การดูแลตนเองเมื่อฉายรังสีรักษาบริเวณช่องท้อง และ/หรืออุ้งเชิงกราน


1,048 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

กระเพาะอาหาร  ลำไส้  ระบบทางเดินอาหาร 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ท้องเสีย 

ทั่วไป

การฉายรังสี/ฉายแสง (รังสีรักษา) ในช่องท้อง เป็นการรักษาของโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ของกระเพาะอาหาร หรือของลำไส้

ส่วนการฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกราน (ช่องท้องน้อย) นั้นก็เป็นการรักษาในโรคของมะเร็งระบบนรีเวช (อวัยวะสืบพันธุ์หญิง) เช่นมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเยื่อบุมดลูก (มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก) นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการฉายรังสีในโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (ลำไส้ตรง) มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งต่อมลูกหมาก

การฉายรังสีในบริเวณทั้งสองนี้ จะฉายรังสีครอบคลุม ก้อนมะเร็ง อวัยวะที่เป็นมะเร็ง และต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละคน และตามแต่ลักษณะการลุกลามของแต่ละโรค

ผลข้างเคียงระหว่างฉายรังสีรักษาบริเวณช่องท้องและ/หรืออุ้งเชิงกรานมีอะไรบ้าง? ดูแลอย่างไร?

ผลข้างเคียงแทรกซ้อน ที่พบได้ในระหว่างฉายรังสีบริเวณช่องท้องและอุ้งเชิงกราน ได้แก่

ผลข้างเคียงหลังครบ ฉายรังสีรักษาบริเวณช่องท้องและ/หรืออุ้งเชิงกราน มีอะไรบ้าง? ดูแลอย่างไร?

ผลข้างเคียง ผลแทรกซ้อน หลังครบรังสีรักษา ซึ่งเรียกว่าผลข้างเคียงระยะยาวจากการฉายรังสีบริเวณช่องท้อง และ/หรือ อุ้งเชิงกราน ได้แก่

  • ผลข้างเคียงต่อผิวหนังบริเวณฉายรังสี (การดูแลผิวหนัง และผลข้างเคียงต่อผิวหนังบริเวณฉายรังสีรักษา)
  • ขนบริเวณหัวหน่าวอาจไม่ขึ้น หรือขึ้นแต่ผิดไปจากเดิม คือ ขนบาง มีสีอ่อนลง หรืออาจเป็นสีหงอกขาว
  • ท้องเสีย และปวดท้องเรื้อรัง พบได้ประมาณ 5-10% แพทย์รังสีรักษาจะแนะนำเรื่องการกินอาหาร และให้ยาช่วยเพื่อบรรเทาอาการ
  • ลำไส้อุดตัน (ปวดท้องมาก อาจร่วมกับอาเจียน และไม่ผายลม) ได้เป็นครั้งคราว พบประมาณ 5-10% อาจมีโอกาสเป็นได้มากขึ้นหากผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดในช่องท้องร่วมด้วย หากมีอาการมักจะทำการรักษาด้วยการประคับประคองและบรรเทาอาการก่อน เมื่ออาการไม่ดีขึ้น อาจต้องพิจารณาผ่าตัด
  • ปัสสาวะ และ/หรืออุจจาระเป็นเลือด พบได้ประมาณ 5-10% แพทย์รังสีรักษามักให้ยาเพื่อบรรเทาอาการก่อน หากเลือดออกมากจนเกิดภาวะซีด อาจพิจารณาให้เลือด หรือให้ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงเพื่อบรรเทาอาการ แต่หากรักษาแล้วไม่ดีขึ้น อาจพิจารณาส่งให้แพทย์เฉพาะทางจี้ด้วยแสงเลเซอร์หยุดเลือดในกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ใหญ่ต่อไป หากอาการยังไม่ดีขึ้นอีก ยังมีเลือดออกมากอาจต้องทำการผ่าตัดให้ปัสสาวะหรืออุจจาระออกมาทางหน้าท้อง (กระเพาะปัสสาวะเทียม หรือ ทวารเทียม)
  • กระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ใหญ่ อาจทะลุได้ คือการที่มีปัสสาวะหรืออุจจาระออกมาทางช่องคลอดในผู้หญิง พบประมาณ 5-10% อาจมีโอกาสเป็นได้มากขึ้นหากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดในช่องท้องร่วมด้วย ซึ่งหากมีอาการนี้ แพทย์รังสีรักษาจะส่งผู้ป่วยปรึกษาศัลยแพทย์ เพื่อพิจารณาผ่าตัดให้ปัสสาวะหรืออุจจาระออกมาทางหน้าท้อง
  • ช่องคลอดตีบ สั้นและแคบลงกว่าเดิมในผู้ป่วยหญิง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดในอุ้งเชิงกรานและได้รับการฉายรังสี และใส่แร่ร่วมด้วย ซึ่งป้องกัน และแก้ไขได้โดยแนะนำการมีเพศสัมพันธ์ตามปกติ หรือ ขยายช่องคลอดด้วยตนเองตามที่แพทย์ และพยาบาลแนะนำ
  • ผู้ป่วยสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติหลังจากที่แพทย์รังสีรักษาตรวจติดตามและพบว่าไม่มีการอักเสบของอวัยวะเพศแล้ว เพื่อช่วยขยายช่องคลอดด้วยวิธีตามธรรมชาติ
  • เป็นหมันได้ หากผู้ป่วยฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกราน เพราะจะมีผลต่อการทำงานของรังไข่ในผู้ป่วยหญิง และการทำงานของอัณฑะในผู้ป่วยชาย หากผู้ป่วยมีความประสงค์ ต้องการจะมีบุตร จีงควรปรึกษาแพทย์รังสีรักษาก่อนเริ่มฉายรังสี
  • ประจำเดือนหมด หากผู้ป่วยหญิงในวัยเจริญพันธ์ได้รับการฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกราน (รังไข่จะได้รับรังสีไปด้วย) อาจส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทองก่อนถึงวัยอันควร ซึ่งแพทย์รังสีรักษาจะพิจารณาให้ฮอร์โมนชดเชยให้ผู้ป่วยอย่างเหมาะสมต่อไป
  • มีโอกาสเป็นมะเร็งชนิดที่สอง (มะเร็งชนิดใหม่อีกชนิดหนึ่ง) ได้ประมาณ 10-15% ในบริเวณที่ฉายรังสีรักษา หากผู้ป่วยอยู่ได้นาน (ส่วนใหญ่มักนานกว่า 10 ปีขึ้นไป)
  • หากเป็นผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ ผู้ป่วยควรคุมกำเนิดทั้งในระหว่างฉายรังสีจนกระทั่งฉายรังสีครบ รวมไปถึงจนกว่าสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยแข็งแรง สมบูรณ์และไม่มีโรคมะเร็งย้อนคืนกลับมาแล้ว ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรปรึกษารังสีรักษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ เพราะหากต้องทำการรักษาในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกพิการหรือเสียชีวิตได้

ควรรีบพบรังสีรักษาแพทย์ก่อนนัดเมื่อไร?

ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องมาก คลื่นไส้อาเจียนมาก ปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเลือด ปัสสาวะหรืออุจจาระออกทางช่องคลอด หรือ มีไข้สูง ให้ผู้ป่วยรีบไปพบรังสีรักษาแพทย์ก่อนนัด หรือถ้าเป็นในช่วงที่ไม่สามารถพบรังสีรักษาแพทย์ได้ ให้รีบพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้นก่อน
ที่มา   https://haamor.com/th/การดูแลตนเองเมื่อฉายรังสีรักษาบริเวณช่องท้อง/

อัพเดทล่าสุด