แผลเป็นนูน (Keloid)


818 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ผิวหนัง  ระบบโรคผิวหนัง 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

แผลเป็น 

ทั่วไป

โรคแผลเป็นนูน (คีลอยด์ หรือ Keloid) ได้แก่ โรค/ภาวะมีเนื้อเยื่อพังผืดเจริญเกินปกติ เห็นเป็นพังผืดหนาในบริเวณรอยแผลต่างๆ โดยเกิดหลังจากแผลเหล่านั้นหายแล้ว ซึ่งแผลเป็นนูน อาจเกิดหลังจากแผลหายเป็นอาทิตย์ หรือ เป็นเดือน แต่บางคนอาจเป็นปี ซึ่งบางคนที่เป็นน้อยไม่จำเป็นต้องรักษา แต่บางคนที่เป็นมากอาจต้องการการรักษา เพราะทำให้เสียภาพลักษณ์

โรคแผลเป็นนูน พบได้บ่อย ทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย และพบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ แต่มักเกิดในช่วงวัยหนุ่มสาว และพบได้น้อยลงในวัยเด็ก และเมื่อสูงอายุ ทั้งนี้มีโอกาสเกิดได้ใกล้เคียงกันทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย

ทำไมจึงเกิดแผลเป็นนูน?

ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมจึงเกิดแผลเป็นนูนขึ้น แต่จากการศึกษา เชื่อว่า อาจเกิดจากโรคภูมิแพ้ตนเอง (ภูมิต้านตนเอง) ของผิวหนัง คือ ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานผิดปกติต่อผิวหนังในส่วนเกิดแผล จึงเกิดการกระตุ้นให้เซลล์/เนื้อเยื่อ ผิวหนังในส่วนนั้นเจริญเกินปกติ จึงเกิดเป็นแผลเป็นนูนขึ้น

แผลอะไรบ้างที่ทำให้เกิดแผลเป็นนูน?

แผลเป็นนูนสามารถเกิดตามหลังแผลได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นแผลเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม เช่น แผลผ่าตัด แผลเจาะหู แผลจากเป็นสิว แผลข่วน แผลไฟไหม้ แผลน้ำร้อนลวก แผลจากฉีดวัคซีน และ/หรือ แผลยุงกัด

ผิวส่วนไหนบ้างที่เกิดแผลเป็นนูนได้ง่าย?

ผิวหนังทุกส่วนสามารถเกิดแผลเป็นนูนได้ทั้งหมด แต่พบได้บ่อยในบริเวณ หน้าอกท่อนบน บริเวณหัวไหล่ และบริเวณตอนบนของส่วนหลัง

ใครบ้างที่เกิดแผลเป็นนูนได้ง่าย(ปัจจัยเสี่ยง)?

บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็นนูนเมื่อมีแผลเกิดขึ้น ได้แก่

แผลเป็นนูนมีกี่แบบ? อะไรบ้าง?

แผลเป็นนูน มีได้ 2 แบบ ได้แก่ แผลเป็นนูนชนิดลุกลามออกนอกตัวแผล และ แผลเป็นนูนชนิดเกิดเฉพาะบนตัวแผล ซึ่งทั้งสองชนิด คล้ายคลึงกันทั้งสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ และวิธีรักษา ต่างกันเพียง แผลเป็นนูนชนิดเกิดเฉพาะบนตัวแผล มักหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งอาจเป็นเดือน หรือ หลายๆปี และเมื่อได้รับการรักษามักยุบได้ดี และมักไม่ย้อนกลับเป็นซ้ำ

    1. แผลเป็นนูนชนิดลุกลามออกนอกตัวแผล

      ทั้งนี้ แผลมีลักษณะหนา ตัวแผลมักนูนเหนือผิวหนังตั้งแต่ 4 มิลลิเมตร (มม.) ขึ้นไป และมักเกิดตามหลังแผลหายแล้ว อย่างน้อย 3 เดือนไปแล้ว นอกจากนั้น พบบ่อยกว่าในคนมีผิวดำคล้ำ

      หรือ ทางแพทย์เรียกว่า คีลอย (Keloid) เป็นแผลเป็นที่ลุกลามออกนอกตัวแผล และเจริญใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ไม่ยุบหายไปเอง มักเกิดบริเวณส่วนบนของผนังหน้าอก หัวไหล่ ต้นแขน และบริเวณหู

  1. แผลเป็นนูนชนิดเกิดเฉพาะบนตัวแผล

    แผลเป็นนูนชนิดนี้ มักเกิดภายใน 1 เดือน หลังแผลหาย และมักค่อยๆยุบตัวแบนราบลงเมื่อเวลาผ่านไป เป็นเดือน หรือ เป็นปี นอกจากนั้นเกิดได้กับคนทุกผิวสี

    หรือ ทางแพทย์เรียกว่า ไฮเปอร์โทรฝิกสการ์ (Hypertrophic scar) เป็นแผลเป็นนูนที่ไม่ลุกลามออกนอกรอยแผล เพียงแต่รอยแผลใหญ่ นูนขึ้น และเกิดกับแผลส่วนไหนของร่างกายก็ได้ แต่พบได้บ่อยเมื่อเกิดแผลในบริเวณข้อพับ

นอกจากเสียภาพลักษณ์แล้ว แผลเป็นนูนทำให้เกิดอาการอื่นๆอีกไหม?

นอกจากการเสียภาพลักษณ์ แผลเป็นนูนยังก่อให้เกิดอาการคัน บางคนอาจเกาจนเลือดออก หรือ เกิดแผลติดเชื้อจากการเกา โดยเฉพาะเมื่อเหงื่อออกมาก

แพทย์รักษาแผลเป็นนูนได้อย่างไร?

วิธีรักษาแผลเป็นนูนมีหลายวิธีการ ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง เนื่องจากการไม่รู้สาเหตุเกิดนั่นเอง ต้องลองรักษาไปเรื่อยๆ นอกจากนั้น บางคนยังมีโอกาสกลับเป็นใหม่ได้อีก ซึ่งวิธีการเหล่านั้น ได้แก่

การทายาบางชนิด การใช้เทคนิคเฉพาะเมื่อจะผ่าตัดในผู้ป่วยมีประวัติเป็นแผลเป็นนูนมาก่อน การฉีดยาบางชนิดเข้าในแผลเป็น การใช้เลเซอร์ การฉายรังสีรักษา และการผ่าตัดแผลเป็นนูนเมื่อแผลเป็นนูนใหญ่ และแข็งมาก

ทั้งนี้การจะเลือกใช้วิธีรักษาอย่างไร ขึ้นกับ ขนาดแผล ตำแหน่งแผล การรักษาวิธีต่างๆที่ผ่านมา ความต้องการของผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์

แผลเป็นนูนรักษาหายไหม?

แผลเป็นนูน เป็นโรครักษาได้ยากมากๆ อาจต้องลองรักษาหลายๆวิธี ต้องใช้เวลานานในการรักษา มีโอกาสรักษาไม่ได้ผล หรือ รักษาแล้วกลับเป็นอีกสูง

ป้องกันแผลเป็นนูนได้อย่างไร?

การป้องกันแผลเป็นนูนที่ดีที่สุด (แต่ทำได้ยากที่สุด) คือ หลีกเลี่ยงการเกิดแผล และแจ้งแพทย์เสมอ ถึงประวัติการเคยเป็นแผลเป็นนูนเมื่อต้องมีการผ่าตัด เพราะแพทย์อาจให้การรักษาเพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นตั้งแต่ขณะผ่าตัด ด้วยเทคนิคการเย็บ การปิดแผล การใช้ยาทาแผล และ/หรือ การฉายรังสี (รังสีรักษา)

ควรพบแพทย์เมื่อไร?

ดังกล่าวแล้ว ควรต้องแจ้งแพทย์ตั้งแต่ก่อนผ่าตัด ส่วนเมื่อเกิดแผลเป็นนูนแล้ว ควรรีบพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เพราะโอกาสควบคุมโรคได้สูงขึ้น เมื่อแผลเป็นนูนยังมีขนาดเล็ก

 

อัพเดทล่าสุด