  • นอกจากนั้นผู้ป่วยควรทำกายภาพฟื้นฟูแขน/ขา สม่ำเสมอ ตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ เพื่อให้ร่างกาย คืนสภาพกลับมาให้ใกล้เคียงปกติได้มากที่สุด และพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งโดยญาติควรมาด้วย เพื่อร่วมปรึกษาในการดูแลรักษาผู้ป่วยร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

ควรรีบพบรังสีรักษาแพทย์ก่อนนัดเมื่อไร?

ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติหลังจากให้การรักษาครบแล้ว เช่น แขนขาอ่อนแรงมากขึ้น ปวดศีรษะมากจนไม่สามารถบรรเทาอาการด้วยยาแก้ปวดธรรมดาได้ ( กลุ่มยาแก้ปวด และยาพาราเซตามอล ) มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก มีอาการชัก ซึมลง หรือมีไข้สูง ให้ผู้ป่วยรีบพบแพทย์รังสีรักษาก่อนนัด หรือถ้าเป็นในช่วงที่ไม่สามารถพบแพทย์รังสีรักษาได้ ให้รีบพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้นก่อน
ที่มา  https://haamor.com/th/การดูแลตนเองเมื่อฉายรังสีบริเวณสมอง/

อัพเดทล่าสุด