มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)


1,024 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ต่อมน้ำเหลือง  ระบบโลหิตวิทยา 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ต่อมน้ำเหลืองโต 

บทนำ

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) จัดเป็นโรคมะเร็งของระบบโลหิตวิทยา หรือระบบโรคเลือด เป็นมะเร็งที่เกิดกับเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลือง ซึ่งคือต่อมน้ำเหลืองที่กระจายอยู่ทั่วร่างกาย เช่น บริเวณลำคอ รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขน ข้อพับขา ในช่องอก และในช่องท้อง และนอกจากในต่อมน้ำเหลืองแล้ว เซลล์ต่อมน้ำเหลืองยังมีอยู่ทั่วไปในอวัยวะทุกๆอวัยวะทั่วร่างกาย ซึ่งสามารถเกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ทั้งสิ้น เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองของสมอง ของกระเพาะอาหาร ของลำไส้เล็ก ของลำไส้ใหญ่ ของผิวหนัง ของโพรงจมูก และของไซนัส ซึ่งมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั้งของต่อมน้ำเหลืองเอง และของเนื้อเยื่อต่างๆ มีสาเหตุ อาการ วิธีวินิจฉัย ระยะโรค แนวทางการรักษา และความรุนแรงโรคคล้ายคลึงกัน

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีได้หลากหลายชนิดของเซลล์มะเร็ง ซึ่งแต่ละชนิดของเซลล์มะเร็งจะมีความรุนแรงโรคต่างกัน อย่างไรก็ตาม มะเร็งต่อมน้ำ เหลืองแบ่งได้เป็นสองชนิดหลัก คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin’s disease เรียกย่อว่า HD/เอชดี หรือ มีอีกชื่อว่า Hodgkin’s lymphoma เรียกย่อว่า HL/เอชแอล) และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอน-ฮอดจ์กิ้น (Non-Hodgkin’s lympho ma หรือ เรียกย่อว่า NHL/เอ็นเอชแอล)

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นโรคมะเร็งพบบ่อยทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ และพบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิงเล็กน้อย

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดได้อย่างไร?

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแต่ที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงได้ คือ

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีอาการอย่างไร?

ไม่มีอาการเฉพาะของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่เป็นอาการเหมือนโรคทั่วไป ที่พบได้บ่อยในโรคระยะต้นๆ คือมีต่อมน้ำเหลืองตำแหน่งใดก็ได้โต (มักพบที่ลำ คอ) คลำได้ ไม่เจ็บ แต่เมื่อโรคลุกลาม นอกจากต่อมน้ำเหลืองโตแล้ว อาจมีอ่อน เพลียซีด หรือ เมื่อเกิดกับอวัยวะอื่นๆที่ไม่ใช่ต่อมน้ำเหลือง จะมีอาการเหมือนอวัยวะนั้นๆอักเสบ เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน แขน/ขาอ่อนแรง เมื่อเกิดกับสมอง หรือ ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อเรื้อรัง เมื่อเกิดกับกระเพาะอาหาร

นอกจากนั้น ยังมีอาการที่เป็นตัวบอกว่าโรครุนแรง เรียกว่า อาการ บี (B symptoms) ซึ่งทุกอาการเกิดโดยยังไม่รู้สาเหตุแน่ชัด ได้แก่ มีไข้สูงเป็นๆหายๆ เหงื่อออกชุ่มตัวในตอนกลางคืน และน้ำหนักลดมากกว่า 10% ใน 6 เดือน แต่เมื่อไม่มีอาการเหล่านี้ เรียกว่า อาการ เอ (A symptoms) ซึ่งโรครุนแรงน้อยกว่า

แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้จาก อาการ การตรวจร่างกาย และตัดชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลือง หรือ ก้อนเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีกี่ระยะ?

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แบ่งเป็น 4 ระยะ เช่นเดียวกับโรคมะเร็งอื่นๆ แต่ที่แตกต่างคือ จะแบ่งร่างกายเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนอยู่เหนือกระบังลม และส่วนอยู่ใต้กระบังลม ซึ่งระยะของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ได้แก่

ระยะที่ 1: เป็นมะเร็งของต่อมน้ำเหลืองเพียงบริเวณเดียว เช่น บริเวณคอด้านซ้าย หรือ บริเวณรักแร้ด้านขวา บริเวณใดบริเวณหนึ่ง

ระยะที่ 2: เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ 2 บริเวณขึ้นไป เช่น บริเวณคอซ้าย และคอขวา หรือ คอซ้ายกับรักแร้ซ้าย แต่สองบริเวณนี้ต้องอยู่ด้านเดียวกันของกระบังลม เช่น เหนือกระบังลมทั้งหมด หรือ ใต้กระบังลมทั้งหมด

ระยะที่ 3: เป็นมะเร็งของต่อมน้ำเหลืองทั้งในส่วนเหนือ และในส่วนใต้กระบังลม เช่น ของลำคอ ร่วมกับ ของขาหนีบ

ระยะที่ 4:ไขกระดูก หรือ เนื้อเยื่ออวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ และสมอง (สมองเป็นได้ทั้งโรคระยะที่ 1 เมื่อมะเร็งเกิดจากเนื้อเยื่อน้ำเหลืองของสมองเอง หรือเป็นระยะที่ 4 เมื่อโรคเกิดจากต่อมน้ำเหลือง และ/หรือ เนื้อเยื่อ/อวัยวะอื่นๆ แล้วแพร่กระจายสู่สมอง)โรคแพร่กระจายเข้า

อนึ่งอวัยวะที่ไม่ใช่ต้วต่อมน้ำเหลือง จะกำกับด้วย คำว่า อี (E) เช่น เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองกระเพาะอาหารระยะที่ 1E เป็นต้น ที่แตกต่างจากมะเร็งอื่นๆอีกประการ คือ ทุกระยะโรคอาจกำกับด้วย อาการ เอ หรือ อาการ บี เพื่อเป็นตัวบอกความรุนแรงโรคเช่น ระยะ1A หรือ ระยะ1B นอกจากนั้น เมื่อเป็นมะเร็งของ

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองรุนแรงไหม?

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นโรคที่เซลล์มะเร็งตอบสนองได้ดีต่อยาเคมีบำบัดหลากหลายชนิด และต่อรังสีรักษา ดังนั้น จึงจัดเป็นโรคความรุนแรงค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงโรคขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ชนิดเซลล์มะเร็ง (ชนิดฮอดจ์กินรุนแรงน้อยกว่าชนิดนอน-ฮอดจ์กิน) อายุ (เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ โรครุน แรงกว่า) ระยะของโรค และสุขภาพผู้ป่วย

โดยทั่วไปอัตรารอดที่ 5 ปี ของโรคระยะที่ 1 และ 2 ประมาณ 70-80% ระยะที่ 3 ประมาณ 50-70% และระยะที่ 4 ประมาณ 0-50% ขึ้นกับว่าโรคแพร่ กระจายสู่อวัยวะใด ซึ่งถ้ากระจายเข้าไขกระดูก อัตรารอดที่ห้าปี สูงกว่าการแพร่ กระจายสู่อวัยวะอื่นๆ โดยเฉพาะสู่สมอง

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองรักษาอย่างไร?

การรักษาหลักของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง คือ ยาเคมีบำบัด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้แนะนำเองว่า ต้องให้ยาเคมีบำบัดอย่างไร และกี่ครั้ง ทั้งนี้เพราะต้องนำความรุนแรงของโรคซึ่งแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคนเข้ามาประเมินในการรักษาด้วย ส่วนการรักษาวิธีการอื่นๆ เช่น

รังสีรักษา มักใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัดเมื่อโรคมีความรุนแรงสูง หรือเมื่อผู้ป่วยบางรายให้ยาเคมีบำบัดไม่ได้ เช่น จากมีปัญหาโรคไตเรื้อรัง การรักษาจะเป็นรังสีรักษาวิธีการเดียว เพราะยาเคมีบำบัดส่วนตกค้างต้องกำจัดออกทางไต เมื่อไตเสีย จึงมียาเคมีบำบัดคั่งในร่างกายมาก ก่อภาวะติดเชื้อได้รุนแรง จนอัตราเสียชีวิตสูง เกินกว่าจะนำมารักษาผู้ป่วยได้ เป็นต้น

การผ่าตัด มักไม่ใช้การผ่าตัดในโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เพราะโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองรักษาได้ผลดีด้วยยาเคมีบำบัด จึงไม่จำเป็นต้องผ่าตัดอวัยวะที่เกิดโรคมะเร็ง

ยารักษาตรงเป้า มีโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดที่ตอบสนองได้ดีต่อยาเคมีบำบัด ร่วมกับยารักษาตรงเป้า แพทย์มักแนะนำรักษาในโรคที่มีความรุนแรงสูง หรือ โรคย้อนกลับเป็นซ้ำ หรือ โรคดื้อต่อยาเคมีบำบัด อย่างไรก็ตาม ยายังมีราคาแพงมหาศาลจนผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงยาได้ทุกคน

การปลูกถ่ายไขกระดูก ใช้รักษาได้ผลในเซลล์มะเร็งบางชนิดเมื่อมีโรคที่รุนแรง หรือ ดื้อต่อยาเคมีบำบัด หรือ ย้อนกลับเป็นซ้ำ และเช่นเดียวกับยารักษาตรงเป้า ที่ค่าใช้จ่ายในการรักษายังสูงมาก

มีวิธีตรวจคัดกรอง และป้องกันมะเร็งต่อมน้ำเหลืองไหม? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองให้พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระยะเริ่มต้นที่ยังไม่มีอาการ และยังไม่มีวิธีป้องกันโรค ดังนั้น การดูแลตนเองที่ดีที่สุดขณะนี้ คือ การสังเกตตนเอง เมื่อคลำได้ต่อมน้ำเหลืองโต หรือ มีอาการ บี หรือ มีอาการผิด ปกติต่างๆ ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เพื่อการวินิจฉัย และการรักษาแต่เนิ่นๆ
ที่มา   https://haamor.com/th/มะเร็งต่อมน้ำเหลือง/

อัพเดทล่าสุด