เอชพีวี โรคติดเชื้อเอชพีวี (HPV infection)


1,007 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

กล่องเสียง  ช่องปาก  ทวารหนัก  ผิวหนัง  อวัยวะเพศชาย  อวัยวะเพศหญิง  ระบบหูคอจมูก  ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ชาย  ระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี  ระบบโรคผิวหนัง 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

บทนำ

โรคติดเชื้อเอชพีวี หรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV infection หรือ Human papilloma virus infection) คือโรคที่เกิดจากร่างกายติดเชื้อไวรัสชนิดที่เรียกว่า ไวรัสเอชพีวี (HPV หรือ Human papillomavirus) ซึ่งเป็นไวรัสสายพันธุ์ในตระกูล (Family) Papillomavirus ซึ่งมีมาก กว่า 130 สายพันธุ์ย่อย

เอชพีวี ส่วนใหญ่ไม่ก่อการติดเชื้อในคน มีเพียงประมาณ 40 สายพันธุ์ย่อยเท่านั้นที่ก่อการติดเชื้อในคน โดยมีคนเป็นรังโรค

เอชพีวี ที่ก่อการติดเชื้อในคน จะก่อการติดเชื้อเฉพาะในเซลล์ผิวหนัง และเซลล์เยื่อเมือก (Mucosa,เซลล์บุผนังของอวัยวะ) เท่านั้น และจะเกิดการติดต่อได้เฉพาะจากการสัมผัสโดยตรงกับเชื้อ (Skin to skin contact) ดังนั้นจึงเป็นการติดเชื้อเฉพาะที่ เฉพาะบางอวัยวะที่สัมผัสกับเชื้อได้โดยตรง เช่น อวัยวะเพศ (เช่น การติดเชื้อเอชพีวีอวัยวะเพศสตรี) ไม่มีการแพร่ กระจายทางโลหิต/เลือดหรือทางระบบน้ำเหลือง

การติดเชื้อเอชพีวี พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่ทารกแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยโอกาสเกิดโรคใกล้เคียงกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย

ติดเชื้อเอชพีวีได้อย่างไร?

การติดเชื้อเอชพีวี พบได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

- การติดเชื้อของอวัยวะเพศ รอบปากทวารหนัก และในเซลล์เยื่อเมือก (Anoge nital or mucosal HPV) เป็นการติดเชื้อเอชพีวีที่พบได้บ่อย ซึ่งสามารถติดเชื้อได้จาก ทางเพศสัมพันธ์ ทั้งทาง ช่องคลอด ปากมดลูก (การติดเชื้อเอชพีวีในอวัยวะเพศสตรี) ทางทวารหนัก และทางปาก การติดเชื้อผ่านทางมือ (มือสัมผัสกับเชื้ออาจที่อวัยวะเพศ แล้วไปสัมผัสผิว หนังส่วนอื่น หรือ อวัยวะเพศผู้อื่น) การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน และการติดเชื้อจากการคลอด

อนึ่ง มีการศึกษาในผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว พบเชื้อเอชพีวีที่ปลายนิ้วได้ 26% พบเชื้อเอชพีวีที่ปลายนิ้วในผู้หญิงที่เป็นคู่นอนได้ 14% และ 10% เมื่อเป็นคู่ที่สัมผัสกันเพียงภายนอก ส่วนในผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์พบเชื้อนี้ที่ปลายนิ้วได้ 1%

การติดเชื้อผ่านทางเพศสัมพันธ์ พบว่า เอชพีวี เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้สูงที่สุด สูงกว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกๆโรค พบว่า ประมาณมากกว่า 50% ของผู้ที่มีเพศ สัมพันธ์จะเคยติดเชื้อนี้อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต ส่วนผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ มีโอกาสติดเชื้อได้น้อยมากๆ จากทางมือ หรือจากการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน

การติดเชื้อของอวัยวะเพศ รอบปากทวารหนัก และในเซลล์เยื่อเมือก พบมีการติดเชื้อได้ที่อวัยวะเพศภายนอกส่วนผิวหนังทั้งของหญิงและชาย (โรคหูดอวัยวะเพศ) ที่เยื่อเมือกของอวัยวะเพศ ทั้งหญิง เช่น ช่องคลอด ปากมดลูก (อ่านเพิ่มเติมใน การติดเชื้อเอชพีวีอวัยวะเพศหญิง) และชาย (ส่วนหัวของอวัยวะเพศชาย) และผิวหนังรอบปากทวารหนัก (โรคหูด) และเนื้อในบริเวณใกล้เคียงปากทวารหนัก

การติดเชื้อเอชพีวีของเยื่อเมือก ยังพบเกิดได้กับเนื้อเยื่อของช่องปาก และช่องคอ เช่น เพดานอ่อน ลิ้นไก่ และทอนซิล/ต่อมทอนซิล ทั้งนี้มักเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก

การติดเชื้อทางการคลอด พบได้น้อย จากลูกกลืนน้ำเมือกจากช่องคลอดมารดาช่วงการคลอด และอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจและในกล่องเสียงของทารกได้

ส่วนการติดต่อทางมือ เป็นสาเหตุติดเชื้อได้กับผิวหนังทุกส่วน อวัยวะเพศ และเยื่อเมือก จากสัมผัสนิ้วที่มีเชื้อ

เชื้อเอชพีวีที่เป็นสาเหตุให้เกิด

- การติดเชื้อกับผิวหนังที่ไม่ใช่อวัยวะเพศ (Non genital cutaneous HPV) คือ การติดเชื้อที่ผิวหนังส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่ที่อวัยวะเพศ เช่น โรคหูดผิวหนัง โดยเอชพีวีสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคหูดที่ผิวหนัง เช่น 1,2,3,4,6,8,10,11,42,44,68

- การติดเชื้อในโรค Epidermodysplasia verruciformis โรคนี้เป็นโรคผิวหนังผิด ปกติทางพันธุกรรมที่พบได้น้อยมากๆ โดยผิวหนังขึ้นตุ่ม และผื่นเรื้อรัง และกลายเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้ง่าย ซึ่งในโรคนี้มักพบผิวหนังในส่วนที่เกิดโรค มีการติดเชื้อเอชพีวีเสมอ เนื่องจากเป็นโรคที่พบได้น้อยมากๆ จึงไม่มีข้อมูลที่จะเขียน ดังนั้นในบทความนี้ จึงจะไม่กล่าวถึงการติดเชื้อเอชพีวีในโรคนี้

ใครมีปัจจัยเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชพีวี?

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวี คือ

โรคติดเชื้อเอชพีวีรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไร?

การติดเชื้อเอชพีวี โดยเฉพาะการติดเชื้อที่อวัยวะเพศ (เช่น การติดเชื้อเอชพีวีอวัยวะเพศสตรี) และรอบปากทวารหนัก เป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง โดยทั่วไปร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานและกำจัดเชื้อได้เอง โดยประมาณ 70% ของผู้ติดเชื้อ โรคจะหายได้เองภายในระยะ เวลาประมาณ 1 ปี และประมาณ 90-95% ของผู้ติดเชื้อ โรคจะหายไปเองภายในระยะเวลาประ มาณ 2 ปี แต่อย่างไรก็ตาม ประมาณ 5-10% ของโรค ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสเอชพีวีนี้ได้ ผู้ป่วยยังคงติดเชื้ออยู่ต่อเนื่อง (Persisted disease) ซึ่งการที่ร่างกายกำจัดเชื้อไม่ได้ เชื้อจะสร้างสารโปรตีนบางชนิดต่อเนื่องซึ่งสารเหล่านี้จะค่อยๆก่อให้เซลล์ปกติที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่เกิดการเปลี่ยนแปลงกลายพันธุ์เป็นเซลล์ที่จะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง (Precancerous lesion) และจะกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่ติดเชื้อจนกลายเป็นเซลล์ก่อนการเป็นมะเร็งและกลายเป็นเซลล์มะเร็งจะประมาณ 10-15 ปี ซึ่งนานพอที่แพทย์จะตรวจพบ และให้การรักษาได้ก่อนที่จะกลายเป็นโรคมะเร็ง ถ้าผู้ติดเชื้อพบแพทย์ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ซึ่งก็คือ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกนั่นเอง

อีกประการหนึ่งก็คือ การเกิดโรคหูด ซึ่งมีโอกาสเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งได้ แต่ตัวโรคหูดเองก็ส่งผลให้เกิดการลดคุณภาพชีวิต จากความรำคาญ ภาพลักษณ์ และอาจมีการติดเชื้อแบค ทีเรียซ้ำซ้อน นอกจากนั้น หูดเอง ก็อาจกลายเป็นมะเร็งได้เช่นกันถึงแม้โอกาสจะไม่สูงมากนักก็ตา

เอชพีวีสายพันธุ์ที่จะทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งได้ เรียกว่า High risk HPV หรือ Oncogenic HPV เช่น HPVสายพันธุ์ 16,18,31,33,35,39,45,51,52,56,58,59, 68,73,และ 82

เอชพีวีสายพันธุ์ที่ยังไม่มีรายงานว่าก่อให้เกิดมะเร็งได้ เรียกว่า Low risk HPV เช่น สายพันธุ์ 6,11,42,43,44,54,61,70,72,และ 81

เอชพีวีที่พบเป็นสาเหตุของโรคหูด (90%ของโรคหูด) คือสายพันธุ์ 6,และ 11

เอชพีวีสายพันธุ์ที่พบบ่อยที่อวัยวะเพศสตรี คือ สายพันธุ์ 16

เอชพีวีที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก 70% เกิดจากสายพันธุ์ 16,และ18 ที่เหลือนอกนั้นเป็นสายพันธุ์อื่นๆ เช่น 31,และ 45 เป็นต้น

อนึ่งพบว่า ประมาณ 95% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุสัมพันธ์กับปากมดลูกติดเชื้อเอชพีวี และพบว่า

มีสาเหตุสัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชพีวีของอวัยวะที่เกิดเป็นโรคมะเร็งนั้นๆ

โรคติดเชื้อเอชพีวีมีอาการอย่างไร?

โดยทั่วไป เมื่อติดเชื้อ เอชพีวี ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วย มักไม่มีอาการ และแพทย์มักไม่สามารถตรวจพบเชื้อ และ/หรือความผิดปกติของเซลล์/เนื้อเยื่อที่ติดเชื้อได้ ซึ่งระยะนี้โอกาสที่จะแพร่เชื้อซึ่งก่อให้เกิดการติดต่อมีน้อยเนื่องจากปริมาณเชื้อยังมีน้อยอยู่ เรียกการติดเชื้อระยะนี้ว่า Latent period (ระยะตรวจไม่พบเชื้อ)

เมื่อเชื้อแบ่งตัวมากขึ้น แต่ไม่มากพอที่จะปรากฏให้เห็นเป็นรอยโรคด้วยตาเปล่า ยังเป็นระยะที่ผู้ติดเชื้อยังไม่มีอาการ เป็นระยะที่ตรวจพบเชื้อได้ รวมทั้งสามารถตรวจพบความผิดปกติของเซลล์และเนื้อเยื่อได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ และเป็นระยะที่โรคสามารถติดต่อได้ทางการสัม ผัส เรียกการติดเชื้อระยะนี้ว่า Subclinical HPV infection

เมื่อเชื้อแบ่งตัวเพิ่มปริมาณมากขึ้นอีก และก่อให้เกิดความผิดปกติในเซลล์และในเนื้อเยื่อมากขึ้นจนปรากฏให้เห็นเป็นรอยโรคด้วยตาแปล่า เช่น ก้อนเนื้อหูด หรือก้อนเนื้อที่ปากมดลูก เรียกการติดเชื้อระยะนี้ว่า Clinical HPV infection

ระยะเวลาตั้งแต่ติดเชื้อจนปรากฏเป็นรอยโรคให้เห็นด้วยตาเปล่า (ระยะฟักตัว) จะแตก ต่างกันไป ขึ้นกับว่าเป็นการติดเชื้อสายพันธุ์ไหน เช่น สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคหูด ระยะฟักตัวจะประมาณตั้งแต่ 2 สัปดาห์ ไปจนถึง 6-8 เดือน ในสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก อาจใช้เวาลานานถึง 10-15 ปี ส่วนในสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่น มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งช่องปากและลำคอ ก็เชื่อว่ามีระยะฟักตัวของโรคนานเป็นปี หรือหลายๆปี ขึ้นกับความรุนแรงของแต่ละสายพันธุ์ย่อยที่เป็นสาเหตุเช่นกัน

ทั้งนี้ เมื่อเกิดเป็นรอยโรคให้เห็นแล้ว อาการของผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยก็จะแตกต่างกันไป ขึ้น กับว่าเกิดรอยโรคกับอวัยวะใด เช่น โรคหูดที่ผิวหนัง หรือโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น

แพทย์วินิจฉัยโรคติดเชื้อเอชพีวีอย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคติดเชื้อเอชพีวีได้จาก ประวัติอาการ การตรวจรอยโรค การตรวจย้อมเชื้อไวรัสเอชพีวีจากสารคัดหลั่ง และ/หรือการตรวจชิ้นเนื้อจากรอยโรคเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

รักษาโรคติดเชื้อเอชพีวีอย่างไร?

ปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสเอชพีวี การรักษา คือ การจี้รอยโรค อาจด้วยยา ความเย็น เลเซอร์ หรือผ่าตัดรอยโรคด้วยวิธีทั่วไป (ตัดด้วยมีด)

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเองที่สำคัญ คือ การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคปกติ และโดยเฉพาะในเรื่องของการไม่ส่ำส่อนทางเพศ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดในการติดเชื้อเอชพีวี

นอกจากนั้น คือ ควรสำรวจตนเองเสมอ เมื่อพบมีก้อนเนื้อผิดปกติเกิดขึ้นกับอวัยวะใด ควรพบแพทย์เสมอ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ

และในผู้หญิงทุกรายที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรได้รับการตรวจจากแพทย์เพื่อการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพราะโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคป้องกันได้ โดยเมื่อแพทย์ตรวจพบความผิดปกติของเซลล์ระยะก่อนเป็นมะเร็งจากการตรวจคัดกรอง แพทย์จะให้การรักษาโดยการผ่าตัดปากมดลูก หรือการผ่าตัดมดลูก ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับ ซ้อน และมีผลข้างเคียงจากการผ่าตัดน้อยมาก

ป้องกันโรคติดเชื้อเอชพีวีอย่างไร?

ปัจจุบันกำลังมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องในเรื่องของยาฆ่าเชื้อเอชพีวี ซึ่งในช่วงที่ยังไม่มียาที่มีประสิทธิภาพ การป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบัน คือ

 

อัพเดทล่าสุด