มะเร็ง (Cancer)


1,167 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ทั้งตัว  ระบบมะเร็งวิทยา 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ก้อนเนื้อ  แผลเรื้อรัง 

ทั่วไป

โรคมะเร็ง เป็นโรคของผู้ใหญ่ แต่พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยพบได้สูงในอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ส่วนในเด็กพบน้อยกว่าในผู้ใหญ่ประมาณ 10 เท่า

โรคมะเร็งที่พบบ่อยของชายไทยเรียงจากลำดับแรก 10 ลำดับ ได้แก่ โรคมะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งช่องปาก มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งพบบ่อยของหญิงไทยเรียงจากลำดับแรก 10 ลำดับ ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งปอดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งช่องปาก มะเร็งต่อมไทรอยด์ และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

โรคมะเร็งพบบ่อยในเด็กไทยเรียงจากลำดับแรก 4 ลำดับ ได้แก่ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคเนื้องอก/มะเร็งสมอง และโรคมะเร็งนิวโรบลาสโตมา (มะเร็งของประสาทซิมพาทีติก)

โรคมะเร็ง คือ โรคอะไร?

โรคมะเร็ง คือ โรคซึ่งเกิดมีเซลล์ผิดปกติขึ้นในร่างกาย และเซลล์เหล่านี้มีการเจริญเติบโตรวดเร็วเกินปกติ ร่างกายควบคุมไม่ได้ ดังนั้นเซลล์เหล่านี้ จึงเจริญลุกลามแพร่กระจายทั่วร่างกาย ส่งผลให้เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆทำงานไม่ได้ จึงเกิดเป็นโรค และมีอาการต่างๆขึ้น และเมื่อเป็นมะเร็งของอวัยวะสำคัญ หรือ มะเร็งแพร่กระจายเข้าอวัยวะสำคัญ อวัยวะเหล่านั้นจึงล้มเหลว เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตในที่สุด ได้แก่ ปอด ตับ สมอง ไต กระดูก และไขกระดูก

โรคมะเร็งต่างจากเนื้องอกอย่างไร?

โรคมะเร็งต่างจากเนื้องอกที่ ก้อนเนื้อ หรือ แผลมะเร็ง โตเร็ว ลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง เข้าต่อมน้ำเหลือง และแพร่กระจายเข้าหลอดเลือด และหลอดน้ำเหลืองไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย โดยมักแพร่สู่ ปอด ตับ สมอง กระดูก และไขกระดูก ดังนั้นโรคมะเร็งจึงเป็นโรครุนแรง มีการรักษาที่ซับซ้อน

โรคเนื้องอก ได้แก่ ก้อนเนื้อผิดปกติ แต่โตช้า ไม่ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง เพียงกด หรือ เบียดเมื่อก้อนโตขึ้น ไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง ไม่แพร่กระจายทางกระแสโลหิต และหลอดน้ำเหลือง จึงเป็นโรคมักรักษาได้หาย โดยเพียงการผ่าตัด

โรคมะเร็งเกิดได้อย่างไร?

สาเหตุของโรคมะเร็งยังไม่ชัดเจน แต่แพทย์พบปัจจัยเสี่ยงได้หลายปัจจัยเสี่ยง โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคมะเร็ง ได้แก่

โรคมะเร็งมีอาการอย่างไร?

ไม่มีอาการเฉพาะของโรคมะเร็ง แต่เป็นอาการเช่นเดียวกับการอักเสบของเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เป็นมะเร็ง แตกต่างที่มักเป็นอาการเรื้อรัง ดังนั้นเมื่อมีอาการต่างๆนานเกิน 1-2 สัปดาห์ จึงควรรีบพบแพทย์ อย่างไรก็ตาม อาการที่น่าสงสัยว่าเป็นมะเร็ง ได้แก่

แพทย์รู้ได้อย่างไรว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง?

แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งได้จาก อาการต่างๆของผู้ป่วย ตรวจร่างกาย การตรวจภาพเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่มีอาการด้วยเอกซเรย์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แต่ที่ให้ผลแน่นอน คือ เจาะ/ดูดเซลล์ หรือ ตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา (ตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางพยาธิวิทยา)

โรคมะเร็งมีกี่ระยะ?

ระยะโรคมะเร็ง คือ ตัวบอกความรุนแรงของโรค (การลุกลามและแพร่กระจาย) บอกแนวทางการรักษา และแพทย์ใช้ในการศึกษาวิจัย

โดยทั่วไปโรคมะเร็งมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1-4 ซึ่งทั้ง 4 ระยะ อาจแบ่งย่อยได้อีก (เป็น เอ(A) บี(B) หรือ ซี(C) หรือ เป็น หนึ่ง หรือ สอง) เพื่อแพทย์โรคมะเร็งใช้ช่วยประเมินการรักษา ส่วน ระยะศูนย์(0)เซลล์เพียงมีลักษณะเป็นมะเร็ง แต่ยังไม่มีการรุกราน ยังไม่จัดเป็นโรคมะเร็งอย่างแท้จริง เพราะ

ระยะที่ 1:ก้อนเนื้อ/แผลมะเร็งมีขนาดเล็ก ยังไม่ลุกลาม

ระยะที่ 2:ก้อน/แผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามภายในเนื้อเยื่อ/อวัยวะ

ระยะที่ 3:ก้อน/แผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เป็นมะเร็ง

ระยะที่ 4:ก้อน/แผลมะเร็งขนาดโตมาก และ/หรือ ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียงจนทะลุ และ/หรือ ต่อมน้ำเหลืองใกล้ขาด โตมาก และ/หรือ มีหลากหลายต่อม และ/หรือ แพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต และ/หรือ หลอดน้ำเหลือง ไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง ในช่องอก และ/หรือ ต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้า

รักษาโรคมะเร็งได้อย่างไร?

วิธีการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบัน ได้แก่ ผ่าตัด รังสีรักษา ยาเคมีบำบัด ยาฮอร์โมน ยารักษาตรงเป้า และการรักษาประคับประคองตามอาการด้วยอายุรกรรมทั่วไป ซึ่งอาจเป็นวิธีใดวิธีเดียว หรือ หลายวิธีร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นกับ ระยะโรค ชนิดของเซลล์มะเร็ง เป็นมะเร็งของเนื้อเยื่อ/อวัยวะใด ผ่าตัดได้หมดหรือไม่ ผลพยาธิวิทยาชิ้นเนื้อหลังผ่าตัด อายุ และสุขภาพผู้ป่วย

โรคมะเร็งรักษาหายไหม?

โรคมะเร็งเป็นโรครักษาได้หาย แต่ทั้งนี้ โอกาสรักษาหาย ขึ้นกับ ระยะโรค ชนิดเซลล์มะเร็ง อายุ และสุขภาพผู้ป่วย

มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งไหม?

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง คือ การตรวจให้พบโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะยังไม่มีอาการ ทั้งนี้เพราะโรคมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสรักษาได้หาย

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ คือ การตรวจที่เมื่อพบโรคแล้ว ภายหลังการรักษาผู้ป่วยจะมีอัตรารอดจากโรคมะเร็งสูงขึ้น หรือ อัตราเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลดลง

ปัจจุบัน การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ คือ ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก เต้านม และลำไส้ใหญ่

มีวิธีป้องกันโรคมะเร็งไหม?

ปัจจุบัน วิธีป้องกันโรคมะเร็งที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ที่หลีกเลี่ยงได้ ดังกล่าวแล้ว กิน อาหารมีประโยชน์ครบทั้งห้าหมู่ ทุกวัน (ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ให้อ้วน หรือ ผอม เกินไป) ร่วมกับ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งชนิดมีประสิทธิภาพ

จะพบแพทย์ขอตรวจโรคมะเร็งได้อย่างไร?

การเตรียมตัวพบแพทย์เพื่อ ตรวจ และ/หรือ รักษา โรคมะเร็ง ได้แก่

  • เตรียมเอกสารสิทธิต่างๆให้พร้อม
  • เอกสาร/ยา/ผลตรวจต่างๆ/เอกซเรย์ เมื่อเคยรักษาโรคต่างๆมาก่อน รวมทั้งใบส่งตัวจากต้นสังกัด หรือ จากแพทย์ต้นสังกัด (เมื่อเป็นการส่งตัวรักษาต่อ)
  • ใส่เสื้อผ้า รองเท้า ที่สวมสบาย เปลี่ยน ถอดง่าย เพราะในการตรวจอาจต้องมีการเปลี่ยนเสื้อผ้า รองเท้า
  • สมุดจดบันทึก เพื่อจดบันทึกสิ่งที่แพทย์แนะนำ หรือ ต้องการเพิ่มเติม รวมทั้งจดบันทึกคำถามต่างๆที่ต้องการถามแพทย์
  • ญาติสายตรง อย่างน้อย 1 คน (สามี ภรรยา บิดา มารดา หรือ บุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว) กรณีพบแพทย์เพื่อการรักษา ทั้งนี้เพื่อร่วมปรึกษา รับฟัง และเซ็นยินยอมรักษา
  • งดอาหาร และน้ำดื่ม อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เผื่ออาจมีการตรวจเลือดเพิ่มเติม

 

อัพเดทล่าสุด