การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในสตรี (Urinary incontinence in women)


1,145 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

กระเพาะปัสสาวะ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ทั่วไป

โดยทั่วไป คนเราสามารถควบคุมการถ่ายปัสสาวะหรือรอโอกาสที่จะปลดปล่อยปัสสาวะในสถานที่และในเวลาที่เหมาะสมได้ เมื่อมีความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ จะมีการส่งกระแสประสาทไปที่สมอง สมองจะประมวลผลและส่งกระแสประสาทกลับมาที่กระเพาะปัสสาวะ ให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวพร้อมๆกับสั่งให้หูรูดท่อปัสสาวะเปิดออก เราก็จะถ่ายเป็นปัสสาวะออกมา จากนั้นหูรูดท่อปัสสาวะก็จะปิดดังเดิมเป็นประตูคอยกลั้นไม่ให้ปัสสาวะเล็ดออกมาในขณะที่ไตจะผลิตน้ำปัสสาวะลงไปในกระเพาะปัสสาวะตลอดเวลาเพื่อรอการปล่อยออกของปัสสาวะในรอบต่อไป หากมีสิ่งใดไปทำให้ระบบนี้เสียไป เช่น ระบบประสาทการสั่งการบีบตัวกระเพาะปัสสาวะ การปิดเปิดของหูรูดท่อปัสสาวะ ผิดปกติ ก็จะมีผลต่อการควบคุมการถ่ายปัสสาวะ

การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในสตรี

การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในสตรีคืออะไร?

การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในสตรี (Urinary incontinence) คือการที่สตรีผู้นั้นไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้ตามที่ต้องการ ไม่สามารถกลั้นหรือหยุดยั้งการไหลของปัสสาวะในเวลาหรือในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม น้ำปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ

การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มีผลกระทบต่อสตรีอย่างไร?

การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ พบได้บ่อยในสตรีสูงอายุ อุบัติการณ์พบได้ประมาณ 25% และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆเมื่ออายุมากขึ้น แต่สตรีส่วนมากคิดว่าเป็นภาวะปกติของสตรีในวัยนี้ จึงยอมรับว่าเป็นธรรมชาติ ทั้งๆที่เป็นปัญหา อุบัติการณ์ที่รายงานจึงมักต่ำกว่าปกติมาก การปัสสาวะบ่อยมาก ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ จะมีผลกระทบชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเองเพราะมีปัสสาวะราด ทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ทำให้ไม่อยากออกงานสังคม เพราะเกรงจะเกิดความอับอาย

การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มีกี่ประเภทและสาเหตุมีอะไรบ้าง?

การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มีหลายประเภท ได้แก่

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในสตรีมีอะไรบ้าง?

ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีหลายอย่าง ได้แก่

วิธีการค้นหาสาเหตุของการการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในสตรี มีอะไรบ้าง?

แพทย์วินิจฉัยสาเหตุกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้จาก

ควรดูแลตนเองอย่างไร?

กรณีที่มีอาการปัสสาวะเล็ดเมื่อ ไอ จาม (Stress incontinence) ไม่มาก การดูแลตนเองเบื้องต้นเป็นสิ่งจำเป็น ประกอบด้วย

  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
    • ดื่มน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่เกิน 2 ลิตรต่อวัน
    • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มมีกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม
    • ลดหรือควบคุมน้ำหนัก
    • เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากมากๆ เพื่อลดอาการท้องผูก
    • งดสูบบุหรี่เพราะจะได้ลดอาการไอ
    • หลีกเลี่ยงการออกแรงที่จะทำให้มีการเพิ่มแรงดันในช่องท้องเป็นประจำ
  • การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยการฝึกทำ Kegel exercise หรือการขมิบช่องคลอดนั่นเอง การทำไปนานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อที่พยุงอวัยวะในอุ้งเชิงกรานแข็งแรง ช่วยพยุงบริเวณหูรูดปัสสาวะให้แข็งแรงขึ้น วิธีการทำมีดังนี้
    1. ครั้งแรกให้ฝึกขมิบช่องคลอดเพื่อหยุดปัสสาวะขณะที่กำลังถ่ายปัสสาวะ แล้วจำความรู้สึกนั้นไว้ (มีข้อห้ามที่ไม่ควรฝึกขมิบหลังตื่นนอนทันที เพราะมีน้ำปัสสาวะคั่งมาตลอดคืน)
    2. ต่อไปฝึกขมิบช่องคลอด โดยขมิบแล้วกลั้นไว้ นับ 1 ถึง 10 ต่อจากนั้นให้คลายการขมิบ นับเป็น 1 ครั้ง ทำเป็นชุดๆละ 30 ครั้ง เวลาใดก็ได้ที่สะดวก ทำ 3 เวลาต่อวัน นาน 3-6 เดือน

    ทั้งนี้ หากดูแลปฏิบัติด้วยตนเองไป 6 เดือนแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น สมควรที่จะไปพบแพทย์/สูตินรีแพทย์

กรณีที่มีอาการ ปัสสาวะรดเมื่อปวดปัสสาวะ (Urge incontinence) แต่อาการยังไม่มาก นอกจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และการทำ Kegel exercise แล้ว ควรทำการฝึกการทำงานกระเพาะปัสสาวะ หรือยืดเวลาในการขับถ่าย (Bladder training) ให้เกิดความเคยชินในการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ โดยให้บีบตัวหรือขับถ่ายให้เป็นเวลาตามที่เรากำหนด คือเมื่อรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะให้ลองกลั้นไว้สัก 5 นาทีก่อน แล้วจึงไปปัสสาวะ ฝึกทุกครั้งให้กระเพาะปัสสาวะเริ่มชิน แล้วค่อยๆเพิ่มเวลาทีละ 5 นาทีไปเรื่อยๆ จนเกือบเท่าคนปกติ หากไม่สำเร็จ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับประทานยาร่วมด้วย

กรณีปัสสาวะรดโดยไม่ปวดปัสสาวะ (Overflow incontinence) และ/หรือ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในหลายรูปแบบ (Mixed incontinence) ควรต้องพบแพทย์แต่แรก ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำรักษาดูแลผู้ป่วยเป็นรายๆไป ตามความรุนแรงของอาการ สาเหตุ และดุลพินิจของแพทย์

กรณีที่เป็นการปัสสาวะไหลตลอดเวลาจากกระเพาะปัสสาวะมีรูรั่ว (True incontinence) ต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการผ่าตัดรักษา ไม่มีการการรักษาด้วยตนเอง

ควรพบแพทย์เมื่อไหร่?

หากผู้ป่วยมีการฝึกพฤติกรรมเต็มที่แล้ว ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น แต่อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ยังไม่บรรเทา ควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อได้รับการวินิจฉัย และการรักษาที่เหมาะสม

การรักษาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในสตรีมีอะไรบ้าง?

วิธีการรักษาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีหลายวิธี คือ

  1. การรักษาด้วยการทำพฤติกรรมบำบัดตามที่กล่าวมาแล้ว เบื้องต้น ต้องทำควบคู่กับการรักษาแบบอื่นๆร่วมไปด้วยเสมอ และทำไประยะยาว ตลอดชีวิต
  2. การรักษาด้วยยา
    1. ยาในกลุ่ม Anticholinergic drug โดยยาจะไปยับยั้งการบีบรัดตัวของกระเพาะปัสสาวะ เช่น Oxybutynin chloride, Tolteridine, Flavoxate, และTrospium chloride
    2. ยาในกลุ่ม Tricyclic depressants โดยยาจะไปออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง ลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
    3. ยาในกลุ่ม Calcium channel blockerโดยยาจะทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่หดรัดตัว
    4. ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
    มียาหลายชนิดที่นำมาใช้ จะใช้รักษาผู้ป่วยในกลุ่มที่เป็นปัสสาวะรดเมื่อปวดปัสสาวะ (Urge incontinence) เป็นหลัก แต่บางชนิดก็ใช้รักษาปัสสาวะเล็ดเมื่อ ไอ จาม (Stress incontinence) ได้ โดยยาแต่ละชนิดจะมีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกันไป ยาที่ใช้ เช่น
  3. การใส่วงแหวนพยุงในช่องคลอด (Vaginal pessary) เคยมีการใช้ในสมัยก่อนและหยุดใช้ไป ปัจจุบันได้มีการนำมาใช้ใหม่ จะเป็นวงยางนิ่มๆ มีหลายขนาด ที่ใส่เข้าไปในช่องคลอด ค้างไว้และนำออกมาล้างและใส่เข้าไปใหม่ทุกวัน ส่วนมากจะได้ผลในกรณีที่มีการหย่อนของมดลูก หรือของช่องคลอดร่วมด้วย สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยที่ไม่อยากหรือมีข้อห้ามในการผ่าตัด
  4. การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยที่เป็น Stress incontinence มีหลากหลายวิธี ได้แก่
    1. การเย็บช่องคลอด (Anterior colporrhaphy with Kelly plication)
    2. การเย็บบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะ (Retropublic colposuspension)
    3. การคล้องบริเวณท่อปัสสาวะด้วยเส้นเทป (Tension free vaginal tape)
  5. การกระตุ้นประสาทกระเพาะปัสสาวะด้วยไฟฟ้า
  6. การฝังเข็ม

ป้องกันการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้อย่างไร?

ไม่มีสตรีคนใดอยากมีปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะราด เพราะจะทำให้อับอาย หรือไม่สะดวกในการเข้าสังคม วิธีการป้องกันการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ได้แก่

  1. ดื่มน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ
  2. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มกาเฟอีน เพราะจะทำให้มีปริมาณปัสสาวะมาก เช่น ชา กาแฟ
  3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ป้องกันการไอเรื้อรัง
  4. รับประทานผัก ผลไม้มากๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องผูก ที่จะไปเสริมแรงดันช่องท้องขณะเบ่งถ่าย
  5. ควรลดน้ำหนัก หากมีโรคอ้วน และน้ำหนักตัวเกิน
  6. บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Kegel exercise) โดยการฝึกขมิบช่องคลอดตามที่กล่าวมาแล้ว ต้องทำอย่างสม่ำเสมอและเป็นระยะเวลานาน ควรบริหารตั้งแต่อายุยังน้อย สามารถบริหารได้ตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ ไปจนถึงหลังคลอด จะให้ผลดีกว่าการไปรอบริหารเมื่อหลังคลอด หรือตอนเป็นผู้สูงอายุแล้ว

บรรณานุกรม

อัพเดทล่าสุด