บทนำ
สิว (Acne) เป็นปัญหาโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยมาก ประชากรเก้าในสิบคนเคยมีปัญหาสิวอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต ในประเทศไทยเอง มีการศึกษาที่สำรวจความชุกของสิวในนักศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลพบว่า 64.7% ของกลุ่มตัวอย่าง มีปัญหาสิวในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ปัญหาสิวไม่ได้ส่งผลให้เกิดแผลเป็นที่ผิวหนังเท่านั้น พบว่าในหลายครั้ง ปัญหาสิวได้ก่อให้เกิดแผลเป็นในจิตใจ ทำให้ขาดความมั่นใจในตัวเอง ซึมเศร้า แยกตัวจากสังคม รวมไปถึงการเลือกปฏิบัติจากสังคม และโอกาสในหน้าที่การงานอีกด้วย
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดสิวมีอะไรบ้าง?
สิวเป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน โดยปัจจัยที่พบได้บ่อยมีดังนี้
- พันธุกรรม พบว่าถ้าบิดาหรือมารดาเป็นสิวรุนแรง โอกาสที่บุตรจะเป็นสิวขั้นรุนแรงมีถึงหนึ่งในสี่
- ฮอร์โมน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮอร์โมนเพศชาย และฮอร์โมน Dehydroepian drosterone-Sulfate (DHEA-S) จากต่อมหมวกไต ซึ่งนอกจากระดับของฮอร์โมนเหล่านี้ที่สูงขึ้นในช่วงวัยรุ่นแล้ว พบว่าบางครั้งยังเกิดจากความไวต่อการตอบสนองของตัวรับสัญญาณฮอร์โมนที่ผิวหนังอีกด้วย
- การขับของซีบัม (Sebum) หรือ ไขมันที่มากเกินไป ร่วมกับการอุดตันของเซลล์ผิวหนังชั้นบนสุด และการอักเสบที่สัมพันธ์กับเชื้อแบคทีเรียชนิด Pro pionibacterium acnes (P.Acnes)
สิวมีกี่ประเภท? มีความรุนแรงอย่างไร?
- ประเภทของสิว ลักษณะร่องรอยสิวที่พบได้บ่อย แบ่งเป็นสี่ประเภท คือ
- ความรุนแรงของสิว อาจแบ่งได้เป็น 4 ระดับ หรือ 4 เกรด (Grade) จากรุน แรงน้อยไปหามาก คือ
รักษาสิวอย่างไร?
สิวเป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง ที่ไม่มีสูตรตายตัวในการรักษา วิธีรักษาสิวในปัจจุบัน อาจแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆคือ กลุ่มยาอนุพันธ์ของวิตามินเอ กลุ่มยาปฏิชีวนะ กลุ่มยาฮอร์โมน การใช้เลเซอร์/แสง การผลัดเซลล์ผิวด้วยกรดผลไม้ และการกดสิว การเลือกวิธีรักษา ต้องคำนึงถึงประเภทของสิว ความรุนแรง และความเหมาะสมต่อผิวของแต่ละคน รวมถึงปัจจัยอื่นๆของผู้เป็นสิวร่วมด้วย
- กลุ่มยาอนุพันธ์ของวิตามินเอ แบ่งได้เป็น
- ยาทากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาทากลุ่มเรตินอยด์ (Retinoid) เป็นยาหลักที่สำคัญที่สุดสำหรับการรักษาสิวในปัจจุบัน โดยช่วยลดการขับซีบัมส่วนเกิน ลดการอุดตัน และยังมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบของสิวด้วย ข้อเสียของยาในกลุ่มนี้คือ ทำให้เกิดการระคายเคือง ผิวแดง หรือลอกเป็นขุยได้บ่อย ซึ่งอาจป้องกันโดยทายาในปริมาณน้อยๆ เริ่มจากทายาเพียงคืนเว้นคืนก่อน
- ยารับประทาน Isotretinoin เป็นยารับประทานในกลุ่มอนุพันธ์ของวิตามินเอ ออกฤทธิ์ในลักษณะเดียวกับยาทา แต่ยับยั้งการขับของซีบัม และยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย P.Acnes ได้ดีกว่า แต่เนื่องจากมีผลข้างเคียงหลายประการ จึงเหมาะกับผู้ที่มีสิวขั้นรุนแรงเท่านั้น ผลข้างเคียงรุนแรงที่ควรทราบคือ ทำให้เด็กในครรภ์พิการแต่กำเนิดได้หากรับประทานในขณะตั้งครรภ์ เอนไซม์ตับสูงขึ้น ซึมเศร้า ไขมันในเลือดสูงขึ้น และผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยเช่น ปากแห้ง ตาแห้ง เลือดกำเดาไหล เป็นต้น
- กลุ่มยาปฏิชีวนะ แบ่งเป็น
- ยาปฏิชีวนะ แบบทา ช่วยลดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย P.Acnes ที่ผิว หนัง ส่งผลให้เกิดสิวอักเสบลดลง โดยยาที่ใช้กันมากคือ ยา Erythromycin, Clindamycin, และ sotretinoinในปัจจุบันมีการใช้ยาผสมระหว่าง Benzoyl per oxide และ Erythromycin หรือ Clindamycin พบว่าช่วยลดอัตรา เชื้อดื้อยา และได้ผลการรักษาที่ดีขึ้น ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในยากลุ่มนี้คือ การระคายเคืองที่ผิวหนัง
- ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน ได้ผลเช่นเดียวกับแบบทา แต่มักเห็นผลได้เร็วกว่า แต่มีข้อเสียคือ ทำให้เกิดการดื้อยา หรือ เชื้อดื้อยาได้มากกว่า และมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้มากกว่าซึ่งขึ้นกับแต่ละชนิดของยาปฏิชีวนะนั้นๆ ยาปฏิชีวนะที่ถูกนำมาใช้รักษาสิวอักเสบกันมากคือ Doxycycline, Erythromycin, Minocycline, และTetracycline
- กลุ่มยาฮอร์โมน ได้แก่
- ยาคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดที่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย (Anti-an drogen) ถูกนำมาใช้ในการรักษาสิวที่เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนได้ผลดีในบางราย แต่อาจมีผลข้างเคียงจากฤทธิ์ของฮอร์โมน เช่น น้ำหนักขึ้น ปวดศีรษะ บวมน้ำ และห้ามรับประทานในผู้ที่มีประวัติโรคเลือดแข็งตัวง่าย โรคหลอดเลือดหัวใจ โรค มะเร็งเต้านม และโรคตับ
- ยากลุ่ม Spironolactone เป็นยาขับปัสสาวะที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง แต่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย หรือ Anti-androgen ด้วย จึงถูกนำมาใช้รักษาสิวที่เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน โดยใช้ในปริมาณยาที่ต่ำกว่าการรักษาความดันโลหิตสูง ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตต่ำ ผู้สูงอายุ ผล ข้างเคียงจากยาคือ ปัสสาวะบ่อย และอาจมีการเสียสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายได้
- การใช้เลเซอร์/แสง
การใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ หรือแสงต่างๆเพื่อรักษาสิว เริ่มขึ้นเมื่อมีการค้นพบว่า เชื้อแบคทีเรีย P.Acnes มีการสังเคราะห์เม็ดสีที่เรียกว่า พอร์ไฟรินส์ (Porphyrins) ซึ่งแสงในบางช่วงคลื่นจะถูกดูดซึมโดยพอร์ไฟรินส์ได้มาก ส่งผลให้เชื้แบคทีเรียตาย เมื่อปริมาณเชื้อแบคทีเรียลดลง จำนวนสิวอักเสบก็ลดลงตามไปด้วย และยังพบด้วยว่า เลเซอร์/แสงในบางช่วงความยาวคลื่น ช่วยลดการขับของซีบัมส่วนเกินลง จึงทำให้เกิดสิวอุดตันลดลงอีกด้วย
- การผลัดเซลล์ผิวด้วยกรดผลไม้
กรดผลไม้ หรือ เอเอชเอ (Fruit acid หรือ AHA, Alpha hydroxyl acid) เข้มข้น มีคุณสมบัติช่วยผลัดเซลล์ผิวหนังกำพร้าชั้นบน ช่วยลดความหนืดเกาะตัวกันของหนังกำพร้า จึงส่งผลลดการอุดตันของซีบัมได้ดี ในบางการศึกษาพบว่าช่วยลดสิวอักเสบได้ดีเช่นกัน กรดผลไม้ที่ถูกนำมาใช้บ่อยคือ Glycolic acid และ Salicylic acid การรักษาด้วยวิธีนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หากนำ มาใช้เองโดยเทคนิคที่ไม่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อ ดวงตา ผิว หรือแผล เป็นถาวร ได้
- การกดสิว
เป็นวิธีการรักษาที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณจวบจนปัจจุบัน มีทั้งการใช้เครื่องมือกดสิวกดโดยตรงบนหัวสิวที่เปิดแล้ว การเปิดหัวสิวด้วยเข็มแล้วกด รวมถึงการประยุกต์ใช้เลเซอร์เพื่อเปิดสิวที่หัวใหญ่แล้วจึงกดด้วยเครื่องมือกดสิว ซึ่งการกดสิวมีความเสี่ยงต่อการเกิดรอยช้ำ หรือแผลเป็นได้ หากเทคนิคหรือเครื่องมือที่ใช้ไม่เหมาะสม
ดูแลตนเองอย่างไร?
การดูแลตนเอง และการพบแพทย์เมื่อเป็นสิว ได้แก่
- ห้ามแกะ หรือกดสิวด้วยตนเอง เพราะการกดที่ไม่ถูกวิธี และการแกะสิว มักก่อให้เกิดแผลเป็นโดยเฉพาะหลุมสิว
- หลายการศึกษาพบว่า การเลี่ยงอาหารที่มีค่าไกลซีมิกอินเดกซ์ สูง (Glyce mic index คือ ตัวบ่งชี้ว่า อาหารชนิดใด เมื่อกินแล้ว ส่งผลให้มีน้ำตาลกลูโคลสในเลือดสูงทันที) เช่น เค้ก คุกกี้ ขนมหวาน รวมถึงนมวัว อาหารทะเล และอาหารไขมันทรานส์สูง (Trans fat หรือ Trans fatty acid คือไขมันที่มีส่วนผสมของไฮโดรเจน) เช่น เนยเทียม ครีมเทียมบางชนิด ฟาสต์ฟูต อาหารทอด และอาหารสำเร็จรูปบางชนิด ให้ผลไม่ดีกับผู้ที่มีปัญหาสิว
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ระบบฮอร์โมนทำงานไม่สมดุล และมีปริมาณสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบเพิ่ม ขึ้น
- ฝึกผ่อนคลายความเครียด เช่น ด้วยการนั่งสมาธิ หรือ การฝึกการหายใจ (Breathing exercise)
- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าที่ระบุว่า ไม่เป็นตัวก่อสิว “Non-comedo genic” คือไม่ก่อให้เกิดสิวอุดตัน และเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมัน (Oil-based) เป็นส่วนประกอบหลัก
- ล้างหน้าวันละ 2 ครั้งตามปกติ ไม่จำเป็นต้องล้างบ่อยจนเกินไป เพราะสิวไม่ได้เกิดจากความสกปรกอย่างที่เข้าใจกันแต่อย่างใด แต่สำหรับในคนที่หน้ามันมาก อาจล้างเพิ่มระหว่างวันด้วยน้ำเปล่า ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการเสียสมดุลของค่ากรดด่างของผิวหน้า (พีเอช หรือ pH) และเซลล์ชั้นปกป้องผิวแต่อย่างใด
เมื่อใดจึงควรพบแพทย์?
ไม่มีข้อกำหนดชี้ชัดว่าเป็นสิวรุนแรงขั้นใดจึงควรพบแพทย์ แต่โดยทั่วไปแล้ว ถ้าสิวมีการอักเสบ จะมีโอกาสเกิดรอยแผลเป็นหลุมสิวถาวรได้ ดังนั้น หากมีสิวอักเสบขึ้นต่อเนื่อง หรือสิวความรุนแรงตั้งแต่เกรดสองเป็นต้นไป ควรที่จะปรึกษาแพทย์ เพื่อขอรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัว หาสาเหตุ และรักษาด้วยยาตามที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นถาวรต่อไป
ป้องกันสิวได้อย่างไร?
เมื่อดูจากปัจจัยเสี่ยง การป้องกันสิวเต็มร้อยเป็นไปได้ยาก แต่อาจลดโอกาสเกิดสิวให้น้อยลงได้โดย
- ใช้เครื่องสำอางชนิดมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก (Water- based) และเป็นชนิดที่ไม่ก่อสิว (Non-comedogenic) หลีกเลี่ยงการใช้ชนิดมีน้ำมันเป็นส่วนประกอบหลัก (Oil-based)
- ไม่ควรล้างหน้าเกินวันละ 2 ครั้ง เพราะการล้างหน้าบ่อยๆก่อการระคายเคืองต่อเซลล์ผิวหน้า อาจเป็นปัจจัยให้เกิดสิวได้
- ไม่ใช้เครื่องสำอางรองพื้นที่หนาเกินไป
- ล้างเครื่องสำอางใบหน้าออกให้สะอาดก่อนนอนเสมอ เพราะเป็นสาเหตุก่อการอุดตันของซีบัม
- ไม่แกะสิว หรือ สัมผัสใบหน้าบ่อยๆ เพราะเพิ่มโอกาสผิวติดเชื้อแบคทีเรีย
- ฝึกผ่อนคลายความเครียด ดังกล่าว
- พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยให้ระบบฮอร์โมนของร่างกาย ทำงานได้อย่างมีสมดุล
- เมื่อเคยพบแพทย์เรื่องสิว ควรปฏิบัติต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์
ที่มา https://haamor.com/th/สิว/