วิธีดูแลเด็กชัก (How to care for seizure)


1,072 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

สมอง  ระบบประสาทวิทยา 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ชัก 

บทนำ

เมื่อพูดถึงเรื่องอาการชัก (Seizure หรือ Convulsion) ในเด็กแล้ว โดยทั่วไปจะพบในเด็กที่มีไข้สูงโดยเฉพาะในเด็กเล็ก และอีกส่วนหนึ่งจะพบในเด็กที่มีปัญหาของโรคอื่นๆแล้วจึงมีปัญหาเรื่องชักตามมา เด็กกลุ่มนี้มักเป็นเด็กที่ป่วยเรื้อรัง อาจมีความผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย เช่น เด็กที่มีน้ำในโพรงสมองมาก (Hydrocephalus) แต่สำหรับเด็กเล็กอายุตั้งแต่ 3 เดือนถึงไม่เกิน 6ปี มักจะมีอาการชักจากการมีไข้สูง โดยสาเหตุของไข้มักจะไม่หนีปัญหาจากโรคติดเชื้อ (ยกเว้นติดเชื้อทางสมอง) เช่น โรคหวัดโรคปอดบวม ท้องเสีย และอาการชักจากไข้สูง/ไข้ชัก (Febrile convulsion)

อาการชักจากไข้สูง มักเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกที่เริ่มมีอาการไข้ อาการชักของเด็กจะสัมพันธ์กับการมีอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อุณหภูมิที่พบอาจสูงได้ถึง 39-40 อง ศาเซลเซียส (Celsius) อาการชักจากไข้สูงที่มักเกิดในเด็กเล็กเพราะเด็กเล็กยังมีเซลส์สมองที่พัฒนาไม่เต็มที่ จึงถูกกระตุ้นให้ปล่อยกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติได้ง่ายจากการมีไข้

เด็กแต่ละคนจะมีอาการชักรุนแรงไม่เท่ากัน เชื่อว่า มีเหตุปัจจัยมาจากพันธุกรรม อาการชักจากไข้สูง มักจะไม่รุนแรง และไม่มีผลทำให้สมองพิการ ถ้าได้รับการดูแลที่เหมาะสม แต่ถ้าเด็กเกิดอาการชักบ่อยๆ อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสมองที่กำลังเจริญเติบโต และมีแนวโน้มที่จะเกิดเป็นโรคลมชัก (Epilepsy) ได้สูงกว่าเด็กทั่วไป

ถ้าเด็กอายุเกิน 6 ปีมีไข้แล้วเกิดอาการชัก แสดงว่าอาการชักที่เป็นอยู่ถูกกระตุ้นให้มีอา การโดยไข้ โอกาสที่เด็กคนนี้จะเป็นโรคลมชักในเวลาต่อมา มีได้มากขึ้นเป็นเงาตามตัว อาจเปอร์เซ็นต์มากถึง 90% เลยทีเดียว

ทำอย่างไรถ้าเด็กชัก?

วิธีดูแลเด็กชัก

ถ้าพบเห็นเด็กกำลังชัก สิ่งที่จะต้องทำเป็นอันดับแรกสำหรับ บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือ ครู อาจารย์ ที่รับผิดชอบ หรือ บุคคลทั่วไปคือ ต้องตั้งสติ อย่าตื่นตระหนกตกใจ จนทำอะไรไม่ถูก

ถ้าพบเด็กกำลังชักให้รีบอุ้มเด็กไปอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัย สถานที่ที่ปลอดภัยในที่นี้หมายถึงสถานที่ไม่ได้ใกล้เครื่องจักรกล หรือพัดลม หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ สิ่งของที่จะล้มกระแทกเด็กได้ง่าย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ไม่อยู่ใกล้ของมีคมทุกชนิด ไม่อยู่บนเตียงที่ไม่มีที่กั้น (ถ้าเป็นเด็ดอ่อน) เพราะเด็กอาจดิ้นไปกระแทกเกิดอันตรายบาดเจ็บซ้ำได้อีก สิ่งที่จะต้องปฏิบัติมีดังต่อไปนี้คือ

  • หาผ้าหรือหมอนนิ่มๆ มาวางรอบๆบริเวณที่เด็กชัก เพื่อกันเด็กกระแทกโดนพื้นผิวที่แข็ง ให้เด็กนอนหงาย จับเด็กนอนตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อเปิดทางเดินหายใจ และป้องกันสำลัก
  • คลายเสื้อผ้าบริเวณหน้าอกให้หลวม
  • ห้ามสอดวัตถุใดๆเข้าปากเด็กขณะชัก หรือ พยายามง้างปาก หรือ งัดฟันเด็ก เพราะอาจทำให้ฟันหักไปอุดทางเดินหายใจได้
  • อย่าพยายาม จับ หรือ กอดรัด ยึด ตรึงตัวเด็กไว้ ระหว่างการชัก เพราะอาจทำให้กระ ดูกหักได้
  • ให้สังเกต ลักษณะการชัก คือ ชักขณะหลับหรือตื่น ชักนานกี่นาที ขณะชักมีอาการกระ พริบตา เคี้ยวปาก พูดพึมพำ เกร็งกระตุกอวัยวะส่วนใด รู้สึกตัวหรือไม่ และหลังชักมีอาการอย่างไร เพื่อจะได้สามารถให้ข้อมูลแพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องทราบ เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษาเด็กต่อไป
 

ทำอย่างไรหลังเด็กหยุดชัก?

เมื่อเด็กหยุดชักแล้ว สิ่งแรกที่ควรทำคือ จัดท่าเด็กให้นอนตะแคงรวมทั้งใบหน้า เพื่อป้อง กันการสำลักจากน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ ถ้ามีเสมหะมากควรดูดออกด้วยลูกยางแดง ตรวจ สอบสุขภาพของช่องปาก สำรวจความเสียหายของเยื่อบุภายในช่องปากและลิ้น ถ้าเด็กมีไข้ หลังการชักต้องรีบเช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นทันที พร้อมทั้งให้ยาลดไข้เมื่อเด็กรู้สึก ตัวดีแล้ว เพื่อป้องกันการชักซ้ำ และที่สำคัญที่สุด ควรรีบนำเด็กไปโรงพยาบาลทันที

ยาที่รักษาอาการชักมีอะไรบ้าง?

ยาที่แพทย์ให้เพื่อควบคุมการชักนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็ก เด็กจำเป็นต้องรับ ประทานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เป็นเวลานานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีหลังการชักครั้งสุด ท้าย แม้ว่าเด็กจะไม่มีอาการชักอีกแล้วก็ตาม ห้ามเปลี่ยน หรือ หยุดยาเอง ต้องไปพบแพทย์ที่รักษาตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแพทย์ได้พิจารณาปรับขนาดของยา หรือเปลี่ยนยาตามความเหมาะสม เพราะเมื่อแพทย์จะหยุดยากันชัก จะลดขนาดของยาลงช้าๆ และต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือน

ยาควบคุมการชักที่ใช้บ่อยในเด็กมีมากมายหลายชนิด จะขอกล่าวถึงยาที่เป็นที่นิยมใช้ ดังนี้

 

ทำอย่างไรจึงควบคุมการชักได้?

หัวใจสำคัญที่จะสามารถควบคุมการชักได้ มี 2 ปัจจัย หลัก คือ

  • การรับประทานยากันชักอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ต่อเนื่อง เคร่งครัด
  • และการหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่ส่งเสริมให้เกิดอาการชัก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย หรือ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ดังต่อไปนี้
    • กำหนดตารางรับประทานยาควบคุมการชักอย่างแน่นอน สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก เด็กจำเป็นต้องรับประทานยาต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี หลังมีอาการชักครั้งสุดท้าย หลีกเลี่ยงการใช้ยากันชักร่วมกับยาอื่นๆโดยไม่ปรึกษาแพทย์ หรือหลีกเลี่ยงการหยุดยากันชักกะทันหัน
    • ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งเสริมให้เกิดอาการชัก
      • ให้เด็กพักผ่อนอย่างพอเพียงทุกวัน หลีกเลี่ยงการอดนอน
      • ส่งเสริมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสงบ และเพลิดเพลินแก่จิตใจของเด็ก เช่น การปลูกต้นไม้ การสะสมแสตมป์ การนั่งสมาธิ งานฝีมือต่างๆ หลีกเลี่ยงการชมภาพยนตร์หรือเล่นเกมที่ทำให้เด็กตื่นเต้น ตกใจ กลัว
      • ส่งเสริมการออกกำลังกายที่ไม่หนักมาก ห้ามเล่นกีฬาที่หนักมาก ห้ามเล่นกีฬาที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เช่น การปืนที่สูง การขับขี่ยวดยาน การว่ายน้ำต้องมีผู้ใกล้ชิดอยู่กับเด็กตลอดเวลา
      • ให้เด็กรับประทานอาหารอย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการอดอาหาร
      • ให้เด็กอยู่ในสถานที่ร่มรื่น ไม่มีแสงจ้าเกินไป หรือมีแสงกระพริบของไฟฟ้า เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้
      • เด็กควรได้เข้ารับการศึกษาร่วมกับเด็กปกติ การเรียนของเด็กจะได้ผลดีหรือไม่ ขึ้น อยู่กับการควบคุมการชักโดยทั่วไประดับสติปัญญาของเด็กจะเท่ากับเด็กทั่วๆไป
 

ป้องกันการชักซ้ำอย่างไร?

การป้องกันเด็กชักซ้ำ ควรป้องกันโดยให้เด็กรับประทานยาที่แพทย์ให้มาให้ครบถ้วนตรงเวลา ไม่หยุดยากันชักเอง ทั้งนี้อาจเป็นยาที่ให้รับประทาน หรือเป็นยาที่ใช้เหน็บทางทวารแล้ว แต่แพทย์สั่ง และพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะกระตุ้นให้เกิดการชักดังกล่าวแล้วในหัวข้อ การควบคุมการชัก
ที่มา   https://haamor.com/th/วิธีดูแลเด็กชัก/

อัพเดทล่าสุด