โลหิตจาง (ภาวะซีด)


1,488 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ไขกระดูก  ระบบโลหิตวิทยา 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ซีด 

บทนำ

ซีด (โลหิตจาง) เป็นภาวะ หรือ อาการ ที่พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ และพบได้ใกล้เคียงกันทั้งในเพศหญิง และในเพศชาย โดยเป็นภาวะที่พบได้บ่อยพอควร

ภาวะซีดคืออะไร?

ภาวะซีด คือ ภาวะที่ร่างกาย หรือ เลือด มีเม็ดเลือดแดงต่ำ เม็ดเลือดแดง คือ เม็ดเลือดชนิดหนึ่งสร้างจาก ไขกระดูก เม็ดเลือดแดง ประกอบด้วย สารสำคัญ มีสีแดงที่เรียกว่า ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งประกอบด้วยธาตุ (เกลือแร่) เหล็กและโปรตีน มีหน้าที่สำคัญในการนำออกซิเจนจากปอดหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆทั่วร่างกายเพื่อให้เซลล์นำออกซิเจนเผาผลาญพลังงาน เพื่อการทำงานต่างๆของเซลล์ และนำคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการใช้พลังงานของเซลล์กลับสู่ปอดเพื่อกำจัดออกนอกร่างกาย

ภาวะซีดเกิดจากอะไร?

ภาวะซีดเกิดได้จาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ จากการเสียเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุพบบ่อยที่สุด จากไขกระดูกลดการสร้างเม็ดเลือดและจากเม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ ปกติเม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 120 วัน

    1. สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผล อุบัติเหตุต่างๆ หรือ มีประจำเดือนผิดปกติและจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น มีแผลเรื้อรังในร่างกาย เช่น แผลในกระเพาะอาหาร แผลมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีประจำเดือนผิดปกติ (เป็นได้ทั้งสาเหตุซีดเฉียบพลัน และซีดเรื้อรัง เมื่อไม่ได้รับการรักษา)

    1. สาเหตุจากไขกระดูก ลดการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น

  1. สาเหตุจากเม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ เช่น

ภาวะซีดมีอาการอย่างไร?

ถ้าซีดไม่มาก มักไม่มีอาการ แต่อาจรู้สึกอ่อนเพลียง่ายกวาคนปกติ แต่เมื่อซีดมากขึ้น อาการที่อาจพบได้ เช่น

แพทย์วินิจฉัยภาวะซีดได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยภาวะซีดในเบื้องต้น ได้จาก ประวัติอาการ ประวัติเจ็บป่วยทั้งในอดีต และปัจจุบัน ประวัติใช้ยาต่างๆ ตรวจร่างกายและตรวจเลือด ซีบีซี ดูค่าเม็ดเลือดแดง (ค่า ฮีโมโกลบิน) ต่อจากนั้น จะมีการตรวจต่างๆเพิ่มเติม รวมทั้งอาจมีการเจาะไขกระดูก เพื่อ การตรวจทางเซลล์วิทยา และ/หรือ การตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อยืนยันว่า ซีดจริง และเพื่อหาสาเหตุ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

แพทย์รักษาภาวะซีดได้อย่างไร?

แนวทางการรักษาภาวะซีด คือ การรักษาสาเหตุ และการรักษาประคับ ประคองตาอาการ เช่น รักษาโรคหัวใจ (เมื่อมีโรคหัวใจร่วมด้วย) ให้เลือด และให้เกลือแร่เสริมอาหารเพื่อช่วยการสร้างเม็ดเลือดดังกล่าวแล้ว (อย่าซื้อกินเอง เพราะอาจเกิดอันตรายจากกินเกินขนาดได้)

ภาวะซีดมีผลข้างเคียงไหม?

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากภาวะซีด คือ คุณภาพชีวิตด้อยลง จากเหนื่อยง่าย จากด้านสติปัญญา และจากโรคหัวใจ

ภาวะซีดรุนแรงไหม?

ความรุนแรงของภาวะซีด ขึ้นกับสาเหตุ เช่น ไม่รุนแรงเมื่อเกิดจากขาดอาหาร แต่ความรุนแรงสูง เมื่อเกิดจากโรคมะเร็ง

ควรดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเองเมื่อมีภาวะซีด คือ เมื่อมีอาการดังกล่าว หรือ สงสัย หรือ กังวลว่า มีภาวะซีด ควรพบแพทย์ (พบได้ทั้งแพทย์ทั่วไป และแพทย์เฉพาะทางโรคเลือด)

การดูแลตนเองเมื่อมีภาวะซีด คือ

  • ปฏิบัติตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ ทั้งนี้เพราะดังกล่าวแล้วว่า ภาวะซีดเกิดได้จากหลายสาเหตุ
  • กินยาให้ถูกต้องตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ให้ครบในทุกวัน เพื่อได้สารอาหารช่วยสร้างไขกระดูกครบถ้วน และให้ร่างกายแข็งแรง
  • พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบก่อนนัด เมื่ออาการต่างๆเลวลง หรือ มีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือ เมื่อกังวลในอาการ

ป้องกันภาวะซีดได้อย่างไร?

การป้องกันภาวะซีด ที่สำคัญ คือ

 

อัพเดทล่าสุด