ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :
กระดูก ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ระบบกระดูกและข้ออาการที่เกี่ยวข้อง :
กระดูกหักบทนำ
โรคกระดูก (Bone disease) คือ ภาวะผิดปกติต่างๆที่ส่งผลให้การทำงานของกระดูกผิด ปกติไป ส่งผลให้กระดูก เปราะ บาง อ่อนแอ ไม่แข็งแรง ผิดรูป และ/หรือหักในที่สุด
กระดูก (Bone) จัดเป็นเนื้อเยื่อในกลุ่มเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่แข็งแรงที่สุดในร่างกาย มีทั้ง หมด 206 ชิ้น กระจายอยู่ในทุกส่วน ตั้งแต่ศีรษะ/กะโหลกจนถึงนิ้วเท้า โดยมีหน้าที่
- ให้การเจริญเติบโตของร่างกาย (ความสูง)
- ช่วยการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ ของเอ็นกระดูก ของเอ็นกล้าม เนื้อ และเป็นส่วนประกอบของข้อ
- คงรูปร่างๆของร่างกาย
- ปกป้องอวัยวะภายในต่างๆ เช่น สมอง ปอด และหัวใจ
- เป็นแหล่งเก็บสะสมเกลือแร่สำคัญ เช่น แคลเซียม และฟอสฟอรัส (Phosphorus)
- ช่วยรักษาสมดุลของเกลือแร่ และภาวะความเป็นกรด-ด่างในร่างกายผ่านทางเกลือแร่ต่างๆที่สะสมอยู่ในกระดูก โดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส
- ช่วยกำจัดสารพิษออกจากเลือด เช่น โลหะหนักต่างๆ (เช่น ตะกั่ว) โดยนำมาสะสมอยู่ในกระ ดูกแทน
- และนอกจากนี้ ในโพรงส่วนกลางของกระดูกทุกชิ้น มีเนื้อเยื่อ เรียกว่า ไขกระดูก (Bone mar row) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อสร้างเม็ดเลือดต่างๆ
โรคกระดูก เป็นโรคพบได้บ่อยในทั้ง 2 เพศ พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยในประเทศที่เจริญแล้วที่ซึ่งประชากรมีผู้สูงอายุมาก โรคกระดูกพรุนที่พบมากในผู้ สูงอายุ เป็นโรคหนึ่งที่เป็นปัญหาสาธารณสุขและเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดกระดูกหักในผู้ สูงอายุ
โรคกระดูกมีสาเหตุจากอะไร? โรคอะไรที่พบได้บ่อย?
สาเหตุของโรคกระดูกมีได้หลายสาเหตุ ที่พบได้บ่อย ได้แก่
- จากการสูงอายุ ทั้งนี้เซลล์กระดูกจะเช่นเดียวกับเซลล์ทุกชนิดของร่างกาย ที่จะเสื่อมลงตามธรรมชาติเมื่ออายุสูงขึ้น โดยเฉพาะจากการลดน้อยลงของฮอร์โมนเพศที่เป็นปัจจัยสำคัญในการทำงานของเซลล์กระดูก ดังนั้นโรคกระดูกเสื่อม/โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุจึงพบในผู้ หญิงได้สูงกว่าในผู้ชาย จากการที่ผู้หญิงมีวัยหมดประจำเดือน ซึ่งเป็นวัยที่รังไข่หยุดสร้างฮอร์ โมนเพศ ทั้งนี้ในปัจจุบัน โรคกระดูกพรุน เป็นโรคกระดูกที่พบได้บ่อยที่สุด
- กระดูกหัก (Bone fracture) จากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น การใช้รถใช้ถนน การกีฬา การลื่นล้มในบ้าน โดยกระดูกชิ้นที่พบเกิดการหักได้บ่อย คือ กระดูกข้อมือ กระดูกสันหลัง และกระดูกสะโพก
- จากภาวะขาดอาหาร โดยเฉพาะอาหารโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามิน ดี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างกระดูก
- ซึ่งภาวะขาดอาหาร ถ้าเกิดในเด็กจะส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรง อ่อนแอ เปลี่ยนรูปร่างได้ง่าย เรียกว่า ภาวะ Osteomalacia ส่งผลให้กระดูกหักได้ง่าย และร่างกายไม่เจริญเติบโต
- ส่วนในผู้ใหญ่ภาวะขาดอาหารจะส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นสา เหตุสำคัญของกระดูก หัก
- จากการติดเชื้อโรค เช่นเดียวกับอวัยวะทั่วไป กระดูกสามารถติดเชื้อโรคได้ โดยมักเป็นผลข้างเคียงตามมาจากกระดูกหัก หรือการมีบาดแผลในเนื้อเยื่อที่ติดกับกระดูก เช่น การติดเชื้อกระดูกกรามจากโรคเหงือกอักเสบ หรือเกิดร่วมกับภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต ปัจจุบัน นับจากการมียาปฏิชีวนะ สาเหตุนี้พบได้น้อยลงมาก เพราะกระดูกติดเชื้อมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่รักษาควบคุมได้ด้วยยาปฏิชีวนะ อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต้าน ทานโรคบกพร่อง อาจเกิดจากการติดเชื้อราได้
- จากโรคมะเร็ง โรคมะเร็งกระดูก คือโรคมะเร็งของตัวกระดูกเอง เป็นโรคพบได้น้อย มักเกิดในเด็กโต และช่วงวัยรุ่น โดยพบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิง แต่โรคมะเร็งจากอวัยวะอื่นๆทั่วร่างกาย เมื่ออยู่ในระยะแพร่กระจาย มักแพร่กระจายมายังกระดูก ซึ่งโรคมะเร็งที่แพร่กระจายมา ยังกระดูกนี้ เป็นโรคที่พบได้บ่อย และมักเป็นโรคมะเร็งของผู้ใหญ่ โดยโรคมะเร็งที่มักแพร่กระ จายมายังกระดูก คือ โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งไต เป็นต้น
- จากโรคเนื้องอก ชนิด Acromegaly (โรคสภาพโตเกินไม่สมส่วน) ของต่อมใต้สมอง ที่พบได้ประปรายทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย ในเด็กและในผู้ใหญ่ เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุเกิด แต่เนื้องอกชนิดนี้จะสร้างฮอร์โมนชนิดกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโต (Growth hormone) เกินปกติ ส่งผลให้เนื้อเยื่อเกี่ยวพันโดยเฉพาะกระดูกเจริญเกินปกติ (แต่หักง่าย) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีรูปร่างสูงใหญ่เกินคนทั่วไป
- จากพันธุกรรม เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก เช่น โรค Osteogenesis imperfecta ที่ส่งผลให้กระดูกทุกชิ้น เปราะและหักง่ายตั้งแต่แรกเกิด
ใครมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูก?
ผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูก คือ
- ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไป คือ ประมาณอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป หรือในผู้ที่หมดประจำเดือนก่อนวัย รวมทั้งผู้ที่ผ่าตัดรังไข่
- คนทำงานที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ขับรถ หรือเล่นกีฬาผาดโผน
- ขาดอาหาร ชอบกินอาหารในกลุ่มที่เรียกว่า อาหารขยะ (Junk food)
โรคกระดูกมีอาการอย่างไร?
อาการของโรคกระดูกจากทุกสาเหตุ จะคล้ายคลึงกัน โดยอาการสำคัญที่สุด คือ
- ปวดกระดูกชิ้นที่เกิดโรค
- เคลื่อนไหวร่างกาย/กระดูก ได้ลดน้อยลง หรือไม่ได้เลย จากโรคข้อกระดูกร้าว และ/หรือกระดูกหัก
- รูปร่างกระดูกผิดรูปไป
- อาจมี/คลำได้ก้อนเนื้อในส่วนกระดูกที่เกิดโรคเมื่อเกิดจากโรคมะเร็ง
แพทย์วินิจฉัยโรคกระดูกได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยโรคกระดูกได้จาก ประวัติอาการ การตรวจร่างกาย การตรวจภาพกระดูกตำ แหน่งเกิดอาการด้วยเอกซเรย์กระดูกและ/หรือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ/หรือเอมอาร์ไอ การตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก (Bone density scan, DEXA) การตรวจเลือดดูค่าฮอร์โมนต่าง ๆเมื่อสงสัยโรคของต่อมใต้สมอง และอาจมีการตัดชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยาเมื่อมีก้อนเนื้อ
รักษาโรคกระดูกอย่างไร?
แนวทางการรักษาโรคกระดูก คือ การรักษาสาเหตุและการรักษาตามอาการ
- การรักษาสาเหตุ เช่น การเข้าเฝือก หรือใส่เหล็กดามกรณีกระดูกหัก การให้กินแคล เซียมเสริมอาหาร ร่วมกับการใช้ยาฮอร์โมนต่างๆกรณีโรคกระดูกพรุน หรือการรักษาโรคมะเร็งซึ่งขึ้นกับชนิดมะเร็ง และระยะโรคมะเร็ง เป็นต้น
- การรักษาตามอาการ ที่สำคัญ คือ การให้ยาแก้ปวด นอกจากนั้น คือ การทำกายภาพบำ บัด/กายภาพฟื้นฟูกล้ามเนื้อ และข้อ ที่อาจเกิดการฝ่อลีบ หรือการติดขัด จากไม่ได้เคลื่อนไหวจากมีโรคของกระดูก เป็นต้น
โรคกระดูกรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?
ความรุนแรงของโรคกระดูก ขึ้นกับสาเหตุ เช่น โรคกระดูกพรุน ไม่ทำให้เสียชีวิต แต่โรค มะเร็งกระดูก หรือโรคมะเร็งที่แพร่กระจายมากระดูก มีความรุนแรงสูง และเป็นสาเหตุเสียชีวิตได้
ผลข้างเคียงจากโรคกระดูกทุกสาเหตุ คือ การเสียคุณภาพชีวิต จากอาการปวด และการที่ไม่สามารถเคลื่อนไหว ใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำงานได้ตามปกติ
ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?
การดูแลตนเอง ที่สำคัญ คือ การพบแพทย์เมื่อมีอาการดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ อาการ
เมื่อทราบว่าตนเองเป็นโรคกระดูก การดูแลตนเองและการพบแพทย์ คือ
- ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาล แนะนำ
- เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ทำกายภาพบำบัด/กายภาพฟื้นฟูด้วยตนเองที่บ้าน เท่าที่จะทำได้ ตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ
- กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนในทุกวัน
- จำกัดอาหาร ไขมัน แป้ง และน้ำตาล เพิ่มผัก ผลไม้ให้มากๆ เพื่อควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก ป้องกันโรคอ้วน เพราะจะทำให้กระดูกต้องทำงานหนักขึ้นจากการรอง รับน้ำหนักตัว
- พบแพทย์ตามนัดเสมอ
- พบแพทย์ก่อนนัด เมื่ออาการต่างๆเลวลง หรือ ผิดปกติไปจากเดิม หรือ เมื่อกังวลในอาการ
-การปฐมพยาบาลเมื่อมีการบาดเจ็บของกระดูก
เมื่อมีอุบัติเหตุ ควรสงสัยกระดูกหักเมื่อเคลื่อนไหวส่วนนั้นๆไม่ได้ ร่วมกับอาการเจ็บ/ปวดมาก กระดูกส่วนนั้นผิดรูป หรือมีกระดูกโผล่ออกมา และอาจร่วมกับ อาการ บวม ห้อเลือด และ/หรือมีเลือดออก
เมื่อมีกระดูกหัก การปฐมพยาบาล ใช้หลักการเช่นเดียวกับ การปฐมพยาบาลกล้ามเนื้อ และข้อที่บาดเจ็บ โดยเมื่อเกิดการบาดเจ็บของกระดูก ควรหาผู้ช่วยเหลือเสมอ และภายหลังการปฐมพยาบาล ควรรีบไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน
ทั้งนี้ หลักในการปฐมพยาบาล เรียกย่อว่า “PRICE” แพทย์บางท่านแนะนำเพียง “RICE” ซึ่งก็เช่นเดียวกับ PRICE เพียงแต่ตัด “P” ออกโดยให้รวมอยู่ใน “R และ C”
- P คือ Protect การรีบป้องกันไม่ให้การบาดเจ็บลุกลามมากขึ้น โดยการไม่เคลื่อนไหวส่วนที่บาดเจ็บ ด้วยการดามส่วนที่เจ็บ/หัก ด้วยวัสดุที่แข็งแรง
- R คือ Rest การไม่ใช้งาน ไม่ลงน้ำหนักกระดูกที่บาดเจ็บ
- I คือ ICE การประคบบริเวณที่บาดเจ็บด้วยน้ำแข็ง/ความเย็น เพื่อลดอาการปวด/เจ็บ ลดบวม ลดการเลือดออก และลดการอักเสบ (ชนิดไม่ติดเชื้อ) ของเนื้อเยื่อจากการบาดเจ็บ แต่อย่าใช้ความเย็นจัด เพราะหลอดเลือดจะหดตัวเนื้อเยื่อจะขาดเลือดได้ และแต่ละครั้งของการประคบไม่ควรนานเกิน 15-20 นาที เพื่อป้องกันเนื้อเยื่อขาดเลือดเช่นกัน อาจประคบบ่อยทุก 1-2 ชั่วโมงในวันแรกของการบาดเจ็บ และควรประคบต่อเนื่องอีก 1-2 วัน แต่ลดความถี่ในการประ คบลงได้ตามความเหมาะสมกับอาการ เช่น ทุก 3-4 ชั่วโมง หรือตามแพทย์แนะนำ (เมื่อได้พบแพทย์แล้ว)
- C คือ Compress พันส่วนที่บาดเจ็บด้วยผ้ายืด เพื่อช่วยไม่ให้มีการเคลื่อนที่ ช่วยลดอาการบวม และช่วยลดการมีเลือดออก ทั้งนี้ต้องพันไม่ให้แน่น ต้องพันพอให้มีเลือดไหลเวียนในส่วนนั้นได้สะดวก การพันแน่นจะส่งผลให้เนื้อเยื่อขาดเลือดและเกิดอาการบวม ทั้งนี้ควรพันผ้ายืดไว้อย่างน้อย 72 ชั่วโมง หรือตามแพทย์แนะนำ (เมื่อได้พบแพทย์แล้ว)
- E คือ Elevate คือ พยายามยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูงอย่างน้อยในช่วง 24 ชั่วโมงแรกของการบาดเจ็บ (ถ้าสามารถทำได้) เช่น เมื่อมีการบาดเจ็บที่ แขน ขา เพื่อช่วยเพิ่มการไหล เวียนโลหิต ลดแรงโน้มถ่วงของโลก จะช่วยลดอาการบวมได้
มีการตรวจคัดกรองโรคกระดูกไหม?
โรคกระดูกที่สามารถมีการตรวจคัดกรองได้ (การตรวจให้พบตั้งแต่ยังไม่มีอาการ) คือ โรคกระดูกพรุน ด้วยการตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก (Bone density scan, DEXA) ซึ่งเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป (ทั้ง 2 เพศ) ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 50 ปี และในผู้หญิงที่ผ่าตัดรังไข่
ป้องกันโรคกระดูกได้อย่างไร?
- ป้องกันโรคกระดูกพรุน (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง โรคกระดูกพรุน) ซึ่งที่สำ คัญ คือ การออกกำลังกายตามควรกับสุขภาพสม่ำเสมอ กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ ครบถ้วนในทุกวัน ร่วมกับกินแคลเซียมเสริมอาหารทุกวัน เริ่มในอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยควรปรึกษาแพทย์ พยาบาล เภสัชกรก่อนการซื้อกินเอง เพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากยา และเพื่อให้ได้รับปริมาณแคลเซียมที่เหมาะสม
- ระมัดระวังกระดูกหักจากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น การสวมใส่เครื่องป้องกันในการเล่นกี ฬา หรือขับรถ การจัดสถานที่ต่างๆในบ้าน ในที่ทำงาน เพื่อลดอุบัติเหตุ การล้มลื่น การสวมใส่รองเท้าที่ลดการลื่นล้ม เป็นต้น
- กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนในทุกวัน เพื่อชะลอกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควร
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันตามควรกับสุขภาพ เพราะการออกกำลังกายจะส่ง ผลกระตุ้นการทำงานของเซลล์กระดูกเสริมสร้าง และซ่อมแซมเซลล์กระดูกที่บาดเจ็บเสียหายได้เป็นอย่างดี
ที่มา https://haamor.com/th/โรคกระดูก/