วิธีให้นม และให้ยา เด็กอ่อนโรคหัวใจ (How to feed milk and medicine to congenital heart baby)


1,237 ผู้ชม


บทนำ

คุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตรและต่อมาพบว่า บุตรน้อยของตนเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด (Conge nital heart disease) จะพบว่างานที่ท้าทายความสามารถสำหรับคุณแม่งานหนึ่งคือ การให้นมแก่บุตรน้อยที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด เพราะเด็กอ่อนที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาในการดูดนมอยู่หลายประการ เช่น ใช้เวลาในการดูดนมแต่ละครั้งนาน ดูดนมไม่ได้ เพราะ

  • เหนื่อยเสียก่อน
  • ดูดนมแล้วสำลัก
  • หรือ อาเจียน เป็นต้น

ตามที่เราทราบกันดีแล้วว่า เด็กที่เป็นโรคหัวใจ ส่วนใหญ่จะมีความผิดปกติในโครงสร้างของหัวใจ คือ อาจจะมีรูรั่วตรงผนังกั้นหัวใจ มีรอยตีบที่หลอดเลือดของหัวใจ หรือมีความผิด ปกติของหัวใจหลายชนิดรวมกันก็ได้ ไม่ว่าเด็กจะมีความผิดปกติของหัวใจแบบใด ปัญหาเรื่องการเลี้ยงดู โดยเฉพาะการให้นม และการให้ยา เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโตเหมือนเด็กปกติยัง คงเป็นปัญหาใหญ่ เพราะเด็กโรคหัวใจ ส่วนใหญ่จะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้เด็กมีน้ำ หนักน้อยเมื่อเทียบกับเด็กปกติทั่วไปในวัยเดียวกัน ด้วยเหตุผลคือ เด็กโรคหัวใจมักได้รับสารอา หารได้น้อยจากปัญหา การดูดนมยาก ดูดช้า เหนื่อยเวลาดูดนม หรืออาจมีการดูดซึมสารอาหารไม่ดี จากเนื้อเยื่อลำไส้ขาดออกซิเจน จากโรคหัวใจ และ/หรือจากปัญหาการขาดความรู้ ความเข้าใจของผู้เลี้ยงดูในการให้นมและให้สารอาหารแก่เด็กโรคหัวใจ

นอกจากได้รับสารอาหารน้อยแล้ว เด็กโรคหัวใจยังต้องการใช้พลังงานมากกว่าเด็กปกติ เพราะต้องใช้พลังงานในการสันดาป (การเผาผลาญให้เกิดพลังงาน) เนื้อเยื่อต่างๆมากขึ้น จากการมีภาวะ เหนื่อยง่าย หายใจและหัวใจเต้นเร็วขึ้น จากภาวะของโรคหัวใจแต่กำเนิดดังกล่าว

ทำไมเด็กโรคหัวใจถึงมีภาวะทุพโภชนา?

วิธีให้นมและยาเด็กอ่อนโรคหัวใจ

เด็กที่เป็นโรคหัวใจ มักมีความผิดปกติในโครงสร้างของหัวใจ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่เริ่มสร้างหัวใจตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดานั่นเลยทีเดียว ความผิดปกติของหัวใจที่พบมากที่สุดในเด็กคงหนีไม่พ้น การมีรูรั่วที่ผนังกั้นห้องหัวใจล่าง หรือที่เรียกว่า Ventricular Septal Defect (VSD) ซึ่งปัญหาที่ติดตามเป็นเงาตามตัวของโรคหัวใจชนิดนี้ก็คือ

เหตุผลของการเกิดปัญหาเหล่านี้คือ ร่างกายของเด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในขณะ เดียวกัน ร่างกายยังมีอัตราเผาผลาญพลังงานมากกว่าปกติคือ เด็กโรคหัวใจต้องใช้พลังงานมากกว่าปกติ

ในช่วงที่เด็กมีภาวะหัวใจวาย หรือมีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เด็กจะเบื่ออา หาร ท้องอืด แน่นท้อง ลำไส้จะเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ เด็กบางคนอาจมีคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการหอบเหนื่อย ทำให้เด็กดูดนมหรือรับประทานอาหารได้น้อย เด็กบางคนอาจมีปัญหาของความผิดปกติในการดูดซึมอาหารจากลำไส้ร่วมด้วย ในสภาพที่เด็กมีหายใจเร็ว เหนื่อยหอบ หัว ใจจะเต้นเร็วผิดปกติร่วมด้วย เด็กต้องใช้พลังงานจากร่างกายเพิ่มขึ้น ในขณะที่เด็กสามารถรับสารอาหารได้น้อย จึงทำให้เซลส์อยู่ในภาวะขาดสารอาหารและออกซิเจน เด็กโรคหัวใจจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะมีภาวะทุพโภชนาการตามมา

ทำอย่างไรเด็กโรคหัวใจจึงเจริญเติบโตได้ตามปกติ?

การจะช่วยให้เด็กโรคหัวใจเจริญเติบโตได้ตามปกติ ควรต้องเริ่มต้นตั้งแต่แรกเกิด คือ การให้เด็กได้นม/อาหารอย่างเพียงพอ ดังนั้น แม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กตั้งแต่แรกเกิดจึงต้องรู้จักวิธีให้นมเด็ก เพื่อให้เด็กได้อาหารอย่างเพียงพอ ไม่ขาดสารอาหารตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งจะเป็นจุดเริ่ม ต้นที่ดีของการเจริญเติบโตได้อย่างใกล้เคียงปกติเมื่อเด็กเจริญเติบโตขึ้น

วิธีให้นมเด็กโรคหัวใจควรทำอย่างไร?

การให้นมในเด็กโรคหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นการให้นมแม่หรือให้นมผสม หลังจากคลอด สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการที่จะสามารถให้นมได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของเด็ก คือ ต้องยึดหลัก “ความยืดหยุ่น” ทั้งระยะเวลาในรอบที่ให้นม และวิธีการให้นม

หลักสำคัญของการให้นมแก่เด็กโรคหัวใจ สามารถสรุปข้อสำคัญได้ดังต่อไปนี้

  • ให้เด็กดูดนมบ่อยๆเท่าที่จะทำได้ ไม่ต้องยึดรูปแบบว่าจะต้องให้นมทุก 3 ชั่วโมง หรือทุก 4 ชั่วโมง หลักสำคัญของการให้นมเด็กโรคหัวใจ คือ ให้บ่อยๆ ครั้งละจำนวนน้อยๆ และระ หว่างที่ให้นม ต้องมีการหยุดพักเป็นระยะๆ โดยประเมินจากสภาพของเด็กว่า ไม่มีอาการหอบเหนื่อย กล่าวคือ สังเกตจากลักษณะหายใจว่า เด็กหายใจเร็วกว่าปกติมาก ปีกจมูกบาน เมื่อมีอาการเหล่านี้ ให้เด็กหยุดพักก่อน แล้วให้ดูดใหม่เมื่ออาการเด็กกลับเป็นปกติ แม้ในเวลากลาง คืน จำเป็นต้องกระตุ้นให้ดูดนม จนกระทั่งเด็กสามารถดูดนมได้มากขึ้น โดยปกติจะให้นมทุก 2 ชั่วโมงหรือเร็วกว่านั้น ค่อยๆเพิ่มจำนวนขึ้น ให้เด็กสามารถดูดนมได้มากขึ้นทีละน้อย อาจใช้วิธีผสมผสานระหว่างการให้นมมารดา และการให้ดูดนมผสมจากขวดเพิ่มเติม มารดาหลังคลอดที่พบว่าบุตรเป็นโรคหัวใจและต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล มารดาต้องใช้เครื่องปั๊มนมช่วยให้น้ำนมไหลต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพราะต่อมน้ำนมจะหยุดทำงาน ถ้ามารดาไม่กระตุ้นและบีบน้ำนมออกมา เมื่อได้น้ำนมแล้ว สามารถรักษานมมารดาไว้ได้โดยการแช่ช่องแช่แข็งในตู้เย็น เพื่อนำ มาให้ลูกดื่มขณะอยู่โรงพยาบาล
  • เมื่อให้นมขวด การใช้จุกนมที่นิ่มเป็นพิเศษ โดยหัวนมที่ทำด้วยยางจะนิ่มกว่าหัวนมที่ทำด้วยซิลิโคน เด็กโรคหัวใจจำเป็นต้องใช้จุกนมที่มีรูหัวนมที่ใหญ่พอประมาณ (ประมาณเบอร์ M ของทารก) เพราะถ้าใช้จุกนมขนาดรูเล็กเกินไป เด็กจะดูดยาก ใช้แรงมาก เด็กจะเหนื่อย และจะกลืนอากาศเข้าไปในกระเพาะมาก อาจทำให้เด็กอาเจียน หรือท้องอืดได้ แต่ถ้าให้นมเด็กโดยใช้ขนาดของรูจุกนมที่ใหญ่เกินไป ถ้าเด็กหิวจะรีบดูดแล้วกลืนไม่ทัน เด็กอาจสำลักนมเข้าปอด เป็นอันตรายได้

    คุณแม่และผู้เลี้ยงเด็ก สามารถทดสอบด้วยวิธีง่ายๆว่า ขนาดรูของจุกนมพอดีสำหรับเด็กหรือยัง โดยคว่ำขวดนมลง

    • เขย่าขวดเบาๆ ถ้ามีน้ำนมไหลออกมาจากจุกนม ไหลเป็นสายยาว แสดงว่ารูจุกนมใหญ่เกินไปสำหรับเด็กโรคหัวใจเด็กอาจสำลักได้
    • ถ้าเขย่าขวดนมแล้ว ไม่มีน้ำนมหยดออกมาเลย แสดงว่า ขนาดรูของจุกนมเล็กเกินไป
    • แต่ถ้าเขย่าขวดนมแล้ว มีน้ำนมไหลออกมาเป็นหยดๆ แสดงว่าขนาดของรูขวดนมเหมาะสม คุณแม่หรือผู้เลี้ยงดู สามารถนำไปใช้ให้นมทารกโรคหัวใจได้ โดยไม่ทำให้เด็กสำลักหรือเหนื่อยขณะดูดนม
  • ขณะให้นมเด็กโรคหัวใจ คุณแม่หรือผู้เลี้ยงดู ต้องอุ้มเด็กให้ศีรษะของเด็กอยู่ในท่าหัวสูงเสมอ เพื่อป้องกันการสำลัก และเพื่อสามารถสังเกตได้ดีว่า เด็กมีอาการเหนื่อยหอบมากขึ้น มีริมฝีปากเขียว หรือ มีปีกจมูกบาน หรือไม่ เพราะถ้าเด็กมีอาการเหนื่อยมาก จำเป็นต้องเว้นช่วงการดูดนม มีการพักเป็นช่วงๆระหว่างการดูดนม หมั่นจับเด็กให้อยู่ในท่านั่ง เพื่อให้เด็กได้เรอออกมา สามารถทำได้หลายครั้งระหว่างการดูดนมแต่ละมื้อ และหลังจากดูดนมเสร็จแล้ว ควรจับเด็กให้อยู่ในท่าหัวสูง/ท่านั่งอีกประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสระบายลมจากกระเพาะอาหารได้อีก อย่าจับเด็กให้นอนทันทีหลังจากดูดนมเสร็จ เพราะเด็กอาจสำรอกนมออกมาหรือสำลักนมได้

ข้อสำคัญที่คุณแม่และผู้เลี้ยงดูพึงรับทราบคือ เด็กแต่ละคนจะมีความเฉพาะและแตก ต่างกัน ว่าสามารถดูดนมได้ครั้งละจำนวนเท่าใด คุณแม่และผู้เลี้ยงดูอย่านำบุตรหลานของตนไปเปรียบเทียบกับบุตรหลานของผู้อื่น เป้าหมายสำคัญของการให้นมคือ การทำให้เด็กมีน้ำ หนักตัวเพิ่มขึ้น ถ้าเด็กไม่สามารถดูดนมได้มากพอที่จะทำให้น้ำหนักขึ้น แม้จะพยายามอย่างหนัก สิ่งที่คุณแม่และผู้เลี้ยงดูพึงกระทำคือ ปรึกษากับกุมารแพทย์/หมอเด็ก เพื่อให้นมที่มีแคลอรีสูงกว่านมปกติ หรืออาจต้องใส่สายให้อาหาร (Tube feeding) ซึ่งอาจใส่สายผ่านทางจมูกหรือปากเข้าสู่กระเพาะอาหารและลำไส้ เพื่อช่วยเหลือให้เด็กได้รับสารอาหารเพียงพอต่อความเจริญเติบโตต่อไป

วิธีให้ยาเด็กโรคหัวใจควรทำอย่างไร?

เด็กโรคหัวใจแต่กำเนิดส่วนใหญ่ จำเป็นต้องรับยา Digitalis (Lanoxin, Digoxin) เพื่อควบคุมภาวะหัวใจวาย การใช้ยาตัวนี้ที่ความสำคัญคือ ต้องระมัดระวังในเรื่องขนาดของยา ให้ถูกต้องแม่นยำตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น เพราะขนาดของยาที่ใช้ในการรักษา และขนาดของยาที่จะเกิดผลข้างเคียงของยา อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน กล่าวคือ ถ้ากินยามากเกินไปเพียงเล็กน้อยก็สามารถเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ห้ามปรับขนาดของยาเองอย่างเด็ดขาด ซึ่งข้อปฏิบัติสำหรับให้ยาตัวนี้มีดังต่อไปนี้

  • ควรให้ยา Lanoxin ก่อนมื้อนมประมาณ 1 ชม.(ชั่วโมง) หรือ หลังมื้อนม 2 ชม.เนื่อง จากยาอาจทำให้เด็กคลื่นไส้อาเจียนนมออกมาก่อนยาดูดซึมได้
  • การให้ยา Lanoxin ควรใช้หลอดดูด (Dropper) หรือกระบอกฉีดยาพลาสติกขนาด 1 ซีซี (cc./Cubic centimeter) ดูดยาตามจำนวนที่แพทย์สั่ง ซึ่งในเด็กทารกไม่น่าจะเกิน 1 ซีซี และนำกระบอกฉีดยาที่ดูดยาไว้แล้วใส่เข้าข้างกระพุ้งแก้มเด็กค่อยๆหยดยาช้าๆทีละหยด เพื่อ ให้เด็กสามารถกลืนได้ทันและไม่สำลัก ไม่ผสมยากับนมหรือน้ำ เพราะอาจทำให้เด็กได้รับยาไม่ครบขนาดที่ต้องการ ในเด็กที่มีฟันขึ้นบ้างแล้ว ให้เด็กดูดน้ำตามเล็กน้อยหลังกินยาเสร็จ เพื่อล้างคราบยาที่ค้างในปาก (ยาของเด็กมักมีน้ำตาลผสมอยู่ด้วยเพื่อให้เด็กกินได้ง่าย) ป้องกันฟันผุ เพราะฟันผุอาจเป็นช่องทางให้เด็กโรคหัวใจเกิดการติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ (เยื่อบุหัวใจอักเสบ)ได้ง่ายขึ้น

    ทั้งนี้ การดูดขนาดยา คุณแม่และผู้เลี้ยงเด็ก ควรขอคำแนะนำจากพยาบาลและฝึกปฏิบัติทำให้ถูกต้องแม่นยำ เพราะมีความสำคัญต่อความปลอดภัยของเด็กมาก

  • ยา Lanoxin แพทย์ส่วนใหญ่จะสั่งให้ยาวันละ 2 ครั้ง เช้า และ เย็น ถ้าลืมให้ยานานเกิน 4 ชม ให้งดยามื้อนั้นไม่ต้องให้ยาเด็กแทนมื้อที่ลืม แต่ถ้าคิดขึ้นได้ก่อนผ่านไป 4 ชม. สามารถให้ยาได้ทันที ในกรณีที่ลืมให้ยามากกว่า 2 มื้อ ควรปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์ ห้ามเพิ่มขนาดของยาเป็น 2 เท่าของมื้อที่ลืมโดยเด็ดขาด
  • กรณีให้ยา Lanoxin แล้วเด็กอาเจียนทันที หรืออาเจียนภายใน 15 นาทีหลังให้ยา สามารถให้ยาซ้ำได้ แต่ถ้าเด็กอาเจียนหลังให้ยาแล้วนานเกิน 15 นาที หรือไม่แน่ใจไม่ควรให้ยาซ้ำ
  • ให้เก็บยาไว้ให้พ้นมือเด็ก กรณีเด็กได้รับยาเกินขนาดให้รีบนำเด็กส่งโรงพยาบาลทันที นอกจากนั้น ควรสังเกตอาการข้างเคียง (ผลข้างเคียง) ของยาเสมอเพราะจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ เช่น เด็กกินนมได้น้อยลง มีอาเจียนมากกว่าวันละ 3 ครั้ง และ/หรือเด็กอาจมีชีพจรเต้นช้าลง ซึ่งเมื่อพบอาการเหล่านี้ ต้องรีบนำเด็กไปโรงพยาบาลโดยด่วน

ที่มา   https://haamor.com/th/วิธีให้นมและยาเด็กอ่อนโรคหัวใจ/

อัพเดทล่าสุด