ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental abruption or Abruptio placentae)


1,420 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ปากมดลูก  รก  สูตินรีเวช 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดก่อนคลอดร่วมกับปวดท้อง 

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดคืออะไร?

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Abruptio placentae) คือ การที่รกที่อยู่ในตำแหน่งปกติในสตรีตั้งครรภ์ มีการลอกตัวก่อนที่จะมีการคลอดทารกออกมา โดยจะมีเลือดออกตรงตำแหน่งที่รกเกาะอยู่ แล้วเซาะให้รกลอกจากเยื่อบุมดลูกมากขึ้น

ภาวะรกลอกตัวแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  • ภาวะรกลอกตัวแบบเปิดเผย (Revealed type) คือจะเห็นเลือดไหลออกมาทางช่องคลอดชัด เจน ทำให้วินิจฉัยโรคได้ค่อนข้างง่าย
  • และอีกชนิดหนึ่ง คือ ภาวะรกลอกตัวแบบไม่เปิดเผย (Concealed type) เลือดที่ออกจะขังอยู่หลังรก ไม่เซาะ ไม่ไหลออกมาทางปากช่องคลอดให้เห็นชัดเจน
ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

สำหรับความรุนแรงของการลอกตัวของรก แบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดมีความสำคัญอย่างไร? มีผลต่อสุขภาพมารดาและทารกอย่างไร?

อุบัติการณ์ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด พบได้ประมาณ 1 ต่อ 200 ของการคลอดทั้งหมด ความสำคัญของภาวะนี้ คือหากสตรีตั้งครรภ์ได้รับการดูแลไม่ทันท่วงที หรือ แพทย์ให้การวินิจ ฉัยโรคได้ช้า จะเป็นอันตรายต่อทั้งมารดาและทารกอย่างมาก มีโอกาสเสียชีวิตได้ทั้งคู่

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดรกลอกตัวก่อนกำหนดมีอะไรบ้าง?

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดรกลอกตัวก่อนกำหนด ได้แก่

อาการรกลอกตัวก่อนกำหนดมีอย่างไรบ้าง?

สตรีที่มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด จะมาพบแพทย์ด้วยการมีเลือดออกทางช่องคลอดหลังตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ไปแล้ว พร้อมกับมีอาการเจ็บครรภ์ หรือ ปวดท้อง อาการอาจมีตั้งแต่ปวดท้อง (เจ็บครรภ์) ไม่มากนักจนมีอาการปวดอย่างรุนแรง ขึ้นอยู่กับระดับของการลอกตัวของรก

เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายจะพบว่า มีมดลูกหดรัดตัวเป็นพักๆ ไปจนกระทั่งมีมดลูกหดรัดตัวแข็งเกือบตลอดเวลา (Tetanic contraction) คลำท่าหรือตัวทารกไม่ชัดเจน อาจฟังได้ยินเสียงของหัวใจทารกเต้นผิดปกติ หรือบางครั้งไม่สามารถได้ยินเลย เนื่องจากทารกเสียชีวิตแล้ว หากเหตุการณ์ดำเนินต่อไปโดยไม่ได้รับการแก้ไข อาจตรวจพบจุดเลือดออกตามแขนขาสตรีตั้งครรภ์ เนื่องจากระบบการแข็งตัวของเลือดเสียไป

วินิจฉัยภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดได้อย่างไร?

การวินิจฉัยภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด เริ่มจากประวัติทางการแพทย์ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆตามที่กล่าวมาแล้วในหัวข้อปัจจัยเสี่ยง ที่จะช่วยการวินิจฉัยของแพทย์ได้มาก อย่างไรก็ตาม แม้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงก็ต้องคิดถึงภาวะนี้ หากมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงหลังของการตั้ง ครรภ์และยังไม่ครบกำหนดคลอด ร่วมกับอาการเจ็บครรภ์และมดลูกหดรัดตัวถี่

การตรวจร่างกายจากแพทย์ จะพบว่ามีมดลูกหดรัดตัวเป็นพักๆ หรือ หดรัดตัวแข็งเกือบตลอดเวลาตามที่กล่าวมาแล้ว คลำท่าหรือตัวทารกไม่ชัดเจน อาจฟังได้ยินเสียงของหัวใจทา รกเต้นผิดปกติ

ในกรณีที่มีมารดาและทารกอาการชัดเจน การวินิจฉัยมักไม่มีปัญหา แต่ในรายที่มีอาการน้อยๆ ต้องใช้การตรวจอัลตราซาวด์ครรภ์ช่วยวินิจฉัยด้วย ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า จะยังไม่มีการตรวจภายใน (ตรวจช่องคลอด ปากมดลูก) จนกว่าจะได้รับการตรวจ อัลตร้าซาวด์ในสตรีตั้ง ครรภ์ที่มาพบแพทย์ด้วยอาการเลือดออก เพราะแพทย์ต้องแยกสาเหตุภาวะรกเกาะต่ำ (Placen ta previa) ให้ได้ก่อน เนื่องจากสตรีตั้งครรภ์จะมาด้วยอาการเลือดออกในช่วงหลังของการตั้ง ครรภ์เช่นกัน แต่มักไม่มีการเจ็บครรภ์ (Painless bleeding) มิฉะนั้นหากเป็นรกเกาะต่ำแล้วไปทำการตรวจภายใน จะทำให้เลือดออกมาก จนเป็นอันตรายต่อชีวิตทั้งมารดาและทารกในครรภ์ได้

ในภาวะที่รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาพจากอัลตราซาวด์ จะเห็นรกอยู่ในตำแหน่งปกติ คือ ด้านบนของมดลูก แต่รกหนาตัวมากกว่าปกติ และเห็นมีเลือดออกหลังรก ซึ่งหากเป็นภาวะรกเกาะต่ำ จะเห็นรกอยู่บริเวณส่วนล่างของมดลูก หรือคลุมปากมดลูก

หลังจากวินิจฉัยตัดสาเหตุรกเกาะต่ำออกได้แล้ว แพทย์จะทำการตรวจภายในเพื่อประ เมินสภาพปากมดลูกว่า เปิดมากน้อยเพียงใด เพื่อเตรียมวางแผนการดูแลมารดาและทารกต่อไป

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด?

เนื่องจากภาวะรกเกาะต่ำเป็นภาวะที่อันตราย หากประสบอุบัติเหตุหรือมีเลือดออก มีอา การเจ็บครรภ์ผิดปกติ ต้องรีบไปพบแพทย์ และแนะนำว่าไม่ควรรีบรับประทานอาหารหรือน้ำเผื่อไว้ (กลัวว่าเดี๋ยวไปโรงพยาบาลจะไม่ได้รับประทาน) เพราะในบางครั้ง อาจต้องผ่าตัดคลอดฉุก เฉินเพื่อช่วยชีวิตทารก จะได้ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการสำลักอาหารและน้ำของมารดาขณะใช้ยาสลบในการทำผ่าตัดได้

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร ?

ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติต่างๆดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ อาการ

การดูแลรักษาภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด มีอย่างไรบ้าง?

รกลอกตัวก่อนกำหนดเป็นภาวะฉุกเฉิน ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ประกอบด้วย

มารดาที่มีรกลอกตัวก่อนกำหนด หลังคลอดมีการพยากรณ์โรคอย่างไร? ครรภ์ต่อไปมีโอกาสเกิดภาวะนี้ได้อีกไหม?

การพยากรณ์โรค (Prognosis) ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของรกที่ลอกตัว หากรกลอกตัวน้อยๆ อาจไม่มีอาการผิดปกติแสดงให้เห็น การพยากรณ์โรคจะดี แต่หากรกมีการลอกตัวมากหรือลอกตัวทั้งหมด จะมีอาการรุนแรงมาก การพยากรณ์ของโรคจะไม่ดี มดลูกหดรัดตัวถี่มาก อีกทั้งจะมีสารที่ยับยั้งการแข็งตัวของเลือดกระจายเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้เลือดออกไม่หยุดทั้งร่างกาย ทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดีด้วย ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตแม่ ภาวะรกลอกตัวอย่างรุนแรงพบได้ประมาณ 20-25% ของภาวะรกลอกตัวทั้งหมด

สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดในครรภ์แรก มีแนวโน้มจะเป็นซ้ำอีกได้ในครรภ์ต่อไป 4-12% และหากเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดในการตั้งครรภ์ 2 ครั้งแรก โอกาสที่จะเกิดรกลอกตัวก่อนกำหนดในการตั้งครรภ์ที่ 3 สูงถึง 25%

ทารกที่คลอดเมื่อมีรกลอกตัวก่อนกำหนด มีการพยากรณ์โรคอย่างไร? ดูแลทารกอย่างไร?

การพยากรณ์โรคของทารกที่มารดามีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ

  • ระดับความรุนแรงของรกที่ลอกตัว ที่ทำทารกขาดออกซิเจน
  • ละอายุของทารกในครรภ์

เหตุการณ์/การพยากรณ์โรค จะเลวร้ายที่สุด หากรกลอกตัวทั้งหมด และอายุทารกในครรภ์ยังน้อย ทารกจะเสียชีวิตจากการขาดออกซิเจน และปอดไม่สามารถทำงานได้ แม้จะผ่า ตัดคลอดช่วยอย่างรวดเร็วก็ตาม แต่หากรกลอกตัวไม่มาก อายุครรภ์มากขึ้นหน่อย การช่วย เหลือโดยการให้คลอดอย่างรวดเร็ว หรือผ่าตัดคลอด ก็สามารถช่วยชีวิตทารกได้มาก

การป้องกันการเกิดรกลอกตัวก่อนกำหนดทำได้อย่างไร?

การป้องกันการเกิดรกลอกตัวก่อนกำหนดทำได้ โดย มารดาต้อง


ที่มา   https://haamor.com/th/ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด/

อัพเดทล่าสุด