มะเร็งเต้านม (Breast cancer)


1,391 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

เต้านม  ระบบมะเร็งวิทยา 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ก้อนในเต้านม 

ทั่วไป

โรคมะเร็งเต้านม เป็น โรคมะเร็ง พบบ่อยของหญิงไทยและของผู้หญิงทั่วโลกโดยอยู่ในลำดับ 1-2 ของโรคมะเร็งในผู้หญิงทั้งหมด ทั้งนี้เป็นโรคมะเร็งของผู้ใหญ่ พบได้สูงขึ้นตั้งแค่อายุ 50 ปี ขึ้นไป โดยผู้ชายพบน้อยกว่าผู้หญิงถึง 100 เท่า ซึ่งข้อมูลในโรคมะเร็งเต้านมของผู้ชายยังมีน้อยมากเนื่องจากพบโรคได้น้อย ทางการแพทย์จึงอนุโลมให้การรักษาเช่นเดียวกับโรคมะเร็งเต้านมของผู้หญิง

โรคมะเร็งเต้านมเกิดได้อย่างไร? มีปัจจัยเสี่ยงไหม?

ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม แต่พบปัจจัยเสี่ยง ได้แก่

โรคมะเร็งเต้านมมีอาการอย่างไร?

อาการสำคัญของโรคมะเร็งเต้านม คือ คลำได้ก้อนเนื้อในเต้านม มักเกิดเพียงข้างเดียว (โอกาสเกิดสองข้าง มีประมาณ 5%) แต่อาจพบจากมีแผลเรื้อรังที่หัวนม หรือ มีน้ำนมผิดปกติ โดยเฉพาะเป็นน้ำเลือด

แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมได้จาก อาการ ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว ประวัติกินยาต่างๆ การตรวจภาพรังสีเต้านม(แมมโมแกรม /mammogram) อาจร่วมกับตรวจอัลตราซาวด์ แต่ที่ให้ผลแน่นอน คือ เจาะ/ดูดเซลล์ หรือ ตัดชิ้นเนื้อจากก้อนมะเร็ง ตรวจทางเซลล์วิทยา หรือ ทางพยาธิวิทยา >

โรคมะเร็งเต้านมมีกี่ระยะ?

โรคมะเร็งเต้านมแบ่งเป็น 4 ระยะเช่นเดียวกับโรคมะเร็งทั่วไป โดยระยะศูนย์ ยังไม่จัดเป็นโรคมะเร็งอย่างแท้จริงเพราะโรคยังไม่มีการรุกราน

ระยะที่ 0: เนื้อเยื่อ เซลล์มะเร็งอยู่เฉพาะในชั้นผิวของเนื้อเยื่อเต้านม ซึ่งโรคระยะนี้ มี อัตรารอดที่ 5 ปี ประมาณ 90-95% ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดเล็ก ยังไม่มีการรุนราน

ระยะที่ 1: อัตรารอดที่ 5 ปี ประมาณ 75-85% ก้อนมะเร็งขนาดโตขึ้น และ/หรือ ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองรักแร้ด้านเดียวกับโรค แต่ในจำนวนน้อยต่อม ซึ่งโรคระยะนี้มี

ระยะที่ 2: อัตรารอดที่ 5 ปี ประมาณ 70-80% ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดโตขึ้น และ/หรือ ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง แต่ยังจำนวนน้อยต่อม ซึ่งโรคระยะนี้มี

ระยะที่ 3: อัตรารอดที่ 5 ปี ประมาณ 50-60%ก้อนมะเร็งโตมากขึ้น และ/หรือ แตกเป็นแผล และ/หรือ จับโยกไม่ได้เพราะก้อนเนื้อยึดติดกับกล้ามเนื้อหน้าอก และ/หรือ ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองรักแร้ในจำนวนมากขึ้น และ/หรือ ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองในช่องอก และ/หรือลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองเหนือไหปลาร้าด้านเดียวกับโรค ซึ่งโรคระยะนี้มักมี

ระยะที่ 4: อวัยวะ อื่นๆ ที่พบบ่อย คือ ปอด กระดูก ตับ สมอง และไขกระดูก ซึ่งโรคระยะนี้มักไม่หายขาด ทั่วไปผู้ป่วยมักมีชีวิตอยู่ได้ ประมาณ 1-3 ปี ขึ้นกับอวัยวะที่มีโรคแพร่กระจายโรคแพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต (เลือด) สู่

โรคมะเร็งเต้านมมีวิธีรักษาอย่างไร?

วิธีรักษาโรคมะเร็ง มีหลายวิธี ที่สำคัญ คือ ผ่าตัด รังสีรักษา ยาเคมีบำบัด ฮอร์โมนเพศ และ ยารักษาตรงเป้า (ทั้งฮอร์โมนและยารักษาตรงเป้า ใช้รักษาเฉพาะผู้ป่วยซึ่งเซลล์มะเร็งเป็นชนิดตอบสนองต่อยา ซึ่งแพทย์ทราบได้จากการตรวจชิ้นเนื้อมะเร็งทางพยาธิวิทยา)

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเต้านมมักใช้หลายวิธีร่วมกัน ทั้งนี้ ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ระยะโรค ผลชิ้นเนื้อภายหลังผ่าตัด อายุ สุขภาพผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์

อนึ่ง การผ่าตัด มีทั้งชนิดเก็บเต้านมไว้ (มักต้องรักษาร่วมกับรังสีรักษา) และผ่าตัดเต้านม ทั้งนี้ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ระยะโรค ขนาดและตำแหน่งของก้อนเนื้อ ขนาดเต้านมผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์

โรคมะเร็งเต้านมรักษาหายไหม?

โรคมะเร็งเต้านม เป็นโรคมีความรุนแรงปานกลาง มีโอกาสรักษาหายค่อนข้างสูงโรคหนึ่ง เมื่อเป็นโรคในระยะต้นๆ ดังนั้น โอกาสรักษาหายของโรคมะเร็งเต้านมจึงขึ้นกับ ระยะโรค การตอบสนองต่อการใช้ยาฮอร์โมนเพศ อายุ และสุขภาพของผู้ป่วย

มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมไหม?

ปัจจุบัน มีวิธีที่มีประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม (วิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่) เพื่อให้พบโรคได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ

โรคมะเร็งเต้านมป้องกันได้ไหม?

การป้องกันโรคมะเร็งเต้านม คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวที่หลีกเลี่ยงได้

เมื่อไรจึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจโรคมะเร็งเต้านม?

ในผู้หญิงทั่วไป เมื่อคลำพบก้อนเนื้อในเต้านม หรือ พบความผิดปกติของเต้านม ควรรีบพบแพทย์ภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่เมื่ออาการปกติ ควรพบแพทย์เพื่อขอรับการตรวจคัดกรองเมื่ออายุ 50 ปี หรือ อายุ 30-40 ปี เมื่อมีประวัติคนในครอบครัวสายตรงเป็นโรคมะเร็งเต้านม
ที่มา   https://haamor.com/th/มะเร็งเต้านม/

อัพเดทล่าสุด