ท้องผูก (Constipation)


788 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ทวารหนัก  ลำไส้ใหญ่  ระบบทางเดินอาหาร 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ถ่ายอุจจาระลำบาก 

บทนำ

ท้องผูก (Constipation) เป็นอาการ ไม่ใช่โรค ได้แก่ อาการไม่ถ่ายอุจจาระตามปกติ ซึ่งโดยคำนิยามทางการแพทย์ ท้องผูกหมายถึง ความผิดปกติทั้ง จำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ ซึ่ง ต้องน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ลักษณะของอุจจาระต้องแห้ง แข็ง การขับถ่ายต้องใช้แรงเบ่ง หรือใช้มือช่วยล้วง และภายหลังอุจจาระแล้วยังมีความรู้สึกว่า อุจจาระไม่สุด

ท้องผูก เป็นอาการพบบ่อยมาก ประมาณ 15% ของประชากรทั้งโลก พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ แต่พบได้บ่อยกว่าในเด็ก (จากกล้ามเนื้อเพื่อการขับถ่ายในเด็กยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่) และในผู้สูงอายุ (จากกล้ามเนื้อเพื่อการขับถ่ายเสื่อมตามอายุ รวมทั้งผู้สูงอายุยังขาดการเคลื่อนไหว และมักมีโรคประจำตัวที่ส่งผลถึงการทำงานของกล้ามเนื้อเพื่อการขับถ่าย) และผู้หญิงพบได้บ่อยกว่าผู้ชาย ซึ่งอาจเป็นผลจากฮอร์โมนเพศที่แตกต่างกัน

ท้องผูกเกิดได้อย่างไร?

ท้องผูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อย คือ

  • เกิดจากลำไส้เคลื่อนตัวช้ากว่าปกติ หรือ บีบตัวลดลง ทั้งนี้เพราะ ขาดตัว กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ จากมีลำอุจจาระเล็ก เช่น จากกินอาหารที่ขาดใยอาหาร และ/หรือ ดื่มน้ำน้อย อุจจาระจึงแข็งและลำอุจจาระเล็ก ลำไส้จึงบีบตัวลด ลง อุจจาระจึงเคลื่อนตัวได้ช้า
  • จากขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย จึงส่งผลให้ลำไส้บีบตัว เคลื่อนตัวช้า
  • จากปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ เช่น ความเครียด ความกังวล หรือการไม่มีเวลาพอในการขับถ่าย จึงส่งผลถึงการทำงานของลำไส้ ลดการบีบตัวลง

สาเหตุอื่นๆที่พบได้น้อยกว่า คือ

ท้องผูกมีปัจจัยเกิดจากอะไร?

ปัจจัยต่อการเกิดอาการท้องผูกที่พบบ่อย คือ

แพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุท้องผูกได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยอาการท้องผูก และหาสาเหตุ ได้จาก ประวัติอาการ จำนวนครั้งและลักษณะของอุจจาระ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประวัติกินยาต่างๆ การตรวจทางทวารหนัก อาจเอกซเรย์ช่องท้อง หรือ ส่องกล้องตรวจลำไส้ และอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

รักษาอาการท้องผูกได้อย่างไร?

แนวทางการรักษาอาการท้องผูกที่สำคัญ คือ การเพิ่มมวลอุจจาระและทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มเคลื่อนที่ได้ง่าย ซึ่งคือ การกินอาหารมีใยอาหารสูง (ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วต่างๆ) และดื่มน้ำสะอาดวันละมากๆเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม(เช่นโรคหัวใจล้มเหลว) อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว และเคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังกายเสมอ

ถ้าอาการท้องผูกยังคงมีอยู่ ไม่ดีขึ้นหลังปรับเปลี่ยนอาหาร ดื่มน้ำ และเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย อาจใช้ยาแก้ท้องผูกโดยปรึกษาเภสัชกรก่อนเสมอ ถ้าซื้อยากินเอง

เมื่อใช้ยาแก้ท้องผูกนานเกิน 5-7 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และเพราะการใช้ยาแก้ท้องผูกบ่อยๆ จะยิ่งกลับมาท้องผูกมากขึ้น และต้องเพิ่มปริมาณใช้ยามากขึ้น จนอาจก่ออันตรายได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มวนท้อง ปวดท้อง

นอกจากนั้น คือ การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น รักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อเป็นสาเหตุของท้องผูก เป็นต้น

มีผลข้างเคียงจากท้องผูกไหม?

โดยทั่วไป ไม่มี ผลข้างเคียง ที่รุนแรงจากอาการท้องผูก นอกจากความไม่สุขสบาย นอกจากนั้น คือ เกิดโรคริดสีดวงทวารจากการเบ่งอุจจาระเป็นประจำ และ/หรือ อาจเกิดแผลแตกรอบๆทวารหนัก จากก้อนอุจจาระที่แข็งกดครูด

แต่ในบางครั้งเมื่อท้องผูกเรื้อรังมากจนก้อนอุจจาระแข็งมาก อาจก่ออาการลำไส้อุดตันได้ (ปวดท้องมาก รุนแรง อาเจียนมาก ไม่ผายลม) ซึ่งเป็นอาการที่ควรต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน

ท้องผูกรุนแรงไหม?

โดยทั่วไป อาการท้องผูกไม่รุนแรง เมื่อปรับพฤติกรรมการกิน/ดื่มน้ำ และเคลื่อนไหวออกกำลังกายเพิ่มขึ้น อาการท้องผูกจะหายไปเอง แต่ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุด้วย ดังนั้น เมื่อเกิดอาการท้องผูกโดยไม่เคยเป็นมาก่อน และอาการไม่ดีขึ้นหลังดูแลตนเอง ภายใน 1-2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ แต่เมื่อใช้ยาแก้ท้องผูก แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์ภายใน 5-7 วันหลังใช้ยา เพื่อหาสาเหตุ และเพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากยาแก้ท้องผูกถ้าใช้ยานานกว่านี้ ดังกล่าวแล้ว

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร? ป้องกันท้องผูกได้อย่างไร?

การดูแลตนเองเมื่อท้องผูก เช่นเดียวกับการป้องกันท้องผูก คือ


ที่มา   https://haamor.com/th/ท้องผูก/

อัพเดทล่าสุด