ข้อเสื่อม เข่าเสื่อม (Osteoarthritis)


883 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ข้อ  ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก  ระบบกระดูกและข้อ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ปวดข้อ 

ทั่วไป

ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นโรคข้อเรื้อรังที่พบมากที่สุด พบบ่อยที่ข้อเข่า ข้อมือและข้อสะโพก พบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เพศหญิงพบมากกว่าเพศชาย การเสื่อมของข้อจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ การดำเนินโรคใช้ระยะ เวลานานหลายปีกว่าจะเริ่มแสดงอาการปวด

โรคข้อเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ข้อเสื่อม เกิดจากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี และทางชีวกลศาสตร์ภายในข้อและภายในร่างกาย ทำให้ไม่สามารถซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อได้ทันกับการถูกทำลาย เนื่องจากกระดูกอ่อนผิวข้อมีเลือดมาเลี้ยงน้อยเซลล์กระดูกอ่อนได้รับสารอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถสังเคราะห์สารต่างๆที่จำเป็นในการซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อได้ ส่งผลให้ข้อที่เสื่อมไม่สามารถรับน้ำหนักที่เกิดจากการทำกิจวัตรประจำวันได้

กระดูกอ่อนผิวข้อ นอกจากมีเลือดมาเลี้ยงน้อยแล้ว ยังไม่มีเซลล์ ประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดอยู่ด้วย ผู้ที่มีข้อเสื่อมในระยะแรกจึงไม่เกิดอาการปวด จนกว่าข้อที่เสื่อมจะเกิดกระบวนการในการอักเสบ มีหลอดเลือดและเส้น ประสาทงอกเข้าไป หรือผิวข้อสึกรุนแรงมากจนถึงเนื้อกระดูกใต้กระดูกอ่อนผิวข้อ ผู้ป่วยจึงจะเกิดอาการปวด

อะไรคือปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเสื่อม?

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดข้อ (เข่า สะโพก มือ) เสื่อมหรือทำให้โรคลุกลามมากขึ้นได้แก่

โรคข้อเสื่อมมีอาการอย่างไร?

ผู้ที่มีข้อเสื่อม อาจมีอาการต่อไปนี้ คือ

  • อาการปวดข้อ เป็นอาการหลัก โดยจะมีอาการปวดเป็นๆหายๆ ยกเว้นช่วงที่ข้ออยู่ในระยะอักเสบจะมีอาการปวดข้อตลอดเวลา อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นขณะนั่งยองๆ คุกเข่า ขัดสมาธิ พับเพียบเป็นเวลานาน เมื่อลุกขึ้นจะเกิดอาการปวดข้อมาก
  • อาจได้ยินเสียงลั่นในข้อ
  • ข้อติดขยับข้อได้ยาก โดยเฉพาะในช่วงเช้าหลังตื่นนอน แต่เมื่อขยับข้อนั้นๆสักพักก็สามารถขยับข้อได้เป็นปกติ
  • ข้อบวมขึ้น เนื่องจากมีน้ำเลี้ยงข้อเพิ่มขึ้นในระยะที่ข้ออักเสบ
  • ถ้าข้อเสื่อมรุนแรง อาจได้ยินเสียงกรอบแกรบในข้อเวลาที่มีการเคลื่อน ไหวข้อนั้นๆ
  • ข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง เนื่องจากกระดูกอ่อนผิวข้อหลุดออกมาเป็นชิ้นเข้าไปแทรกระหว่างข้อ

มีวิธีดูแลโรคข้อเสื่อมเบื้องต้นอย่างไร?

การดูแลรักษาเบื้องต้นของโรคข้อเสื่อมที่สำคัญ ได้แก่

เมื่อใดควรไปพบแพทย์?

ควรไปพบแพทย์ ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้

  • ข้อบวมมาก
  • ข้อติด เนื่องจากกระดูกอ่อนผิวข้อหลุดออกมาเป็นชิ้นเข้าไปแทรกระหว่างข้อ
  • อาการปวดข้อไม่บรรเทา หรือรุนแรงมากขึ้น
  • ข้อผิดรูป เช่น เข่าโก่ง

แพทย์วินิจฉัยโรคข้อเสื่อมอย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคข้อเสื่อมโดยอาศัยสิ่งต่อไปนี้ คือ

  • ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยได้แก่ อายุ เพศ รูปร่าง ประวัติอาการของผู้ ป่วยก็สามารถวินิจฉัยได้เป็นส่วนใหญ่
  • ตรวจร่างกาย ได้ยินเสียงลั่นในข้อ หรือพบเข่าโก่งร่วมด้วยก็ทำให้การวินิจฉัยง่ายขึ้น
  • ภาพเอกซเรย์ โดยทั่วไปไม่มีความจำเป็นในการวินิจฉัย เนื่องจากไม่มีความสัมพันธ์กับอาการปวด ภาพเอกซเรย์มีประโยชน์ช่วยบอกว่าข้อถูกทำลายมากน้อยเพียงใด เข่าโก่งผิดรูปมากน้อยเพียงใด และเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรค
  • การตรวจเลือดและการตรวจอื่นๆ เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เอกซเรย์สนามแม่เหล็ก (เอ็มอาร์ไอMRI) และอัลตราซาวด์ข้อ ไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรค มีความจำเป็นเฉพาะเมื่อแพทย์ไม่แน่ใจในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอื่นหรือไม่เท่านั้น

แพทย์มีวิธีรักษาโรคข้อเสื่อมอย่างไร? ค่ารักษาแพงหรือไม่?

การรักษาโรคข้อเสื่อม แบ่งเป็น 3 วิธี ขึ้นกับระดับอาการและความรุนแรงของโรค ได้แก่

  1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา ประกอบด้วย
    1. การให้คำแนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับโรค ปัจจัยเสี่ยง และหลีก เลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้น
    2. การออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
    3. ลดน้ำหนักตัว
    4. การใช้เครื่องช่วยเดินในการเดิน เช่นไม้ค้ำยัน/ไม้เท้า
    5. การประคบร้อนในช่วง 48 ชั่วโมงแรกหลังมีอาการปวด และประคบเย็นหลังเกิดอาการ 48 ชั่วโมง เป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายและราคาถูก ผู้ป่วยสามารถทำได้เอง
    6. การรักษาด้วย คลื่นอัลตราซาวด์ การกระตุ้นไฟฟ้าผ่านผิว หนัง เลเซอร์ และ/หรือ ฝังเข็ม มีประสิทธิผลน้อยและค่าใช้จ่ายสูง
  2. การรักษาด้วยยา
    1. ยาแก้ปวด พาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นตัวเลือกอัน ดับแรก เพราะมีประสิทธิผลใกล้เคียงยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตอรอยด์ แต่มีความปลอดภัยและราคาถูก
    2. ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ เมื่อใช้พาราเซตามอลไม่ได้ผล ข้อห้ามใช้ คือ ผู้ป่วยมีโรคความดันโลหิตสูง หรือ โรคหัวใจ โรคตับ เช่น โรคตับแข็ง โรคไต เช่น โรคไตเรื้อรัง ซึ่งเป็นข้อห้ามใช้
    3. กลุ่มยาออกฤทธิ์ช้าเพื่อชะลอความเสื่อม มีหลายชนิด เช่น กลูโคซามีน ซัลเฟต (Glucosamine sulphate) คอนดรอยติน ซัลเฟต (Chondroitin sulphate), ไฮยาลูโรนิค แอซิด (Hyalu ronic acid) และไดอะเซอรีน (Diacerein) ยาในกลุ่มนี้ช่วยลดปวดได้บ้าง และทำให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมได้มากขึ้น แต่ยามีราคาสูง
    4. การฉีดยาเข้าข้อเข่า ได้แก่ การฉีดยาสเตอรอยด์เพื่อลดการอักเสบระยะเฉียบพลัน หรือการฉีดไฮยาลูโรนิค แอซิด ซึ่งมีหลายชนิด ต้องทำการฉีด 3-5 ครั้ง ขึ้นกับชนิดของยา ยากลุ่มนี้มี ประสิทธิผลปานกลาง แต่มีราคาสูงมาก
    5. ยาอื่นๆ เช่น แคลซิโตนิน (Calcitonin) และ ไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide) เป็นยาที่อยู่ในระหว่างการศึกษาประสิทธิผลเท่านั้น
  3. การผ่าตัด
    1. การผ่าตัดเพื่อล้างข้อ ไม่มีประโยชน์ และไม่แนะนำ
    2. การผ่าตัดแก้ไขแนวกระดูก มีข้อบ่งชี้ในกรณีข้อเสื่อมปานกลาง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด
    3. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม มีข้อบ่งชี้ในกรณีข้อเสื่อมรุนแรง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ข้อเสื่อมรุนแรง หรือมีการผิดรูปของข้อมาก เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิผลมาก แต่ยังมีราคาสูง

ป้องกันไม่ให้เกิดอาการจากโรคข้อเสื่อมได้อย่างไร?

ป้องกันเกิดอาการปวดข้อจากโรคข้อเสื่อมโดยหลีกเลี่ยง หรือลดปัจจัยเสี่ยง เช่น กิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด เช่น การนั่งยอง คุกเข่า ขัดสมาธิ พับเพียบ งดเว้นกิจกรรม หรือเล่นกีฬาที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อข้อมากๆ

ป้องกันโรคข้อเสื่อมได้อย่างไร?

โรคข้อเสื่อมส่วนใหญ่ เป็นโรคเกิดตามอายุ จึงเป็นโรคที่ป้องกันไม่ได้ แต่อาจช่วยชะลอการเกิด และ/หรือ ลดความรุนแรงของอาการโดย

  • ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้เกิด โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน เพราะจะเพิ่มแรงกด และการรับน้ำหนักของข้อต่างๆ ข้อจึงเสื่อมได้เร็วขึ้น
  • ไม่ใช้งานข้อต่างๆอย่างหักโหม ต่อเนื่อง
  • ออกกำลัง เคลื่อนไหวข้อ และกล้ามเนื้อ (กล้ามเนื้อจะช่วยการทำงานของข้อ) ต่างๆสม่ำเสมอ และ นั่ง นอน เดิน ลุกขึ้น ยกของ ให้ถูกวิธี โดยขอคำปรึกษาวิธีการที่ถูกต้องจาก แพทย์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ พยาบาล และ/หรือ นักกายภาพบำบัด

เนื้อความสรุป

ข้อเสื่อม พบบ่อยที่ ข้อเข่า ข้อมือ และข้อสะโพก พบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เพศหญิงพบมากกว่าเพศชาย สาเหตุข้อเสื่อมเกิดจากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและชีวกลศาสตร์ภายในข้อและร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อได้ทัน ส่งผลให้ข้อที่เสื่อมไม่สามารถรับน้ำหนักที่เกิดจากการทำกิจวัตรประจำวันได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม หรือทำให้โรคลุกลามมากขึ้น ได้แก่ อายุ เพศหญิง กิจกรรมที่ทำให้ข้อรับน้ำหนักมาก โรคอ้วนเคยได้รับบาดเจ็บที่ข้อนั้นๆมาก่อน

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเป็นสำคัญ อาจมีเสียงลั่นในข้อ ข้อติด บวม เคลื่อน ไหวข้อลดลง

การรักษาเบื้องต้นที่สำคัญ ได้แก่ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด เช่น การนั่งยอง คุกเข่า ขัดสมาธิ พับเพียบ งดเว้นกิจกรรม หรือเล่นกีฬาที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อข้อมากๆ กิน ยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)

ควรไปพบแพทย์ ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ ข้อบวมมาก ข้อติด เนื่องจากกระดูกอ่อนผิวข้อหลุดออกมาเป็นชิ้นเข้าไปแทรกระหว่างข้อ อาการปวดไม่บรรเทา หรือรุนแรงมากขึ้น ข้อผิดรูปเช่นเข่าโก่ง

วิธีการรักษาขึ้นกับความรุนแรงของโรค ประกอบด้วยการรักษาที่ไม่ใช้ยา การรักษาด้วยยากิน หรือยาฉีด และการผ่าตัด
ที่มา   https://haamor.com/th/ข้อเสื่อม/

อัพเดทล่าสุด