บทนำ
ฝ้า (Melasma หรือ Cholasma หรือ Mask of pregnancy) เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย ซึ่งไม่ได้มีมาแต่กำเนิด โดยมีลักษณะเป็นปื้นหรือแผ่นสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม พบมากที่สุดบนใบหน้า และพบมากในผู้หญิงถึง 90% โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยกลางคนอายุประมาณ 30-40 ปี ชนชาติที่พบฝ้าได้บ่อย คือ ชาวลาตินอเมริกา ชนชาติเอเชีย แอฟริกา และชาวอาหรับ ตามลำดับ
ฝ้ามีลักษณะอย่างไร?
ฝ้ามีลักษณะเป็นปื้นสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม อาจมีสีดำ สีเทา สีน้ำตาลอมเทา หรือ สีม่วงอมน้ำเงิน ขึ้นกับชนิดของฝ้า ตำแหน่งที่พบฝ้าได้บ่อย คือ บริเวณใบหน้าที่มีโอกาสสัมผัสกับแสงแดดมากๆ เช่น โหนกแก้ม หน้า ผาก จมูก เหนือคิ้ว และบริเวณเหนือริมฝีปาก โดยฝ้านั้นมักเป็นทั้งสองข้างของบริเวณที่เกี่ยวข้อง คือ ซ้ายและขวา นอกจากนี้ยังอาจพบฝ้าได้ที่บริเวณแขนส่วนล่าง และหน้าอกส่วนบน
ฝ้ามีสาเหตุจากอะไร?
สาเหตุที่แท้จริงของฝ้านั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ตามทฤษฎีเชื่อว่าฝ้าเกิดจากการที่ เซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocytes) ที่อยู่ใต้ผิวหนังทำงานมากขึ้นกว่าปกติ จึงเกิดการสร้างเม็ดสี (Melanin) เพิ่มขึ้น
ฝ้ามีกี่ชนิด?
ฝ้าแบ่งเป็น 4 ชนิด คือ
- ฝ้าตื้น (Epidermal type) เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี สร้างเม็ดสีและลำเลียงเม็ดสีขึ้นสู่ผิวหนังชั้นบนสุด (ชั้นหนังกำพร้า) จึงทำให้ฝ้าชนิดนี้มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือดำ และ มักมีขอบเขตชัดเจน
- ฝ้าลึก (Dermal type) เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี สร้างเม็ดสีออกมาอยู่ใต้ต่อชั้นหนังกำพร้า คืออยู่ในชั้นหนังแท้ (ผิวหนังชั้นอยู่ใต้หนังกำพร้า) จึงทำให้ฝ้าชนิดนี้มักจะมีสีอ่อนกว่าชนิดฝ้าตื้น โดยอาจมีสีน้ำตาลอ่อน สีเทา สีน้ำตาลเทา หรือ สีม่วงอมน้ำเงิน นอกจากนี้ยังมีขอบเขตไม่ชัดเจน โดยมักมีสีกลืนไปกับผิวหนังปกติรอบข้าง
- ฝ้าผสม (Mixed type) คือมีการผสมกันทั้งฝ้าชนิดตื้น และชนิดลึก เป็นชนิดที่พบมากที่สุด ในคนไข้ทั่วไป
- ฝ้าที่ไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่าเป็นฝ้าชนิดใด (Indeterminate type) มักพบในผู้ที่สีผิวเข้มมาก หรือ คล้ำมาก เช่น ในชนชาติแอฟริกัน เป็นต้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดฝ้ามีอะไรบ้าง?
ปัจจัยที่ทำให้เกิดฝ้า ได้แก่
- แสงแดด เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็น แสงยูวีเอ (UVA, Ultra violet A) แสงยูวีบี (UVB, Ultraviolet B) และแสงที่ตามองเห็น (Visi ble light) โดยสังเกตได้จากบริเวณที่เกิดฝ้านั้น มักเป็นบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดดมากกว่าบริเวณอื่น
- ฮอร์โมนเพศ ทำให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานมากขึ้น เช่น ในภาวะตั้ง ครรภ์ วัยหมดประจำเดือนที่ต้องทานยาฮอร์โมนการทานยาคุมกำเนิด หรือ การใช้เครื่องสำอางที่มีฮอร์โมน หรือสารสกัดจากรก (Placental extract) มักพบผู้เป็นฝ้าในภาวะดังกล่าวได้บ่อย
- พันธุกรรม เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง มีรายงานว่า พบเป็นฝ้าในครอบครัวได้ถึงเกือบ 50 %
- ภาวะทุพโภชนาการ (โภชนาการที่เลว ได้อาหารไม่ถูกต้อง อาจมาก หรือ น้อยเกินไป) อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากพบผื่นแบบฝ้าในผู้ที่มี การทำงานของตับผิดปกติ และผู้ที่ขาด วิตามิน บี 12 เป็นต้น
- เครื่องสำอาง โดยพบว่าสาเหตุของการเกิดฝ้าจากการใช้เครื่อง สำอางนั้น เกิดจากการแพ้เครื่องสำอางเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก่อให้เกิดการระคายต่อผิว เกิดผิวหนังอักเสบ และรอยดำคล้ายฝ้าตามมา มีรายงานจากประเทศญี่ปุ่นพบว่า มากกว่า 95% ของผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว มีผื่นผิว หนังอักเสบเกิดขึ้น หลังจากทำการทดสอบสารแพ้ที่ผิวหนัง (Patch test) จึงเป็นการยืนยันเพิ่มเติมว่า การแพ้สารบางอย่างในเครื่องสำอาง สามารถก่อให้เกิดรอยคล้ำคล้ายฝ้าได้
- ยาบางชนิด เช่น ยากันชักกลุ่มฟีไนโทอิน (Phenytoin-related anticonvulsants) และ กลุ่มยาที่มีปฏิกิริยาไวต่อแสง (Phototoxic drugs) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมียาทาที่อาจก่อให้เกิดจุดสีดำอมเทาคล้ายฝ้า (Ochronosis) ใต้ผิวหนังได้ เช่น ยากลุ่มไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) ดังนั้น การใช้ยาชนิดนี้จึงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
มีการตรวจวินิจฉัยฝ้าอย่างไร?
การวินิจฉัยฝ้านั้น ประวัติทางการแพทย์ต่างๆของผู้ป่วย มีส่วนสำคัญมากในการช่วยวินิจฉัย เช่น อายุ เพศ อาชีพ การใช้ชีวิตประจำวัน ประวัติการสัมผัสแสงแดด ประวัติการใช้ยาและเครื่องสำอาง และประวัติการเป็นฝ้าในครอบครัว ส่วนการตรวจร่างกายนั้นใช้การดูจากลักษณะภายนอกดังที่กล่าวถึงลักษณะของฝ้าข้างต้น หรืออาจใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Wood's lamp โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถแยกได้ว่าเป็นฝ้าชนิดตื้น หรือชนิดฝ้าลึก การแยกชนิดของฝ้านั้น สำคัญในแง่ของการรักษาต่อไป กรณีที่แพทย์ และ/หรือผู้ป่วยสงสัยว่า อาจเป็นโรคผิวหนังชนิดอื่นที่ไม่ใช้ฝ้า แพทย์อาจต้องทำการตัดเนื้อชิ้นเล็กๆเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา
ป้องกันฝ้าได้อย่างไร?
วิธีป้องกันฝ้า ได้แก่
- การป้องกันแสงแดด สำคัญที่สุดในการรักษาฝ้าทุกชนิด หากไม่มีการป้องกันแสงแดดอย่างเคร่งครัดนั้น มักทำให้การรักษาฝ้าได้ผลไม่ดี หรืออาจไม่ได้ผล ดังนั้นจึงควรทำการป้องกันแสงแดดอย่างเคร่งครัด ดังนี้ คือ
- พยายามหลีกเลี่ยงการได้รับแสงแดดโดยตรง โดยเฉพาะในช่วงเวลา 10 โมงเช้าถึงบ่าย 4 โมงเย็น ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีแสงยูวีเข้มข้นที่สุด ในคนที่ต้องทำงานกลางแดด หรือชอบเล่นกีฬาที่ต้องโดนแดดเป็นเวลานานๆ เช่น กอล์ฟ หรือเทนนิส และไม่สามารถหลีกเลี่ยงเวลาดังกล่าวได้ ควรหาเครื่องป้องกัน เช่น หมวก ร่ม หน้ากาก หรือ เสื้อกันแสงยูวีในแสงแดด (UV, Ultraviolet light ) เป็นต้น
- ใช้เครื่องป้องกันแสงยูวีในแสงแดด เช่น การสวมหมวกกันแสงยูวี กางร่มกันแสงยูวี ใช้หน้ากากกันแสงยูวี หรือ สวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถกัน แสงยูวีได้ กรณีไม่สามารถหาเสื้อกันแสงยูวีได้ แนะนำให้ใส่เสื้อสีขาวแทนเสื้อสีเข็ม เช่น ดำ หรือ น้ำตาล ทั้งนี้เพื่อลดการดูดกลืนแสงยูวีจากสีเสื้อ
- การใช้ครีมกันแดด โดยใช้ครีมกันแดดที่สามารถกันได้ทั้งแสงยูวีเอ และ แสงยูวีบี และมีค่าป้องกัน เอสพีเอฟ (SPF, Sun Protection Factor) มากกว่า 30 ขึ้นไปเพื่อป้องกันแสงยูวีบี และค่าป้องกัน พีเอ (PA, Protection Grade of UVA) มากกว่า +2 ขึ้นไปเพื่อป้องกันแสงยูวีเอ ในการทาครีมกันแดดบริเวณใบหน้า ควรทาอย่างน้อย 30 นาทีก่อนออกแดด และควรใช้ในปริมาณข้อนิ้วชี้ โดยอาจแบ่งทา 2 ครั้ง ครั้งละ ครึ่งข้อนิ้ว ห่างกันครั้งละ 5 นาทีในกรณีที่ครีมกันแดดค่อนข้างมัน หรือเหนียวมาก
- การหลีกเลี่ยงยา และ ฮอร์โมนเพศต้นเหตุ
- หากสาเหตุมาจากฮอร์โมนเพศที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น จากภาวะตั้งครรภ์ ก็คงต้องรอเวลาที่ฮอร์โมนนั้นหมดไป ซึ่งส่วนใหญ่หลังการคลอดบุตร ฝ้าก็จะดีขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มีคนไข้บางส่วนที่ฝ้าอาจติดถาวรได้
- หากฝ้าเกิดจากการได้รับยา หรือฮอร์โมนเพศจากภายนอก เช่น การทานยาฮอร์โมนคุมกำเนิด การทานยาที่มีผลต่อการกระตุ้นฝ้า เช่น ยากันชักกลุ่มฟีไนโทอีน และ กลุ่มยาที่มีปฏิกิริยาไวต่อแสง หรือ การทาเครื่องสำอางบางชนิดที่มีฮอร์โมนเพศผสมอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน หรือสัมผัสกับสารดังกล่าว โดยอาจแจ้งให้แพทย์ผู้จ่ายยาทราบ เพื่ออาจมียาทดแทนยากลุ่มดังกล่าว
- กรณีสงสัยรอยดำคล้ายฝ้าเกิดจากการใช้เครื่องสำอาง ให้หยุดใช้เครื่องสำอางดังกล่าว และควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการทดสอบหาสารแพ้ที่ผิวหนังต่อไป
รักษาฝ้าได้อย่างไร?
โดยทั่วไป รักษาฝ้าได้โดย
- การรักษาฝ้าด้วยยาทา มักได้ผลดีในฝ้าตื้นมากกว่าฝ้าลึก ในฝ้าตื้นอาจเห็นผลจากยาทาใน 2 เดือน โดยสีของฝ้านั้นจะจางลง ถ้าผู้ป่วยมีการใช้ยาอย่างต่อเนื่องถึง 6 เดือน จะเห็นผลชัดเจนขึ้น ส่วนฝ้าลึกนั้น รักษาค่อนข้างยากด้วยยาทาเพียงลำพัง ยาทารักษาฝ้านั้นมีดังต่อไปนี้
- ยากลุ่มไฮโดรควินโนน (Hydroquinone) เป็นยาที่ใช้ในการรักษาฝ้าเป็นหลัก โดยยาชนิดนี้จะเป็นตัวลดการสร้างเม็ดสีของเซลล์สร้างเม็ดสีใต้ผิวหนัง โดยไปยับยั้งเอนไซม์ที่ช่วยในการสร้างเม็ดสี (Tyrosinase) นอกจากนี้ ยังสามารถทำลายเม็ดสีบางส่วนที่อยู่ใต้ผิวหนังได้อีกด้วย
ยาชนิดนี้ทำให้เกิดการระคายเคืองสูง ผิวอาจแดง แสบ และ ลอกเป็นขุยได้ จึงควรเริ่มทายาในปริมาณน้อยๆ และถ้ามีอาการระคายเคืองมาก อาจใช้ยาสลับเป็นคืนเว้นคืน หรือคืนเว้นสองคืน เป็นต้น กรณีใช้ยาชนิดนี้ความเข้มข้นสูงมากกว่า 2 % เป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดจุดสีดำอมเทาคล้ายฝ้า (Ochronosis) ใต้ผิวหนังได้ การใช้ยาชนิดนี้จึงควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
- ยาทากลุ่มกรด วิตามิน เอ (Retinoic acid) มีรายงานว่าการใช้ยากลุ่มนี้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ขึ้นไป สามารถทำให้ฝ้าจางลงได้ดีเช่นกัน เนื่องจากยากลุ่มนี้สามารถก่อให้เกิดการระคายเคือง จึงควรเริ่มด้วยการใช้ยาในปริมาณน้อยๆ หรือทาบางๆ และควรทาในขณะที่หน้าแห้งสนิท เนื่องจากการทายาในขณะที่หน้าเปียก หรือชื้นอยู่นั้น อาจทำให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวแห้งมากขึ้น และก่อให้เกิดการระคายเคืองเพิ่มขึ้นด้วย
- ยาทาที่มีส่วนผสมของไฮโดรควินโนน กรดวิตามินเอ และ สารสเตียรอยด์อ่อนๆ เป็นตัวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตัวหนึ่งจากแพทย์ผู้สั่ง เนื่องจากใช้งานง่าย การระคายเคืองจากไฮโดรควินโนน กรดวิตามินเอนั้นค่อนข้างต่ำ เนื่องจากมีสารสเตียรอยด์อ่อนๆเพื่อช่วยลดการระคายเคือง
- ยากลุ่มทรานีซามิก (Tranexamic acid) ซึ่งมีทั้งแบบรับประทาน และยาทา เป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี โดยออกฤทธิ์ผ่านกลไกลดการอักเสบใต้ผิวหนัง ทำให้การสร้างเม็ดสีของผิวหนังลดลง ฝ้าจึงจางลดลง
- ครีมทาผิวผสมกรดผลไม้ เช่นกรดไกลโคลิก (Glycolic acid) หรือ กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) โดยมักมีส่วนผสมของกรดในปริมาณต่ำ จึงก่อการระคายเคืองต่อผิวต่ำ อย่างไรก็ตาม ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ถ้ามีผื่นแดง แสบ หรือ เกิดการระคายเคืองต่อผิว ควรหยุดใช้ทันที
- ครีมทาผิวขาว (Whitening) เช่น เช่น ยาทากลุ่ม อะเซเลอิก (Azelaic acid) ในแง่ของการลดการสร้างเม็ดสีของผิวหนังนั้น สามารถเทียบเท่ากับยา ไฮโดรควิโนน 2% แต่ข้อควรระวัง คือ ยาชนิดนี้สามารถก่อ ให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ จึงควรระมัดระวังการใช้ หรือ ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ ส่วนการทำงานของยากลุ่มนี้ คือ ไปยับยั้ง เอนไซม์ ชื่อ Tyrosinase จึงส่งผลให้การสร้างเม็ดสีของผิวหนังลดลงเช่นกัน
- ครีมทาผิวขาวอื่นๆ (Other Whitening) เช่น วิตามินซี ลิโคริช (Licorice, พืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง) สารสกัดจากถั่วเหลือง (Soybean extract) หรือ สารสกัดจากธรรมชาติอื่น ๆ เช่น ชาเขียว หรือ กลุ่มสมุนไพรไทย เช่น แก่นมะหาด บอระเพ็ด และว่านหางจระเข้ เป็นต้น ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มครีมทาผิวขาวซึ่งเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นสารที่ก่อให้ เกิดการระคายเคืองต่ำ และได้ผลค่อนข้างดีในการทำให้ผิวขาวใสขึ้น นอก จากนี้ ยังมียาทากลุ่มกรดโคจิก (Kojic acid) ซึ่งเป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่ หลายและได้ผลดีไม่แพ้ยาตัวอื่น นอกจากนี้ยังพบการระคายเคืองน้อยกว่า
- ยากลุ่มไฮโดรควินโนน (Hydroquinone) เป็นยาที่ใช้ในการรักษาฝ้าเป็นหลัก โดยยาชนิดนี้จะเป็นตัวลดการสร้างเม็ดสีของเซลล์สร้างเม็ดสีใต้ผิวหนัง โดยไปยับยั้งเอนไซม์ที่ช่วยในการสร้างเม็ดสี (Tyrosinase) นอกจากนี้ ยังสามารถทำลายเม็ดสีบางส่วนที่อยู่ใต้ผิวหนังได้อีกด้วย
- การรักษาฝ้าด้วยวิธีอื่นๆ
- การลอกผิวด้วยสารเคมี (Chemical Peeling) ต้องทำด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะสามารถก่อให้เกิดแผลเป็นถาวรได้จากการลอกชั้นผิวที่ลึกเกินไป การหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดอย่างเคร่งครัดนั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากหลังการลอกผิวด้วยสารเคมี การลอกผิวด้วยสาร เคมี แบ่งเป็น
- การลอกผิวด้วยสารเคมีในระดับตื้น (Superficial Peeling) ซึ่งเหมาะกับฝ้าตื้น เช่น การลอกเซลล์ผิวด้วยกรดผลไม้ โดยกรดที่ใช้บ่อย ได้แก่ กรดไกลโคลิก (Glycolic acid) และ กรดซาลิไซลิก (Sali cylic acid) การลอกทิ้งของเซลล์ผิว ทำให้เซลล์หนังกำพร้าที่มีเม็ดสีมาก กว่าปกติลอกหลุดจากผิวเร็วขึ้น ฝ้าบริเวณดังกล่าวจึงจางลง การลอกเซลล์ผิวด้วยกรดผลไม้จะใช้ความเข้มข้นสูงกว่าครีมทาผิวที่ผสมกรดผลไม้หลายเท่า การใช้วิธีนี้จึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง เพื่อลดการเกิดผิวไหม้หรือแผลเป็นถาวร นอกจากนี้ยังอาจเป็นอันตรายต่อดวงตาได้ในกรณีเข้าตา
- การลอกผิวด้วยสารเคมีในระดับลึก (Deep Peeling) ซึ่งเหมาะกับฝ้าลึก เช่น การใช้ กรดไตรคลอโรอะซิติก (Trichloroacetic acid) เนื่องจากเป็นการลอกเซลล์ผิวในระดับลึก จึงต้องใช้ความระมัดระวังและความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการทำ และให้การรักษาโดยแพทย์เท่านั้น นอกจากนี้อาจพบผลแทรกซ้อนอื่นๆหลังทำ เช่น แผลเป็น รอยดำ หรือการติดเชื้อทั้งแบคทีเรียและไวรัส โดยเฉพาะไวรัสเริม สิ่งที่สำคัญมากหลังการลอกหน้า คือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดด และทาครีมกันแดดให้สม่ำ เสมอ กรณีผิวแห้งลอกมาก การทาครีมบำรุงผิวอาจช่วยได้ หากมีอาการไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) ใดๆ เกิดขึ้น เช่น บวมมาก ปวดมาก แดงมาก หรืออาการไม่พึงประสงค์อื่น ควรรีบกลับมาปรึกษาแพทย์เป็นการด่วน
- การขัดผิวหน้าด้วยเกร็ดอัญมณี (Microdermabrasion) เป็นวิธีที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองค่อนข้างสูง และหลังทำต้องมีการระมัด ระวังการสัมผัสกับแสงแดดมากกว่าปกติ จึงเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมไม่มากนักในการรักษาฝ้าโดยเฉพาะในประเทศที่มีอากาศร้อนและมีโอกาสสัมผัสกับแสงแดดสูง
- การใช้เลเซอร์/แสง (Laser/Light Therapy) เป็นเทคโน โลยีที่ในปัจจุบันนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ความก้าวหน้าทางเทค โนโลยีด้านเลเซอร์นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่วนเลเซอร์และคลื่นแสงที่ช่วยในการรักษาโรคของเม็ดสี เช่น ฝ้า มักเป็นเลเซอร์กลุ่ม Q-switched Nd: YAG laser, Q-switched ruby laser, Fractional Erbium-glass laser, Fractional Radio Frequency (RF) และคลื่นแสง IPL (Intense pulsed light) เป็นต้น ประโยชน์ที่จะได้จากการรักษาด้วยเลเซอร์/แสง คือ ฝ้าจะจางลงเร็วว่าการทายาเพียงลำพัง และช่วยลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาทาบางชนิดเป็นเวลานานๆ
- การลอกผิวด้วยสารเคมี (Chemical Peeling) ต้องทำด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะสามารถก่อให้เกิดแผลเป็นถาวรได้จากการลอกชั้นผิวที่ลึกเกินไป การหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดอย่างเคร่งครัดนั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากหลังการลอกผิวด้วยสารเคมี การลอกผิวด้วยสาร เคมี แบ่งเป็น
อนึ่ง อย่างไรก็ดี การดูแล ป้องกัน และรักษาฝ้านั้น ต้องใช้ความอด ทนและมีวินัยสูง การรักษาควรเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และผู้ป่วยควรตระหนักอยู่เสมอถึงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดฝ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงแดดซึ่งต้องทำการหลีกเลี่ยงอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด เพื่อการไม่เกิดขึ้นของฝ้า เพื่อผล ลัพธ์ที่ดีที่สุดของการรักษาฝ้า และการไม่กลับเป็นซ้ำใหม่ของฝ้า และยังควรต้องตระหนักถึงผลข้างเคียงจากการรักษา ด้วยวิธีต่างๆเหล่านั้นด้วย
ควรพบแพทย์เมื่อไร?
ฝ้าไม่ใช่โรค หรือ ภาวะอันตราย แต่ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตได้ ดังนั้นภายหลังใช้ยาป้องกัน รักษาฝ้าในท้องตลาดที่ผ่านการรับรองของ องค์การอาหารและยาแล้วไม่ดีขึ้น หรือ มีความกังวลในอาการตั้งแต่แรก ควรพบแพทย์โรคผิวหนังเสมอ ไม่ควรใช้ยาที่รุนแรงรักษาฝ้าด้วยตนเอง เพราะจะก่ออันตรายถาวรต่อผิวหนังได้
ที่มา https://haamor.com/th/ฝ้า/