กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS / Premenstrual syndrome)


937 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

มดลูก  รังไข่  ระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ปวดประจำเดือน 

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนคืออะไร?

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน หรือเรียกย่อว่า อาการ พีเอ็มเอส (Premenstrual syn drome, PMS) คือ อาการผิดปกติ หรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับสตรีซ้ำๆและสัมพันธ์กับการมีประจำเดือน ส่วนมากอาการจะเกิดก่อนมีประจำเดือน เช่น อาการปวดศีรษะ อารมณ์หงุดหงิด เจ็บคัดตึงเต้านม

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนมีอะไรบ้าง?

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนมีมากมายหลายอาการ โดยสามารถจัดเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มอาการที่แสดงออกทางด้านจิตใจ อารมณ์ เช่น หงุดหงิด เครียด โมโหง่าย หรือซึมเศร้า
  2. กลุ่มอาการที่แสดงออกทางด้านร่างกาย เช่น เจ็บคัดตึงเต้านม น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น บวมตามนิ้วมือนิ้วเท้า

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนมีความสำคัญ หรือมีผลกระทบต่อสตรีอย่างไร?

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนพบได้ในสตรีประมาณ 75-80% ของสตรีวัยมีประจำเดือน มีความรุนแรงแตกต่างกันไปในสตรีแต่ละคน สตรีส่วนมากจะมีอาการไม่มากนัก มีสตรีจำนวนน้อยเท่านั้น (ประมาณ 2-10%) ที่มีอาการก่อนมีประจำเดือนอย่างมาก หรืออย่างรุนแรง จนทำให้มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น ซึมเศร้า อยากฆ่าตัวตาย หงุดหงิดจนทะเลาะกับสามีหรือกับเพื่อนร่วมงาน หรือ ปวดเต้านมมาก อาการต่างๆมักส่งผลจนไม่สามารถไปทำงานได้ตาม ปกติ ซึ่งเมื่อมีอาการผิดปกติมากหรือรุนแรงดังกล่าวจะเรียกว่า กลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน หรือ Premenstrual dysphoric disorder หรือ PMDD” ซึ่งจะได้กล่าวแยกต่างหากในอีกบทหนึ่ง ไม่กล่าวถึงในบทนี้

สตรีกลุ่มใดบ้างที่มีโอกาสประสบกับปัญหานี้?

ปัญหาจากกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนนี้พบได้ในบ่อยในสตรีอายุ 30-40 ปี แต่สามารถพบในช่วงอายุอื่นๆได้เช่นกัน (เฉพาะในวัยยังมีประจำเดือน) สตรีส่วนใหญ่จะมีอาการไม่มาก มีสตรีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะมีอาการรุนแรงจนกระทบต่อชีวิตประจำวัน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการก่อนมีประจำเดือนมีอะไรบ้าง?

สตรีที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน คือ

  1. มีบุคลิกที่เครียดง่าย
  2. ดื่ม ชา กาแฟ มาก
  3. มีประวัติซึมเศร้า
  4. มีประวัติครอบครัวเป็นกลุ่มอาการนี้
  5. อายุมาก
  6. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม (มีมากในนม) หรือ แมกนีเซียม (Magnesium มีมากใน ผักใบเขียวเข้ม นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ถั่วลิสง และธัญพืชเต็มเมล็ด) ต่ำ

วิธีการวินิจฉัยกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนมีอะไรบ้าง?

แพทย์วินิจฉัยกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนจาก การซักประวัติอาการของผู้ป่วยเพียงวิธีเดียว เพราะยังไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการตรวจเลือดที่บอกได้ชัดเจน อาการที่แพทย์ และสตรีจะใช้สังเกตตนเองว่ามีปัญหานี้หรือไม่ ได้แก่

  • เกิดอาการซึ่งมักมีหลายอาการ จึงเรียกว่า กลุ่มอาการ แบบเดิมซ้ำๆทุกเดือน โดยเกิดก่อนมีประจำเดือนประมาณ 5-10 วัน แต่บางคนอาจนานกว่านั้นได้
  • กลุ่มอาการที่เกิดจะดีขึ้นหลังประจำเดือนหยุด หรือประมาณ 4 วันหลังมีประจำเดือน

สาเหตุที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนมีอะไรบ้าง?

สาเหตุที่แท้จริงของการทำให้เกิดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ยังไม่ทราบแน่ชัด มีการสังเกตว่า มักเกิดอาการเหล่านี้ในช่วงรอบประจำเดือนช่วงหลังจากมีการตกไข่แล้วมากกว่าช่วงรอบประจำเดือนที่ยังไม่มีไข่ตก (โดยทั่วไปในสตรี วัยเจริญพันธุ์จะมีประจำเดือนทุก 28-30 วัน การตกไข่จะเกิดขึ้นประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือนครั้งถัดไป) จึงสันนิษฐานว่าน่าอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนโดยเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสเตโรน (Progesterone) ที่เกิด ขึ้นหลังการตกไข่ (หากไม่มีการตกไข่ในรอบเดือนนั้นก็จะไม่มีการผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตโรน) และฤทธิ์ของฮอร์โมนโปรเจสเตโรนจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น บวม อารมณ์หงุดหงิด

นอกจากนี้ยังพบว่า ถ้าช่วงมีอาการ ร่างกายมีสารซีโรโตนิน (Serotonin) จากสมอง (สารนี้ทำงานสัมพันธ์กับการควบคุมอารมณ์ ความโกรธ และการหิว) ลดลง จะส่งผลให้มีอาการรุน แรงขึ้น

การรักษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนมีอะไรบ้าง?

แบ่งแนวทางการรักษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนเป็น การไม่ใช้ยา และการใช้ยา

  • การดูแลรักษาโดยไม่ใช้ยา
    1. ระมัดระวังเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ควรดื่ม ชา กาแฟ เหล้า/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน ช่วงที่ใกล้จะมีประจำเดือน เพราะสิ่งเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้เกิดอาการรุนแรงขึ้น
    2. ควรรับประทาน ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ มากกว่าข้าวที่ขัดสีจนขาว เพราะมี วิตามินเกลือแร่ ที่ช่วยบรรเทาอาการได้ในบางคน
    3. ควรรับประทานอาหารที่มี แคลเซียม และแมกนีเซียมสูงจะช่วยลดอาการเหล่านี้
    4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อผ่อนคลาย
    5. ตั้งสติ ทำสมาธิ ดูหนังฟังเพลง เพื่อลดความเครียด
    6. ควรพูดคุยปัญหาให้คนในครอบครัวฟังเพื่อเป็นการระบาย และเพื่อสื่อสารถึงสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยลดความเครียดต่างๆ และเพื่อให้คนรอบข้างได้เข้าใจเราเมื่ออยู่ในช่วงเกิดอาการ
    จะใช้ในกรณีที่มีอาการไม่มาก โดย
  • การดูแลรักษาโดยใช้ยา
    1. ยากลุ่ม Selective serotonin re-uptake inhibitor เรียกย่อว่า SSRI เพื่อเพิ่มระดับ Serotonin ในร่างกาย
    2. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวม เพราะการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดทำให้ไม่มีการตกไข่ในรอบเดือนนั้นๆ จึงทำให้ไม่มีการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตโรน ยาที่นิยมนำมาใช้รัก ษาภาวะนี้มากคือ ยาที่มีชื่อทางการค้าว่า Yasmin®
    3. แผ่นแปะฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) พบว่าได้ผลดี แต่ต้องระวังหากสตรีมีมดลูกอยู่ต้องไห้ฮอร์โมนโปรเจสโตเจน (Progestogen) ควบคู่ไปด้วยเพื่อป้องกันการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งอาจก่อให้เกิดการมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ทั้งนี้ยังมีกลุ่มอาการนี้ได้ในสตรีที่รังไข่ยังทำงานตามปกติ มีการตกไข่ตามปกติ แต่ได้ผ่า ตัดมดลูกออกไปแล้ว จึงไม่มีประจำเดือนให้เห็น แต่ยังคงมีวงรอบของการตกไข่อยู่เช่นเดิม เช่น ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเนื้องอกมดลูกและได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดมด ลูก แต่ยังเก็บรังไข่ไว้
    4. การให้ยาเสริมเพื่อรักษาอาการต่างๆ เช่น หากบวมมาก แพทย์อาจต้องให้ยาขับปัสสาวะ/ยาขับน้ำ หากเจ็บคัดเต้านมมากอาจต้องรับประทานยาแก้ปวดร่วมด้วย
    จะใช้ในกรณีที่มีอาการมากซึ่งควรได้รับการดูแลโดยแพทย์ ยาที่ใช้ ได้แก่

โดยทั่วไปกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนจะเกิดกับสตรีเกือบทุกคนที่ยังมีประจำเดือน/มีการตกไข่อยู่ แต่อาการไม่รุนแรง ไม่ต้องกังวลใจ ยกเว้นหากมีอาการรุนแรงมากควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนรุนแรงไหม? รักษาหายไหม?

ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่าสตรีในวัยมีประจำเดือน มีประสบการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ หงุดหงิด โมโหง่าย หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก่อนมีประจำเดือน เช่น เจ็บคัดตึงเต้านม รู้สึกน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ที่เราเรียกว่ากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนกันเกือบทุกคน เเต่อาการเหล่านี้มักไม่รุนแรงจนกระทบต่อชีวิตครอบครัว หรือ ชีวิตการทำงาน บางท่านจะสง สัยว่าจะรักษาให้หายขาดเลยได้ไหม คำตอบคือหายขาดถ้าหากเราไม่มีประจำเดือนมาอีก/ไม่มีการตกไข่หรือหมดประจำเดือนไปเลย เพราะอาการเหล่านี้สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในความเป็นหญิงของเรา แต่อาการเหล่านี้สามารถบรรเทาได้ด้วยหลายวิธีดังที่ได้กล่าวแล้ว

นอกจากนั้น การที่เรารู้ทันภาวะความผิดปกตินี้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น และคิดไว้เสมอว่าอาการจะดีขึ้น หรือหายไปเมื่อประจำเดือนหยุด เราก็จะสบายใจขึ้น

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนมีผลข้างเคียงไหม? ควรพบแพทย์เมื่อไหร่?

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน โดยมากไม่มีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายเราอย่างถาวร ผลข้างเคียงที่อาจพบได้คือ ผลข้างเคียงของยาที่รับประทาน เช่น ต้องรับประทานยาแก้ปวดเพราะมีอาการเจ็บคัดเต้านมมาก ซึ่งยาอาจก่อให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ นอก จากนั้นอาจเกิดจากผลพวงของอารมณ์ เช่น หงุดหงิด โมโหคนใกล้ตัวหรือเพื่อนร่วมงานในช่วงที่เกิดอาการเหล่านี้ จึงอาจมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง ทำให้เกิดความไม่สบายใจหากผู้อื่นไม่เข้าใจ ดังนั้นการพูดคุยกับคนข้างเคียงในช่วงที่เราปกติจะทำให้ทุกคนเข้าใจเรามากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากเราได้พยายามดูแลตนเองแล้ว ออกกำลังกาย นั่งสมาธิแล้ว แต่ก็ยังรู้ สึกเครียดมาก โมโหร้าย อยากร้องไห้ตลอดเวลา หรือคนใกล้ชิดบอกว่าอาการผิดปกตินั้นมาก กว่าคนทั่วไป ก็ควรต้องมาพบแพทย์เพื่อช่วยตรวจวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง เพราะบางครั้งเราอาจจะเป็นโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกับกลุ่มอาการนี้ได้

ป้องกันกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนได้อย่างไร?

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดหรือป้องกันกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนนี้ได้ เพราะเวลาออกกำลังกายจะมีฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความ สุขออกมา ทำให้เรามีความสุขไม่เครียด

นอกจากนั้นควรดูแลตัวเองเกี่ยวกับอาหาร ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตชนิดดี เช่น ข้าวที่ไม่ขัดสีจนวิตามินหายหมด ลดอาหารหวานจัด รับประทานผัก ผลไม้มากๆ เพื่อให้ได้วิตามิน เกลือแร่ ครบถ้วน และลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และกาเฟอีน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราผ่านพ้นวิกฤตช่วงก่อนมีประจำเดือนไปได้
ที่มา   https://haamor.com/th/กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน/

อัพเดทล่าสุด