บทนำ
โรคไอกรน (Pertussis) คือโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน (จมูก คอ และท่อลม)ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย คำว่า Pertussis แปลว่า การไอที่รุนแรง เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีอาการไอเป็นอาการหลัก และมีเสียงไอที่เป็นเอกลักษณ์ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อในภาษา อังกฤษทั่วไปว่า Whooping cough หรือไอกรน (ไอมีเสียงที่เกิดจากการหายใจลำบากตามหลังอาการไอ) ในภาษาไทยนั่นเอง ส่วนในภาษาจีนเรียกโรคนี้ว่า โรคไอ 100 วัน โรคนี้มียาปฏิชีวนะสำหรับรักษา และมีวัคซีนสำหรับป้องกันโรค
โรคไอกรนมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง?
โรคไอกรนเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Bordettella ซึ่งมีอยู่ 6 สายพันธุ์ (Species) บางสายพันธุ์ทำให้เกิดโรคเฉพาะในคน บางสายพันธุ์ทำให้เกิดโรคเฉพาะสัตว์
โรคนี้ติดต่อกันได้ง่ายมาก โอกาสคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคจะติดเชื้อจากผู้ป่วยที่อยู่ในบ้านเดียวกัน มีถึง 80-100% และถึงแม้ว่าจะมีภูมิคุ้มกันต้านทานแล้ว ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ถึง 20% โดยเชื้อโรคจะกระจายอยู่ในละอองของ เสมหะ น้ำมูกน้ำลาย ของผู้ป่วย และจะติดต่อไปสู่ผู้อื่นต่อไป เมื่อผู้นั้นสัมผัสละอองเชื้อโรคเหล่านี้เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า การติดต่อทางละอองหายใจ (Respiratory droplets transmission)
ผู้ป่วยโรคไอกรนพบได้ทั่วโลก แม้ว่าในปัจจุบันจะมีวัคซีนป้องกันแล้วก็ตาม ก็ยังพบมีการระบาดเกิดขึ้น ทุกๆ 3-5 ปี แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อนที่จะมีวัคซีน อัตราผู้ป่วยได้ลดลงไปมากกว่า 90% โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว
พบไอกรนได้ในผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ ในประเทศที่การให้วัคซีนไม่ครอบคลุมทั่วถึง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กก่อนวัยเรียน ส่วนในประเทศที่การให้วัคซีนเป็นไปอย่างทั่วถึง พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กทารกวัยน้อยกว่า 1 ปี (ทั้งนี้เพราะยังได้วัคซีนไม่ครบตามโปรแกรม) และมีแนวโน้มว่าจะพบมากขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน อาจเพราะลืม หรือ ขาดการฉีดวัคซีนกระตุ้น เมื่ออายุ 11-12 ปี หรือ ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นเมื่อสัมผัสกับผู้ป่วยไอกรน
โรคไอกรนเกิดได้อย่างไร?
เชื้อ Bordettella เมื่อเข้าสู่ทางเดินหายใจแล้ว จะไปเกาะกับเซลล์เยื่อบุ หรือ เยื่อเมือกของเนื้อเยื่อหลังโพรงจมูก แบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้น และผลิตสารพิษหลายชนิดออกมาซึ่งจะส่ง ผลต่อการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ เช่น Pertussis toxin, Tracheal toxin, Dermato necrotic toxin , Adenylatecyclase toxin ซึ่งทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา ซึ่ง ประมาณ 10% ของทารก เชื้ออาจเข้าสู่ปอดตามทางเดินหายใจและทำให้เกิดปอดบวม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ ทั้งนี้ เชื้อโรคไอกรนเองมักไม่แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด (โลหิต) จึงมักไม่ก่ออาการกับอวัยวะอื่น นอกจากในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
โรคไอกรนมีอาการอย่างไร?
ระยะฟักตัวของโรคไอกรน คือตั้งแต่ติดเชื้อจนกระทั่งแสดงอาการคือ 7-10 วัน อาการจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
- ระยะไอ
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่จะมีอาการอาเจียนหลังจากที่มีการไอติดต่อกัน และอาจมีเสมหะปนออกมา ในช่วงที่ไอติดๆกันนั้น บางคนอาจมีหลอดเลือดดำที่คอโป่งพองจนมองเห็นได้ ตาถลน และตัวเขียว ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่มีไข้แล้ว ผู้ป่วยอาจมีน้ำหนักลดลง เนื่องจากการไอรบกวนการกินอาหาร ในช่วงกลางคืน อาการไอจะเกิดขึ้นถี่กว่าเวลากลางวัน และทำให้รบกวนการนอนหลับได้ ผู้ป่วยจึงมักเกิดอาการอ่อนเพลีย ระยะนี้จะกินเวลาอยู่ประมาณ 2-4 สัปดาห์ โดยความถี่ของช่วงที่มีอาการไอและความรุนแรงจะค่อยๆทยอยลดลงช้าๆ
หรือระยะอาการกำเริบ (Paroxysmal phase) เป็นระยะที่อาการไอจะเด่น ชัดและมีเสียงลักษณะจำเพาะ การไอจะเกิดขึ้นเป็นพักๆ โดยในครั้งหนึ่งจะไอติดต่อกันประมาณ 5-10 ครั้ง หยุดไป แล้วเริ่มไอใหม่ เป็นเช่นนี้ซ้ำๆ โดยอาจเกิดขึ้นเพียง 5-10 ครั้งต่อวัน หรือเกิดขึ้นหลายสิบครั้งในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง ทั้งนี้ ในช่วงเวลาที่ไอติดต่อกันนั้น เมื่อการไอสิ้นสุดแล้ว จะมีการหายใจเข้าอย่างรวดเร็วหนึ่งครั้ง ซึ่งลมหายใจนี้จะไปกระทบกับฝากล่องเสียงที่ปิดอยู่ ทำให้มีเสียงดังที่มีลักษณะจำเพาะ คือเสียงดังวู๊ป หรือวู้และเป็นที่มาของชื่อโรคนี้คือ Whooping cough หรือไอกรนนั่นเอง แต่บางครั้งมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่อาจไม่มีเสียงดังนี้เวลาไอ
- ระยะฟื้นตัว หรือ ระยะพักฟื้น (Convalescent phase) ระยะนี้กินเวลาตั้งแต่ 1 ถึง 3 เดือน เป็นระยะที่อาการไอจะค่อยๆลดลงจนหายไปในที่สุด
แพทย์วินิจฉัยโรคไอกรนได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยโรคไอกรนได้จากประวัติการสัมผัสโรค และ ลักษณะการไอเป็นสำคัญ ซึ่งอาการที่บ่งชัดว่าเป็นไอกรน คือไอติดต่อกันนานมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ร่วมกับ
- อาการไอที่เกิดขึ้นติดกันเป็นชุดๆ
- และ/หรือ ในช่วงสุดท้ายของการไอมีเสียงดังวู๊ปหรือวู้
- และ/หรือ มีอาเจียนหลังไอ
- และ/หรือ อาการไอเกิดขึ้นในช่วงที่มีการระบาดของโรคไอกรน
ในกรณีอื่นๆ นอกจากนี้ จำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ได้แก่
- การเพาะเชื้อ เป็นวิธีที่ถือเป็นมาตรฐาน ทำโดยการนำสารคัดหลั่งจากโพรงหลังจมูกมาเพาะเชื้อ ซึ่งสามารถตรวจได้จนถึงประมาณ 3 สัปดาห์นับตั้งแต่มีอาการ หลังจากนั้น โอกาสที่จะเพาะพบเชื้อจะน้อยลง
- การตรวจหาสารพันธุกรรม (ดีเอนเอ, DNA) ของเชื้อไอกรนจากสารคัดหลั่งจาก โพรงหลังจมูก ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า พีซีอาร์ (PCR, Polymerase chain reaction) แม้จะได้ผลที่รวดเร็วกว่าและแม่นยำกว่าการเพาะเชื้อ แต่ยังไม่ถือเป็นวิธีมาตรฐาน เพราะยังมีความไม่แน่ นอนของความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่ตรวจได้กับอาการป่วย
- การตรวจหาแอนติบอดี (Immunoglobulin A หรือ Immunoglobulin G) ที่จำ เพาะต่อโรคไอกรน ในกรณีที่อาการเป็นนานมากกว่า 4 สัปดาห์แล้ว จะเลือกใช้วิธีนี้แทนการเพาะเชื้อ โดยจะเจาะเลือดตรวจ 2 ครั้ง ถ้ามีการติดเชื้อไอกรน จะมีค่าแตกต่างกันมากกว่า 2 เท่าขึ้นไป แต่ทั้งนี้ ในการเจาะเลือดครั้งแรกต้องไม่ใช่ช่วง ระยะฟื้นตัวหรือ ระยะพักฟื้น ของการป่วย
โรคไอกรนรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไร?
โดยส่วนใหญ่โรคไอกรน จะหายได้เป็นปกติ มีเพียงส่วนน้อยที่อาจเกิดผลข้างเคียง (ผล หรือ ภาวะแทรกซ้อน) จากการไอมากๆ เกิดขึ้นได้ เช่น เลือดกำเดาไหล มีเลือดออกที่เยื่อบุตา มีจุดเลือดออกตามผิวหนังบนใบหน้า วูบเป็นลม ปัสสาวะเล็ด ไส้เลื่อน กระดูกซี่โครงหัก (จากการไออย่างรุนแรง จึงเกิดแรงดันต่อกระดูกซี่โครง) และเกิดภาวะปอดบวมจากติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้แทรกซ้อนในปอด ในเด็กเล็กและในผู้ใหญ่ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดปอดบวมได้มากกว่า
สำหรับเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน โรคมักรุนแรง มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นในอัตราที่สูงกว่าและรุนแรงกว่า และมีโอกาสเสียชีวิตได้ประมาณ 1% ภาวะแทรกซ้อน ได้แก่
- ภาวะปอดบวมติดเชื้อจากเชื้อโรคไอกรนเองโดยตรง พบได้ถึง 20% ของเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้
- การไอที่รุนแรงและต่อเนื่อง ทำให้เด็กทารกหายใจได้ไม่เต็มที่ ร่างกายจะขาดออกซิเจน ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการชัก มีจุดเลือดออกในสมอง เกิดภาวะหยุดหายใจ และส่งผลต่อระบบการใช้พลังงานของร่างกาย (เมตาบอลิซึม, Metabolism) ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
รักษาโรคไอกรนอย่างไร?
การรักษาหลักในโรคไอกรน คือ การให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ
- ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง จะรักษาแบบผู้ป่วยนอก และให้ยาปฏิชีวนะเป็น แบบรับประทาน สำหรับยาแก้ไอ ไม่ได้ช่วยในการรักษาหรือบรรเทาอาการไอ จึงอาจไม่จำเป็น ต้องใช้
- สำหรับเด็กทารก และผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จะรับรักษาไว้ในโรงพยาบาล เพื่อดูแลเกี่ยวกับเรื่องระบบหายใจ ไม่ให้ร่างกายขาดออกซิเจน ในบางครั้งอาจต้องใช้เครื่อง ช่วยหายใจ รวมทั้งให้สารน้ำและอาหารให้เพียงพอ และต้องแยกห้องผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
ดูแลตนเองอย่างไร? ป้องกันโรคไอกรนอย่างไร?
การดูแลตนเอง และการป้องกันโรคไอกรน ได้แก่
- โรคนี้มีวัคซีนสำหรับป้องกัน ในเด็กเล็กต้องได้รับการฉีดวัคซีนที่อายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน และ 15-18 เดือน ในรูปของวัคซีนรวม คอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก หลังจากนั้นเมื่ออายุได้ 4-6 ปี ให้ฉีดวัคซีนรวมกระตุ้นอีก 1 ครั้ง
- ในช่วงอายุ 11-12 ปี ปกติเด็กควรจะได้รับวัคซีน บาดทะยัก-คอตีบ กระตุ้น อีก 1 เข็ม แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะนำให้ฉีดวัคซีนรวม คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก แทนการฉีดวัคซีน บาดทะยัก-คอตีบ (แต่สูตรของวัคซีนจะแตกต่างกับที่ใช้ในเด็กเล็ก) ทั้งนี้นอก จากจะทำให้ลดอัตราผู้ป่วยโรคไอกรนกลุ่มวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ได้แล้ว ยังช่วยลดจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบ 5 ครั้งอีกด้วย ซึ่งในบางประเทศได้กำหนดให้ฉีดแบบนี้แล้ว
- ในกรณีที่ได้รับวัคซีนในวัยเด็กมาครบแล้ว แต่ในช่วงอายุ 11-12 ปี ได้ฉีดแค่วัคซีนรวมเพียง 2 โรค คือ บาดทะยัก-คอตีบ ดังนั้นเมื่อจะต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นโรคบาดทะยัก-คอตีบอีกครั้ง (ปกติคือ ทุก ๆ 10 ปี) ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ฉีดวัคซีนรวม 3 โรค คือ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก แทน 1 ครั้ง ต่อจากนั้นก็ให้ฉีดวัคซีนรวม 2 โรคกระตุ้นทุก 10 ปีต่อไป
ควรพบแพทย์เมื่อไหร่?
ควรแพทย์ เมื่อ
- ผู้ที่อาการชัดเจนว่าเป็นไอกรน คืออาการไอเกิดขึ้นติดกันเป็นชุดๆ ช่วงสุด ท้ายของการไอมีเสียงดัง วู๊ปหรือวู้ หลังไอมีอาเจียนตามมา โดยที่ไม่มีไข้ ให้รีบพบแพทย์ เพื่อรับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมรักษา
- ในกรณีที่อาการไม่ชัดเจนดังกล่าว แต่ไอติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ ขึ้นไป ให้พบแพทย์ เพื่อใช้การตรวจอื่นๆช่วยในการวินิจฉัยต่อไป
- ถ้าในบ้านของผู้ป่วย มีเด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี หรือมีบุคคลที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง ควรปรึกษาพบแพทย์ เกี่ยวกับการให้ยารับประทานป้องกันไม่ให้เป็นโรคในบุคคลเหล่านี้ และผู้ป่วยควรแยก น้ำดื่ม อาหารการกินต่างๆ ของใช้ส่วนตัว และแยกห้องนอน จนกว่าผู้ป่วยจะได้รับยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อไปแล้วมากกว่า 5 วัน
ที่มา https://haamor.com/th/ไอกรน/