โรคกล้ามเนื้อ โรคระบบกล้ามเนื้อ (Muscle disease)


1,108 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

กล้ามเนื้อ  ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก  ระบบกระดูกและข้อ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

กล้ามเนื้ออ่อนแรง 

บทนำ

โรคกล้ามเนื้อ หรือ โรคของกล้ามเนื้อ (Muscle disease) หมายถึงโรคต่างๆที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ กล้ามเนื้อจัดเป็นเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

กล้ามเนื้อแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ

  1. กล้ามเนื้อลาย (Striated muscle หรือ Skeletal muscle) หรืออีกชื่อ คือกล้ามเนื้อที่ทำงานอยู่ในการควบคุมของสมอง(Voluntary muscle)
  2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle) หรืออีกชื่อคือ กล้ามเนื้อที่ทำงานด้วยระบบของตัวเอง ขึ้น กับสมองเป็นบางส่วนโดยมักผ่านทางระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous system)
  3. และกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle)

หน้าที่ของกล้ามเนื้อทุกชนิด คือ การบีบตัว เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว เพื่อการทำหน้าที่ต่างๆตามแต่งานของแต่ละอวัยวะ เช่น การบีบหดตัวของกล้ามเนื้อ

  • แขน ขา เพื่อการเคลื่อนไหวแขน ขา
  • ของนิ้วเพื่อการหยิบจับ
  • ของกระเพาะอาหารและลำไส้เพื่อการย่อยอาหาร และกำจัดกากอาหารออกเป็นอุจจาระ
  • ของหลอดเลือดเพื่อการไหลเวียนโลหิต/เลือด
  • ของหลอดลมเพื่อการแลกเปลี่ยนอากาศภายนอกร่างกายกับคาร์บอนไดออกไซด์จากปอด
  • และของหัวใจเพื่อการสูบฉีดโลหิตเพื่อนำเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์/เนื้อเยื่อ/อวัยวะทั่วร่างกาย

ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ พบได้บ่อย โดยทั่วไปมักเกิดจากอุบัติเหตุ และการกีฬา เช่น ปวดเมื่อย เป็นตะคริว กล้ามเนื้อพลิก เอ็นกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้อฉีกขาด และเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้อไม่สามารถหดตัวได้/กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรืออาการอัมพฤกษ์ อัมพาต ที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคของไขสันหลัง เช่น อุบัติเหตุต่อไขสันหลัง หรือโรคมะเร็งแพร่กระจายเข้ากระ ดูกสันหลัง/เข้าไขสันหลัง

โดยทั่วไป ไม่มีการรวบรวมสถิติความผิดปกติทุกชนิดของกล้ามเนื้อไว้ด้วยกัน การศึกษามักแยกเป็นแต่ละโรค แต่อย่างไรก็ตาโรคของกล้ามเนื้อพบได้ในทั้งสองเพศ โดยมีโอกาสเกิดได้ใกล้เคียงกันทั้งสองเพศ และเป็นโรคที่พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยโอกาสพบโรคจะสูงขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น

โรคกล้ามเนื้อมีสาเหตุจากอะไร? โรคอะไรพบได้บ่อย?

สาเหตุโรคของกล้ามเนื้อ คือ

อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อ?

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อ คือ

โรคกล้ามเนื้อมีอาการอย่างไร?

อาการของโรคกล้ามเนื้อจากทุกสาเหตุ จะคล้ายคลึงกัน ที่พบบ่อย คือ

นอกนั้น อาจพบอาการอื่นๆร่วมด้วย ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ เช่น

แพทย์วินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคของกล้ามเนื้อได้จากหลายปัจจัย เช่น ประวัติอาการของผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว การตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าการทำงานของกล้าม เนื้อ (Electromyography) การตรวจเลือดเพื่อหาค่าสารผิดปกติต่างๆที่แพทย์สงสัยว่า อาจเกี่ยวข้องกับโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น ค่าน้ำตาลในเลือดเมื่อสงสัยโรคเบาหวาน ค่าสารภูมิต้าน ทานต่างๆเมื่อสงสัยโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง ตรวจเลือดและ/หรือเซลล์ดูความผิด ปกติทางพันธุกรรมเมื่อสงสัยโรคทางพันธุกรรม ตรวจภาพกล้ามเนื้อด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ/หรือเอมอาร์ไอ และอาจต้องตัดชิ้นเนื้อจากส่วนที่ผิดปกติเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

รักษาโรคกล้ามเนื้ออย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคกล้ามเนื้อ คือ การรักษาตามสาเหตุ และการรักษาประคับประคองตาอาการ

การรักษาตามสาเหตุ เช่น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเมื่อ โรคเกิดจากการทำงาน หรือ การกีฬา การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเมื่อโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การผ่าตัด รังสีรัก ษา และ/หรือยาเคมีบำบัดเมื่อเกิดจากโรคมะเร็ง แต่ทั้งนี้ยังไม่มีวิธีรักษาสาเหตุ เมื่อโรคเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม

การรักษาประคับประคองตาอาการ เช่น การใช้ยาต่างๆ (ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาลดอาการสั่น หรือยาลดการกระตุก) การใช้กายภาพบำบัด/กายภาพฟื้นฟู และการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องช่วยพยุงในการเดิน หรือในการหยิบจับสิ่ง ของ เป็นต้น

โรคกล้ามเนื้อรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?

โดยทั่วไปโรคกล้ามเนื้อ ไม่รุนแรงถึงทำให้เสียชีวิต แต่มีผลต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลถึงการดำรงชีวิตประจำวัน จากกล้ามเนื้ออ่อนแรง อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของโรค ขึ้นกับสาเหตุ เช่น เป็นโรครุนแรงถ้าสาเหตุเกิดจากโรคมะเร็งแต่ไม่รุนแรง มักรักษาได้หายเสมอเมื่อเกิดจากเป็นตะคริว เป็นต้น

ผลข้างเคียงของการเป็นโรคกล้ามเนื้อที่สำคัญที่สุด คือ การไม่สามารถใช้งานกล้ามเนื้อได้ตามปกติจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงเช่น กล้ามเนื้อ นิ้ว มือ แขน ขา และใบหน้า จึงส่งผลถึงคุณ ภาพชีวิต ทั้งในการใช้ชีวิตประจำวัน การงาน การเข้าสังคม การต้องพึ่งพาผู้อื่น และการเป็นภา ระต่อครอบครัว รวมไปถึงในด้านความสวยงาม

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเองที่สำคัญ คือ เมื่อมีความผิดปกติต่างๆดังกล่าวแล้วในหัวข้อ อาการ ถ้าอา การไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน หรือถ้าอาการเลวลงภายใน 24 ชั่วโมง ต้องรีบพบแพทย์ หรือไปโรง พยาบาลฉุกเฉินโดยเฉพาะเมื่อมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

เมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อ การดูแลตนเอง การพบแพทย์ คือ

  • ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาล แนะนำ
  • ทำกายภาพบำบัด/กายภาพฟื้นฟูตาม แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด แนะนำสม่ำเสมอ
  • รักษาสุขภาพจิต เพราะดังกล่าวแล้วว่า โรคจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตเสมอ
  • พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิมหรืออาการต่างๆเลวลง หรือเมื่อกังวลในอาการ

-การปฐมพยาบาลกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ

เนื่องจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยมากในการใช้ชีวิตประจำ วัน ซึ่งการดูแลตนเอง/การปฐมพยาบาล จะช่วยลดการบาดเจ็บไม่ให้ลุกลามและช่วยให้อาการต่างๆหายเร็วขึ้น

ทั้งนี้เมื่อเกิดการบาดเจ็บ ควรหาผู้ช่วยเหลือเสมอ

ภายหลังการปฐมพยาบาล ถ้าเป็นการบาดเจ็บรุนแรง เช่น ปวด/เจ็บมาก ส่วนที่บาดเจ็บผิดรูป บวมมาก หรือมีเลือดออกมาก ควรรีบไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน แต่ถ้าอาการไม่มาก อาจรอดูอาการได้ ประมาณ 1-2 วัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือ อาการเลวลง ควรรีบไปโรงพยาบาล

ทั้งนี้ หลักในการปฐมพยาบาล เรียกย่อว่า PRICE” แพทย์บางท่านแนะนำเพียง “RICE” “P” ออกโดยนำไปรวมกับ “R และ C ” ซึ่งก็เช่นเดียวกับ PRICE เพียงแต่ตัด

  • P คือ Protect การรีบป้องกันไม่ให้การบาดเจ็บลุกลามมากขึ้น โดยการไม่เคลื่อนไหวส่วนที่บาดเจ็บ อาจโดยการดามด้วยวัสดุที่แข็งแรง การพันด้วยผ้ายืด (Elastic bandage) การคล้อง เช่น คล้องแขน ทั้งนี้จะใช้วิธีการใดขึ้นกับตำแหน่งที่บาดเจ็บ
  • R คือ Rest การไม่ใช้งานกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ เช่น ไม่ใช้แขนด้านนั้น ไม่ลงน้ำหนักขาด้านนั้น เป็นต้น อย่างน้อยภายใน 24 ชั่วโมงหลังบาดเจ็บ
  • I คือ ICE การประคบบริเวณที่บาดเจ็บด้วยน้ำแข็ง/ความเย็น เพื่อลดอาการปวด/เจ็บ ลดบวม ลดการเลือดออก และลดการอักเสบ (ชนิดไม่ติดเชื้อ) ของกล้ามเนื้อจากการบาดเจ็บ แต่อย่าใช้ความเย็นจัด เพราะหลอดเลือดจะหดตัวเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อจะขาดเลือดได้ และแต่ละครั้งของการประคบไม่ควรนานเกิน 15-20 นาทีเพื่อป้องกันเนื้อเยื่อขาดเลือดเช่นกัน อาจประคบบ่อยทุก 1-2 ชั่วโมงในวันแรกของการบาดเจ็บ และควรประคบต่อเนื่องอีก 1-2 วัน แต่ลดความ ถี่ในการประคบลงได้ตามความเหมาะสมกับอาการ เช่น ทุก 3-4 ชั่วโมง หรือตามแพทย์แนะนำ(เมื่อได้พบแพทย์แล้ว)
  • C คือ Compress พันส่วนที่บาดเจ็บด้วยผ้ายืด เพื่อช่วยไม่ให้มีการเคลื่อนที่ ช่วยลดอาการบวม และช่วยลดการมีเลือดออก ทั้งนี้ต้องพันไม่ให้แน่น ต้องพันพอให้มีเลือดไหลเวียนในส่วนนั้นได้สะดวก การพันแน่นจะส่งผลให้เนื้อเยื่อขาดเลือดและเกิดอาการบวม ทั้งนี้ควรพันผ้ายืดไว้อย่างน้อย 72 ชั่วโมง หรือนานตามแพทย์แนะนำ (เมื่อได้พบแพทย์แล้ว)
  • E คือ Elevate คือ พยายามยกส่วนที่บาดเจ็บ ให้สูงอย่างน้อยในช่วง 24 ชั่วโมงแรกของการบาดเจ็บ ถ้าสามารถทำได้ เช่น แขน ขา เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ลดแรงโน้มถ่วงของโลก จะช่วยลดอาการบวมได้

มีการตรวจคัดกรองโรคกล้ามเนื้อไหม?

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรอง (ตรวจให้พบโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการโรคกล้ามเนื้อ ทั้ง นี้รวมถึงโรคมะเร็งด้วย ดังนั้นการดูแลตนเองที่ดีที่สุด คือ เมื่อมีอาการผิดปกติต่างๆดังได้กล่าวAแล้วในหัวข้ออาการ ควรพบแพทย์ภายใน 2-3 วันถ้าอาการไม่ดีขึ้นหลังดูแลตนเอง หรือรีบพบแพทย์ใน 24 ชั่วโมง เมื่ออาการเลวลง หรือไปโรงพยาบาลฉุกเฉินตั้งแต่แรกเมื่อมีอาการรุนแรง เช่นกล้ามเนื้ออ่อนแรงทันที เป็นต้น

ป้องกันโรคกล้ามเนื้อได้อย่างไร?

การป้องกันโรคกล้ามเนื้อให้เต็มร้อยเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากพันธุกรรมและโรคมะเร็ง แต่โรคที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆโดยเฉพาะการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ อาจป้องกันได้โดย

  • ในการทำงานที่ต้องใช้การออกแรง หรือกีฬาต่างๆ ควรต้องรู้จักการอบอุ่นกล้าม เนื้ออย่างถูกวิธีก่อนใช้งาน
  • รู้จักวิธีที่ถูกต้องในการยกของหนัก ยืน นั่ง เดิน ก้ม
  • สวมรองเท้าที่สบายเท้า ไม่รัดแน่น หรือ หลวม หรือรองเท้าส้นสูง
  • กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบทุกวัน เพื่อความแข็งแรงของเซลล์กล้ามเนื้อ ซึ่งเช่นเดียวกับเซลล์ทุกชนิดของร่างกาย ที่ต้องการอาหารมีประโยชน์ในการทำ งาน การเจริญเติบโต และการซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหาย สึกหรอ
  • รู้จักนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เมื่อใช้กล้ามเนื้อออกแรงหนัก
  • ออกกำลังกล้ามเนื้อทุกส่วนสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพ เพื่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และเพื่อการไหลเวียนโลหิต เพื่อกล้ามเนื้อจะได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอในการทำงาน ที่ต้องยืด หด ตลอดเวลา ซึ่งจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนเป็นอย่างมาก
  • ปรึกษานักกายภาพบำบัดในการทำกายภาพฟื้นฟูกล้ามเนื้อต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสุขภาพ
  • ป้องกัน ควบคุม รักษาโรคต่างๆที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคของกล้ามเนื้อ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้มีสุขภาพ แข็งแรง ลดโอ กาสติดเชื้อต่างๆ ซึ่งรวมทั้งการติดเชื้อของกล้ามเนื้อ

 

อัพเดทล่าสุด