การคลอด การคลอดบุตร (Childbirth)


1,125 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

มดลูก  ระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

การคลอดคืออะไร?

การคลอด (Childbirth) เป็นกระบวนการทางธรรมชาติ ที่มดลูกบีบตัวในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ทารกที่อยู่ในครรภ์ ออกมาจากโพรงมดลูกมาเจริญเติบโตภายนอกร่างกาย โดยการคลอดปกติ เกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด

การคลอด

เราจะทราบอย่างไรว่าอายุครรภ์เป็นเท่าไร?

ในทางการแพทย์ ถือว่ามนุษย์ตั้งครรภ์ประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน ซึ่งจะต่างจากที่เราพูดทั่วๆไปเล็กน้อยว่า คนเราตั้งครรภ์ประมาณ 9 เดือน วิธีการคำนวณวันครบกำหนดคลอด คือ วันที่ที่เป็นวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่ปกติ บวก 7 วัน ส่วนเดือนที่ครบกำหนดคลอด ก็คือ เดือนที่เป็นประจำเดือนครั้งสุดท้ายแล้ว ลบไป 3 เดือน ยกตัวอย่างเช่น วันแรกที่เป็นประจำเดือนครั้งสุดท้ายก่อนที่จะไม่มีประจำเดือนมาคือ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 ดังนั้นวันครบกำหนดคลอด คือ 14 สิงหาคม 2556 ทำให้เราสามารถคำนวณอายุครรภ์ในแต่ละช่วงได้ อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่า สตรีทั้งหมดจะคลอดตรงตามวันที่นัดทั้งหมด

  • มีเพียงประมาณ 5 % เท่านั้นที่คลอดตรงวันนัดพอดี
  • ที่เหลือส่วนมาก 80-85% จะคลอดก่อนวันนัด 1-2 สัปดาห์
  • มีประมาณ 10% ที่คลอดเกินกำหนดนัด 
    แต่ประโยชน์ที่ได้จากการที่รู้วันคาดคะเนคลอด จะเป็นการเตือนสตรีตั้งครรภ์ให้มีการเตรียมตัวคลอด
  • หากมีการเจ็บครรภ์คลอดในช่วงอายุครรภ์ที่ 37-42 สัปดาห์ ถือว่าคลอดทารกครบกำหนด
  • หากคลอดในอายุครรภ์ที่น้อยกว่า 37 สัปดาห์ เรียกว่า การคลอดก่อนกำหนด
  • แต่หากคลอดหลัง 42 สัปดาห์ เรียกว่า คลอดเกินกำหนด

ทั้งการคลอดก่อนกำหนดและเกินกำหนดถือเป็นการคลอดที่ผิดปกติ ซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพทารก

อายุครรภ์ที่เหมาะสมที่จะคลอดคือเท่าไหร่?

อายุครรภ์ที่สามารถคลอดได้ปลอดภัยและมีอันตรายหรือผลข้างเคียงหรือมีภาวะแทรก ซ้อนน้อยที่สุดต่อมารดาและทารก คือ อายุครรภ์ที่ครบกำหนด อยู่ระหว่าง 37-41 สัปดาห์

  • ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีปัญหาสำคัญว่า ปอดยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ขาดสารที่เคลือบถุงลม ทำให้ถุงลมในปอดขยายไม่ได้เต็มที่เมื่อต้องมาอยู่นอกตัวมารดา ทำให้มีปัญหาเรื่องการหายใจ
  • แต่หากตั้งครรภ์เกินกำหนด รกมีโอกาสเสื่อม ทำให้เลือดที่ส่งไปยังลูกลดลง ทารกจะเกิดปัญหาขาดออกซิเจนเรื้อรังทำให้ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์

อาการเตือนของการเจ็บครรภ์คลอดมีอะไรบ้าง?

อาการเตือนของการเจ็บครรภ์คลอด ได้แก่

  • ปวดท้อง เมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด จะเริ่มมีอาการเตือนว่าใกล้ถึงเวลาที่จะคลอดแล้ว มดลูกจะมีการหดตัวเป็นพักๆ สตรีจะรู้สึกว่าท้องแข็ง หรือที่เรียกกันว่า ท้องปั้น และเริ่มมีอาการปวด ตอนแรก มดลูกอาจจะหดตัวห่างๆ ชั่วโมงละครั้ง และจะหดรัดตัวถี่ขึ้นเรื่อยๆ อาการปวดก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากมีการหดรัดตัวของมดลูกทุก 10 นาที อย่างสม่ำเสมอ จะเรียก ว่า เจ็บครรภ์จริง (True labor pain)” หมายถึงจะมีทารกคลอดออกมาในเวลาไม่ช้า สม ควรที่ต้องไปโรงพยาบาลแล้ว
  • มีมูกปนเลือดออกทางช่องคลอด เป็นตัวบอกว่าปากมดลูกน่าจะมีการเปิดบ้างแล้ว
  • มีน้ำไหลโชกออกมาทางช่องคลอด ไม่สามารถกลั้นได้ นั่นหมายถึงการมีถุงน้ำ คร่ำแตกแล้ว ต้องรีบไปโรงพยาบาลไม่ว่าจะเจ็บครรภ์หรือไม่เจ็บครรภ์ก็ตาม เพราะหากการคลอดล่าช้าเกินไป ทารกในครรภ์จะมีโอกาสติดเชื้อสูง เป็นอันตรายต่อทารกได้

เจ็บท้องลวงคืออะไร? รู้ได้อย่างไรว่าเจ็บท้องลวง?

การเจ็บครรภ์ลวง (False labor) หมายถึง การเจ็บครรภ์ที่ไม่มีการคลอดทารกตามมา มีการหดตัวของมดลูกแต่ไม่สม่ำเสมอ วันละ 2-3 ครั้ง ไม่มีเลือดออก หรือ ถุงน้ำคร่ำแตก จะรู้สึกปวดท้อง หรือปวดหลังได้

อาการเจ็บครรภ์ลวงจะมีได้ตลอดการตั้งครรภ์ แต่จะถี่ขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นเป็น 6-8 ครั้งต่อวัน และอาการปวดจะดีขึ้นเมื่อได้นอนพัก หรือรับประทานยาแก้ปวด แต่หากเจ็บครรภ์และมีมดลูกหดรัดตัวอย่างสม่ำเสมอทุก 10 นาที หดรัดตัวนานครั้งละมากกว่า 30 วินาที ถือว่าเข้าเกณฑ์เจ็บครรภ์จริง ต้องรีบไปโรงพยาบาล

ควรเตรียมตัวอย่างไรเมื่อจะไปคลอด?

ควรเตรียมตัวคลอด ดังนี้

  • เตรียมสมุดฝากครรภ์ ที่มีการบันทึกระหว่างฝากครรภ์ไปด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพื่อแพทย์ที่ดูแล จะได้ทราบประวัติการฝากครรภ์ว่า มีสิ่งใดผิดปกติ หรือต้องให้ความสน ใจเป็นพิเศษ อยากให้สตรีตั้งครรภ์นำสมุดฝากครรภ์ติดตัวไปด้วยเสมอเวลาเดินทางไปไหนก็ตาม เพราะหากฉุกเฉินเจ็บครรภ์ขึ้นมาก่อนถึงวันนัด แพทย์ที่ต้องดูแลฉุกเฉินจะได้ทราบประวัติการฝากครรภ์
  • ทำความสะอาดร่างกาย สระผม ตัดเล็บให้เรียบร้อย เพราะเล็บยาวอาจข่วนทารกได้
  • เตรียมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย และชุดทารก ผ้าอ้อม เท่าที่จำเป็น
  • เตรียมทำจิตใจให้ผ่อนคลาย อย่ากังวลมากจนเกินไป

วิธีการลดความเจ็บปวดระหว่างรอคลอดมีอะไรบ้าง?

เมื่อมดลูกมีการหดรัดตัว จะเกิดการขาดเลือดเกิดขึ้นกับมดลูก ทำให้เกิดอาการปวดมด ลูก ยิ่งใกล้ระยะเวลาที่จะคลอด มดลูกจะบีบตัวถี่ขึ้นและนานขึ้น ก็จะยิ่งทำให้มีอาการปวดมากขึ้น ซึ่งการระงับปวดทำได้หลายวิธี ได้แก่

  • การฉีดยาแก้ปวดเข้ากล้ามเนื้อที่สะโพก (เช่น ยา pethidine 50 มก.) ข้อควรระวังในการใช้ยาตัวนี้คือ ยาสามารถผ่านกระแสเลือดเข้าไปกดการหายใจของทารกได้เมื่อคลอดออกมา หากฉีดในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม
  • การฉีดยาชาที่เหนือช่องไขสันหลัง (Epidural block) วิธีนี้ลดความปวดได้ดี แต่ต้องให้วิสัญญีแพทย์เป็นผู้ทำหัตถการนี้ และหลังการทำ ต้องมีการเฝ้าระวังสตรีที่รอคลอดอย่างใกล้ชิด
  • การบีบนวดบริเวณหลัง สามารถช่วยลดความปวดได้บ้าง
  • การจัดท่าต่างๆให้สตรีที่รอคลอด อยู่ในท่าที่สบาย ก็พอที่จะลดความปวดได้บ้าง

ระยะเวลาที่ใช้รอคลอดนานเท่าไหร่ ? แพทย์ทราบได้อย่างไรว่าการคลอดสมบูรณ์แล้ว ?

โดยเฉลี่ยในครรภ์แรก ระยะเวลาตั้งแต่เจ็บครรภ์จริง (มดลูกหดรัดตัวทุก 10 นาที) จน กระทั่งคลอดใช้เวลาเฉลี่ย 8-10 ชั่วโมง ส่วนในครรภ์หลังจะคลอดเร็วขึ้น ง่ายขึ้น ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 4-5 ชั่วโมง

ในกระบวนการคลอดช่วงแรก ปากมดลูกจะเปิดขยายค่อนข้างช้า แต่เมื่อปากมดลูกเปิดมากกว่า 3 ซม. (เซนติเมตร) ไปแล้ว ปากมดลูกจะเปิดขยายค่อนข้างเร็วร่วมกับการเจ็บครรภ์ถี่มากขึ้นเรื่อย ๆ จนปากมดลูกขยายหมด เปิดประมาณ 10 ซม. ศีรษะทารกจะค่อยๆเคลื่อนลงมาในช่องคลอด เมื่อมดลูกหดรัดตัว พร้อมๆกับแรงเบ่งของแม่ จะทำให้ทารกคลอดออกมาได้ หลังจากนั้นประมาณ 5- 10 นาทีจะมีการทำคลอดรกต่อ หลังคลอดรกอย่างสมบูรณ์แล้ว มดลูกจะหดรัดตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นกระบวนการธรรมชาติที่จะลดการตกเลือดหลังคลอด แต่อย่าง ไรก็ตาม แพทย์จะมีการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ หรือเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก หลังจากคลอดรกเสร็จเป็นกิจวัตรในสตรีที่มาคลอดทุกราย เมื่อรกคลอดออกมาครบแล้ว ถือว่ากระบวนการคลอดสิ้นสุด แต่หากมีการตัดฝีเย็บ แพทย์จะมีการเย็บแผลฝีเย็บอีกประ มาณ 10-15 นาที และตรวจสอบจุดเลือดออกต่างๆให้เรียบร้อย

ช่วงการคลอดจะมีอาการอย่างไรได้บ้าง? และช่วงไหนที่แพทย์จะตัดฝีเย็บ?

ช่วงรอคลอด มดลูกจะหดรัดตัวและคลายตัวเป็นพักๆ ระยะแรกจะห่าง 4-5 นาทีจึงมีการหดตัวและหดตัวนานประมาณ 30-40 วินาที เมื่อความก้าวหน้าของการคลอดเพิ่มขึ้น ความถี่ของการหดรัดตัวจะเพิ่มขึ้นเป็น ทุก 2-3 นาที หดตัวนาน 45-50 วินาที สตรีจะมีอาการเจ็บครรภ์ถี่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทารกเคลื่อนต่ำตามแรงการหดตัวของมดลูก สตรีที่มาคลอดอาจมีความรู้สึกปวดหน่วงที่ก้น หรือมีความรู้สึกอยากเบ่งถ่ายอุจจาระ แพทย์ผู้ดูแลจะมีการตรวจภายในเป็นระยะประมาณทุก 2 ชม.(ชั่วโมง) เพื่อประเมินความก้าวหน้าของการเปิดขยายของปากมดลูกและการเคลื่อนต่ำของทารก เมื่อปากมดลูกเปิดขยายหมดประมาณ 10 ซม. จะมีการย้ายสตรีจากห้องรอคลอดเข้าไปในห้องทำคลอด มีการเชียร์ให้เบ่งตามการหดรัดตัวของมดลูก และเมื่อศีรษะทารกมาตุงที่ปากช่องคลอดเต็มที่ก่อนที่จะคลอดออกมา แพทย์จะทำการตัดฝีเย็บเพื่อช่วยขยายปากช่องคลอด ซึ่งหากจะมีการตัดฝีเย็บ แพทย์จะมีการฉีดยาชาบริเวณที่จะตัดฝีเย็บ จากนั้นแพทย์จะทำคลอดทารกต่อไป

เมื่อครบกำหนดคลอดแล้วแต่ยังไม่เจ็บครรภ์คลอด ควรทำอย่างไร?

กว่า 80% สตรีตั้งครรภ์ จะคลอดก่อนวันคาดคะเนคลอดประมาณ 2 สัปดาห์ มีสตรีจำ นวนหนึ่งซึ่งไม่มากนัก ไม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดเมื่อถึงวันนัดคลอด ซึ่งสร้างความกังวลใจให้ แก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวมาก จริงๆแล้ว หากมีการเฝ้าระวังทารกในครรภ์ได้ดี เช่น การสัง เกตการดิ้นของทารกว่าปกติหรือไม่ (มีการดิ้นมากกว่า 10 ครั้งใน 12 ชั่วโมง) สามารถรอสังเกต การณ์ต่อไปได้อีก 1 สัปดาห์ และเมื่ออายุครรภ์ 41 สัปดาห์แล้วยังไม่มีการเจ็บครรภ์เองตามธรรมชาติ สูติแพทย์ผู้ดูแลมักจะกระตุ้นให้เกิดการคลอด เนื่องจากหากตั้งครรภ์นานไปกว่านี้ อาจมีผลเสียต่อสุขภาพทารกในครรภ์ได้

การกระตุ้นคลอดคืออะไร?

การกระตุ้นคลอด คือ การที่แพทย์ทำหัตถการ หรือให้ยาเพื่อไปทำให้มดลูกหดรัดตัวเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อทำให้เกิดการคลอดตามมา

หัตถการที่ทำ ได้แก่

  • การใช้นิ้วเซาะถุงน้ำคร่ำออกจากโพรงมดลูก (Striping membrane) ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวมากขึ้นและเกิดการคลอดตามมา
  • การเจาะถุงน้ำคร่ำ (Amniotomy) ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวมากขึ้นและเกิดการคลอดตามมาเช่นกัน

-ยาที่ใช้ได้แก่

  • ยา Oxytocic drug (Syntocinon) 10 unit ผสมใน 5% N/2 1,000 มล.หยดเข้าหลอดเลือดดำ
  • ยา Prostaglandins ที่ใช้มีหลายรูปแบบ เช่น แบบยาเม็ดเหน็บช่องคลอด หรือแบบเป็นเจล (Gel) ใส่เข้าไปในช่องคลอด จะทำให้ปากมดลูกนุ่มและมดลูกหดรัดตัวไปพร้อมๆ กันกับทำให้ปากมดลูกเปิดขยาย

ข้อบ่งชี้ในการกระตุ้นคลอดมีอะไรบ้าง?

ข้อบ่งชี้ในการกระตุ้นคลอด คือ

ข้อห้ามในการกระตุ้นคลอดมีอะไรบ้าง?

  • ทารกตัวโต ผิดสัดส่วนระหว่างขนาดทารกกับช่องเชิงกรานของแม่
  • แม่เคยมีการผ่าตัดที่มดลูก เพราะแพทย์เกรงจะทำให้มดลูกแตกได้ง่าย
  • ทารกอยู่ในภาวะผิดปกติ
  • การเคยผ่าตัดคลอดบุตร ไม่ใช่เป็นข้อห้าม 100% ในสตรีบางรายสามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ แต่ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และสามารถให้การรักษาอย่างทัน ท่วงที หากมีปัญหาทางการคลอดเกิดขึ้น

การกระตุ้นคลอดมีข้อดี/ข้อเสียอย่างไร?

ข้อดีของการกระตุ้นคลอด คือ

ข้อเสียของการกระตุ้นคลอด คือ

  • มดลูกหดรัดตัวมากเกิดไป อาจทำให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนได้
  • มดลูกแตกได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อแม่เคยมีการผ่าตัดที่มดลูก
  • ตกเลือดหลังคลอด ในกรณีที่ใช้ยากระตุ้นมานานและมาก ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
  • มีน้ำคร่ำหลุดไปอุดที่ปอด (Amniotic fluid embolism)

ควรผ่าท้องคลอดหรือคลอดธรรมชาติดีกว่ากัน?

การคลอดเป็นเรื่องของธรรมชาติ ดังนั้นการคลอดจึงสำเร็จในคนส่วนใหญ่ จะมีส่วนน้อยเท่านั้นที่ต้องการความช่วยเหลือจากแพทย์ การคลอดทางช่องคลอดหรือคลอดธรรมชาติจะดี กว่าการผ่าคลอด หากทุกอย่างปกติและเหมาะสม เพราะไม่เสี่ยงต่อการดมยาสลบ หรือฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง เจ็บตัว มีแผลที่หน้าท้อง โอกาสติดเชื้อในมดลูก การเสียเลือดน้อยกว่า และเสียค่าใช้จ่ายในการคลอดน้อยกว่า

ข้อดีของการผ่าท้องคลอด คือ รวดเร็ว ไม่ต้องทนกับความเจ็บปวดก่อนคลอด กำหนดระยะเวลาคลอดตามที่ต้องการได้ แต่ก็ต้องเสี่ยงกับภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามที่กล่าวมา

ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ต้องผ่าท้องคลอดมีอะไรบ้าง?

ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ต้องผ่าท้องคลอดมี 2 แบบ คือ ข้อบ่งชี้ที่จำเป็นต้องผ่าท้องคลอด (Absolute indication) และ ข้อบ่งชี้ที่อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ว่าอาจต้องผ่าท้องคลอด (Relative indication)

ข้อบ่งชี้ที่จำเป็นต้องผ่าท้องคลอด (Absolute indication)

  • มีการผิดสัดส่วนระหว่างทารกกับช่องเชิงกรานของแม่ เช่น ทารกตัวโตเกินไป
  • ทารกอยู่ในท่าผิดปกติจากที่ปกติเป็นท่าเอาหัว/ศีรษะลง เช่น ท่าขวาง ท่าก้น
  • เคยมีแผลที่มดลูกหรือโพรงมดลูก เช่น ผ่าตัดเนื้องอกมดลูก
  • มีเนื้องอกมดลูกที่ขัดขวางการคลอด
  • การตั้งครรภ์แฝดที่ทารกคนแรกไม่ใช่ท่าศีรษะ
  • การตั้งครรภ์มีทารกตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
  • ภาวะรกเกาะต่ำ และ/หรือมีเลือดออก เมื่อมีการเปิดขยายของปากมดลูก
  • ภาวะทารกอยู่ในระยะวิกฤติ (Fetal distress) ต้องรีบช่วยชีวิตทารก เช่น มีการหายใจ หรือ มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ เป็นต้น

ข้อบ่งชี้ที่อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ว่า อาจต้องผ่าท้องคลอด (Relative indication)

  • มารดาอายุมากกว่า 35 ปี
  • มารดาเคยผ่าท้องคลอดมาก่อน
  • ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง
  • มารดาที่มีประวัติตั้งครรภ์ยากมาก่อน
  • มารดาที่มีประวัติทางสูติกรรมที่ไม่ดี เช่น ทารกตายคลอด แท้งเป็นอาจิณ เป็นต้น

การดูแลมารดาและทารกภายหลังการคลอดทำอย่างไร?

หลังคลอดบุตร จะมีการลอกตัวของรกอย่างรวดเร็ว และต่อมาจะมีการคลอดรก และแพทย์อาจมีการฉีดยา Syntocinon 10 unit เข้ากล้ามเนื้อเพื่อให้มดลูกบีบหดรัดตัวได้ดี เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด สตรีที่ถูกตัดแผลฝีเย็บจะถูกเย็บด้วยไหมละลาย ทั้งที่ในช่องคลอด และนอกช่องคลอดส่วนที่เรียกว่า ฝีเย็บ (Perineum) สตรีหลังคลอดอาจรู้สึกปวดแผล ฝีเย็บเล็กน้อย ซึ่งสามารถบรรเทาอาการโดยการรับประทานแก้ปวด พาราเซตามอล (Paracetamol) หลังจากนั้นแพทย์จะทำการตรวจหาจุดเลือดออกและทำการรักษา แพทย์จะคลึงมดลูกเพื่อช่วยให้มดลูกหดรัดตัวได้ดี ป้องกันการตกเลือดหลังคลอด หากทุกอย่างเรียบ ร้อยดี จะย้ายมารดาออกมาอยู่ห้องพักฟื้น ทำการตรวจสัญญาณชีพทุก 15 นาที จนครบ 1 ชั่ว โมงหลังคลอดประเมินเลือดที่ออกจากโพรงมดลูกว่าไม่มีเลือดออกผิดปกติ ก็จะย้ายมารดาจากห้องพักฟื้นไปอยู่หอผู้ป่วยสตรีหลังคลอด หลังจากนั้นก็จะมีการตรวจวัดสัญญาณชีพเป็นระยะ สังเกตปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด มารดาสามารถรับประทานอาหารอ่อน และ รับ ประทานยาแก้ปวดได้

สำหรับทารกแรกคลอด จะมีการดูดเมือกจากปากและจมูก ซับตัวเด็กให้แห้ง ทำการตัดตกแต่งสายสะดือให้เหมาะสม ให้ออกซิเจน กระตุ้นให้ทารกร้อง ซึ่งโรงพยาบาลบางแห่ง จะอุ้มทารกมาให้ดูดนมแม่เลย ให้ผิวลูกสัมผัสอกแม่เลย เพื่อช่วยสร้างความรัก ความผูกพันระหว่างแม่กับลูก แต่ในบางแห่งจะพาเด็กไปเช็ดตัวทำความสะอาดก่อน ห่อผ้าอุ่นแล้วค่อยเอามาดูดนมแม่

ผลข้างเคียงของการคลอดทั้งในด้านของมารดาและทารกมีอะไรบ้าง?

ผลข้างเคียง/ภาวะแทรกซ้อนของมารดา สตรีที่คลอดปกติส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะ แทรกซ้อน แต่ที่อาจพบได้ เช่น

ผลข้างเคียง/ภาวะแทรกซ้อนในทารก เกิดได้น้อยเช่นกัน ที่พบได้ เช่น


ที่มา   https://haamor.com/th/การคลอด/

อัพเดทล่าสุด