ท้องเสีย (Diarrhea)


1,307 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ลำไส้เล็ก  ลำไส้ใหญ่  ระบบทางเดินอาหาร 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ถ่ายอุจจาระหลายครั้ง  

บทนำ

องค์การอนามัยโลกได้ให้นิยามว่า ท้องเสีย (Diarrhea) หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลว หรือ เป็นน้ำ ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปต่อวัน โดยอาจถ่ายเป็นน้ำ หรือ เป็นมูกเลือด ซึ่งเรียกได้อีกชื่อว่า โรคบิด หรือ เป็นบิด และเมื่อท้องเสียหายได้ภายใน 2 สัปดาห์ เรียกว่า ท้องเสียเฉียบพลัน เมื่อท้องเสียนาน 2-4 สัปดาห์ เรียกว่าท้อง เสียต่อเนื่อง (Persistent diarrhea) และเมื่อท้องเสียนานมากกว่า 4 สัปดาห์ขึ้นไป เรียกว่า ท้องเสียเรื้อรัง

องค์การอนามัยโลกได้ให้นิยามว่า ท้องเสีย (Diarrhea) หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลว หรือ เป็นน้ำ ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปต่อวัน โดยอาจถ่ายเป็นน้ำ หรือ เป็นมูกเลือด ซึ่งเรียกได้อีกชื่อว่า โรคบิด หรือ เป็นบิด และเมื่อท้องเสียหายได้ภายใน 2 สัปดาห์ เรียกว่า ท้องเสียเฉียบพลัน เมื่อท้องเสียนาน 2-4 สัปดาห์ เรียกว่าท้อง เสียต่อเนื่อง (Persistent diarrhea) และเมื่อท้องเสียนานมากกว่า 4 สัปดาห์ขึ้นไป เรียกว่า ท้องเสียเรื้อรัง

ท้องเสียมีสาเหตุจากอะไร?

ท้องเสีย โดยทั่วไป มักเกิดจาก การกินอาหาร และดื่มน้ำ ปนเปื้อนเชื้อโรค หรือ จากรักษามือไม่สะอาด อุจจาระที่ปนเปื้อนจากมือจึงก่อให้เกิดการติดเชื้อได้จาก มือสู่ปากโดยตรง หรือ ในการปรุงอาหาร ในการสัมผัสอาหาร/น้ำดื่มในขั้น ตอนต่างๆ และรวมทั้งในขั้นตอนของการเลี้ยงดูเด็ก ซึ่งโดยทั่วไป ท้องเสียจากการติดเชื้อมักเป็นท้องเสียเฉียบพลัน

เชื้อพบบ่อยที่เป็นสาเหตุให้ท้องเสีย คือ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และอาจพบเชื้อบิด และจากพยาธิได้

เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้ท้องเสียมีได้หลายชนิด เช่น อีโคไล (E. coli) ซึ่งเป็นเชื้อพบบ่อยที่สุด นอกนั้น เช่น เชื้อไทฟอยด์ (Salmonella) เชื้อบิดชนิด ชิเกลลา (Shigella) และเชื้ออหิวา/อหิวาตกโรค (Cholera จากเชื้อ Vibrio cholerae)

เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุให้ท้องเสีย ที่พบบ่อยที่สุด โดยเฉพาะในเด็กเล็ก คือ โรตาไวรัส/โรคท้องร่วงจากไวรัสโรตา(Rotavirus) และจากไวรัสอื่นๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบ เอ

นอกจากนั้น เช่น ติดเชื้อบิด (บิดมีตัว) จากติดเชื้อสัตว์เซลล์เดียว (โปรตัว ซัว/Protozoa) ที่มีชื่อว่า อะมีบา (Amoeba) หรือติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด(Pinworm) ซึ่งบางคนเรียกว่า พยาธิเส้นด้าย (Threadworm)

นอกจากการติดเชื้อแล้ว ท้องเสียยังเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้อีกด้วย เพียงแต่พบน้อยกว่าจากการติดเชื้อมาก เช่น

ท้องเสียจากโรคกลุ่มอาการดูดซึมอาหารได้น้อย (Malabsorption syndrome/มาลแอบซอพชัน ซินโดรม) ซึ่งมักเป็นท้องเสียแบบต่อเนื่อง หรือ แบบเรื้อรัง ซึ่งมีสาเหตุได้หลายสาเหตุ เช่น จากความผิดปกติของลำไส้แต่กำเนิด จากเป็นโรคพยาธิจากการแพ้นมวัวในเด็ก หรือในโรคมีภูมิคุ้มกันต้านทานบก พร่อง เช่น โรคเอดส์ จากโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังต่างๆ หรือ โรคขาดน้ำย่อยอาหารจากตับอ่อน เช่น โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง

ท้องเสียจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด ซึ่งมักเป็นท้องเสียแบบเฉียบ พลัน หรือ แบบต่อเนื่อง เมื่อหยุดยา อาการท้องเสียจะหายไป เช่น จากยาบางชนิดในกลุ่มยาแก้ปวดเอ็นเสดส์ ยาปฏิชีวนะ ยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคเกาต์ และยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็ง

ท้องเสีย จากผลข้างเคียงจากฉายรังสีรักษาโรคมะเร็งในบริเวณช่องท้อง และช่องท้องน้อย ซึ่งมักเป็นท้องเสีย แบบต่อเนื่อง แต่อาการท้องเสียจะหายไปภายหลังหยุดฉายรังสีประมาณ 4-8 สัปดาห์

ท้องเสียมีอาการอย่างไร?

อาการสำคัญจากท้องเสีย คือ การถ่ายอุจจาระตั้งแต่วันละ 3 ครั้งขึ้นไป ส่วนอาการอื่นๆที่อาจพบร่วมด้วย เช่น ปวดท้องปวดมวนท้อง ปวดเบ่ง อ่อนเพลีย นอกจากนั้น ขึ้นกับสาเหตุ เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยตัว เมื่อเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อไวรัส หรือ ถ่ายเป็นมูกเลือด เมื่อเกิดจากติดเชื้อบิด

ทั้งนี้ อาการสำคัญที่สุด และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้รวดเร็ว คือ อาการจากร่างกายขาดน้ำ และสูญเสียเกลือแร่ที่ออกร่วมมาในอุจจาระ

อาการสำคัญของการขาดน้ำในผู้ใหญ่ ที่สำคัญ คือ

อนึ่ง อาการขาดน้ำในเด็กส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับในผู้ใหญ่ ยกเว้นในเด็กอ่อน ซึ่งมักไม่มีปัสสาวะเลย กระหม่อมจะบุ๋มลึก และไม่มีน้ำตาเมื่อร้องโยเย หรือร้องไห้

แพทย์วินิจฉัยสาเหตุท้องเสียได้จากอะไร?

แพทย์วินิจฉัยสาเหตุท้องเสียได้จาก การสอบถามประวัติอาการ ประวัติต่างๆ เช่น การกินอาหาร โรคประจำตัวต่างๆ การกินยา และการไปท่องเที่ยว จำนวนครั้งของการอุจจาระ ลักษณะอุจจาระรวมทั้งกลิ่น และสี การตรวจร่างกาย และอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติมทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ เช่น การเพาะเชื้อ หรือ การตรวจเลือดดูการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ

รักษาท้องเสียได้อย่างไร?

แนวทางการรักษาท้องเสีย คือ การรักษา และป้องกันภาวะขาดน้ำ ซึ่งเมื่อผู้ป่วยดื่มไม่ได้ หรือ ท้องเสียรุนแรง อาจเป็นการให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ แต่ถ้ายังกิน/ดื่มได้ การรักษา คือ การดื่มน้ำ หรือ ดื่มน้ำเกลือแร่ ซึ่งเป็นยาผงละ ลายน้ำ ที่ทั่วไปเรียกว่า ยาโออาร์เอส (ORS,Oral rehydration salts) นอกจาก นั้น คือ การรักษาตามสาเหตุ เช่น อาจให้ยาปฏิชีวนะเมื่อเกิดจากการติดเชื้อแบค ทีเรีย และการรักษาประคับประคองตาอาการ เช่น ยาบรรเทาปวดท้อง หรือ ยาลดไข้

โดยทั่วไป แพทย์มักไม่แนะนำการกินยาหยุดท้องเสีย เพราะ การถ่ายอุจจาระ เป็นวิธีหนึ่งที่ร่างกายใช้กำจัดเชื้อโรค และ/หรือ สารพิษจากเชื้อโรคออกจากร่างกาย อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์

มีผลข้างเคียงจากท้องเสียไหม?

ผลข้างเคียงสำคัญ ของอาการท้องเสีย คือ ภาวะร่างกายขาดน้ำ (ภาวะขาดน้ำ) และถ้าเป็นท้องเสียแบบต่อเนื่อง หรือ เรื้อรังคือ ภาวะร่างกายขาดสารอาหาร และภูมิคุ้ม กันต้านทานโรคจะต่ำลง ติดเชื้อต่างๆได้ง่าย

ท้องเสียรุนแรงไหม?

ความรุนแรงของท้องเสีย ขึ้นกับ สาเหตุ ปริมาณเชื้อโรคที่ร่างกายได้รับ ภาวะร่างกายขาดน้ำ และสุขภาพ หรือ ภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของผู้ป่วย แต่โดยทั่วไป มักรักษาควบคุมโรคได้ ยกเว้นในผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ และ /หรือ พบแพทย์ล่าช้า

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเอง/การพบแพทย์เมื่อท้องเสีย คือ

 

ป้องกันท้องเสียได้อย่างไร?

วิธีป้องกันโรคท้องเสีย คือ การป้องกันสาเหตุ ซึ่งที่สำคัญ คือ การป้องกันการติดเชื้อทาง อาหาร น้ำดื่ม และทางมือ ซึ่งที่สำคัญ คือ


ที่มา   https://haamor.com/th/ท้องเสีย/

อัพเดทล่าสุด