นิยามคำว่าเด็ก
เด็ก (Child หรือ Childhood) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า เด็ก คือ คนที่มีอายุน้อย หรือผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ ผู้ซึ่งอายุไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์ และยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส หรือบุคคลอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ หรือ บุคคลที่มีอายุตั้ง แต่ 15 ปีลงมา หรือบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ ส่วน เด็กหญิง คือ คำนำ หน้าชื่อเด็กหญิงที่มีอายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ และ เด็กชาย คือ คำนำหน้าชื่อเด็ก ชายที่มีอายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์
ในทางการแพทย์ เด็ก คือ ผู้ที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อใช้คำนำ หน้าชื่อว่าเด็กหญิง หรือ เด็กชาย เมื่อมีการเจ็บป่วยและพบแพทย์ เมื่อเป็นโรง พยาบาลใหญ่ซึ่งมีแพทย์เฉพาะทาง ผู้ป่วยจะถูกจัดให้ได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ และพยาบาลในสาขาโรคเด็ก หรือ กุมารเวช แต่เมื่อใช้คำนำหน้าชื่อว่า นางสาว หรือ นาย เมื่อมีการเจ็บป่วยพบแพทย์ จะได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ พยาบาลในแผนกอายุรกรรม
ทั้งนี้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็ก ยังอาจแยกเป็น
เด็กแรกเกิด หรือทารกแรกเกิด
เด็กอ่อน หรือ เด็กทารก
เด็กวัยเตาะแตะ
(Toddler) คือช่วงอายุ 1-3 ปีเด็กก่อนวัยเรียน หรือเด็กเล็ก
(Preschool age) คือ ช่วงอายุ 3-5 ปีเด็กวัยเรียน
(School age) คือ ช่วงอายุ 6-8 ปีเด็กโต
คือ อายุช่วง 9-14 ปี และเด็กวัยรุน หรือ วัยรุ่น
คือ ช่วงอายุ 13-19 ปีการแบ่งเด็กเป็นวัยต่างๆนั้น เนื่องจากเด็กเป็นวัยที่ร่างกาย และจิตใจยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ ร่างกายและจิตใจจึงมีการเจริญเติบโตและพัฒนาอยู่ตลอด เวลา ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัยดังกล่าว และแตกต่างกับผู้ใหญ่ การแยกเด็กเป็นวัยต่างๆ จึงช่วยแพทย์ พยาบาลให้การดูแลรักษา พยาบาล เด็กได้อย่างเหมาะสมทั้งด้าน ร่างกาย และจิตใจ
ทำไมต้องแยกเป็นโรคเด็กและโรคผู้ใหญ่?
เด็ก เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโต และการพัฒนา ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ยังต้องพึ่งพาผู้ปกครอง ดูแลตนเองไม่ได้ หรือ ได้น้อย เข้าใจอาการ การตรวจ รักษาไม่ได้ หรือ ได้น้อย หรือ ไม่เข้าใจ บอกเล่าอาการของโรคไม่ได้ หรือได้น้อย และไม่ชัดเจน ทั้งนี้ ขึ้นกับช่วงวัย ดังนั้น การสอบถามประวัติ การตรวจร่างกาย และขั้นตอนในวิธีตรวจวินิจฉัยโรค จึงแตกต่างจากผู้ใหญ่ และต้องมีผู้ปกครองคอยช่วยเหลือดูแล
อวัยวะต่างๆของเด็ก โดยเฉพาะ ตับ ไต สมอง ยังไม่สมบูรณ์ การใช้ยาจึงแตกต่างจากในผู้ใหญ่มาก ปริมาณยา (Dose) จึงต้องขึ้นกับทั้งช่วงอายุ น้ำหนัก และส่วนสูง
จากการที่อวัยวะต่างๆของเด็ก ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่นี่เอง รวมทั้งเป็นผู้ที่มีอายุขัย ยืนยาวมากกว่าในผู้ใหญ่มาก ดังนั้น ผลข้างเคียงจากการรักษา จึงมีโอกาสเกิดได้สูงกว่าในผู้ใหญ่ และอาจส่งผลกระทบถึงคุณภาพชีวิตของเด็กเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้
นอกจากนั้น โรคต่างๆของเด็ก มักแตกต่างจากโรคของผู้ใหญ่ ถึงแม้บางชนิดอาจเหมือนกันก็ตาม และจากการที่เนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคในเด็กต่ำกว่าในผู้ใหญ่ โรคในเด็กจึงมักมีความรุนแรงมากกว่าในผู้ใหญ่ ดังนั้น ขั้นตอน และวิธีดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กจึงแตก ต่างจากในผู้ใหญ่
ด้วยเหตุผลทั้งหมด ทางการแพทย์จึงแยกผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยเด็ก และผู้ป่วยผู้ใหญ่ นอกจากนั้นในอนาคต อาจแยกผู้ป่วยเด็กออกเป็นเด็ก และผู้ป่วยวัยรุ่น ทั้ง นี้เพราะวัยรุ่น เป็นอีกวัยที่มีความเฉพาะตัว กึ่งเด็ก กึ่งผู้ใหญ่ และเป็นผู้ป่วยที่ไม่อยากได้รับการรักษาแบบเด็ก แต่ก็ยังดูแลตนเองไม่ได้เต็มร้อย จึงดูแลรักษาเหมือนในผู้ใหญ่ไม่ได้เต็มที่ การดูแลรักษาจึงกึ่งเด็กกึ่งผู้ใหญ่
โรคเด็กต้องรักษาด้วยหมอเด็กเท่านั้นใช่ไหม?
โรคเด็ก ไม่จำเป็นต้องรักษากับหมอเด็ก (กุมารแพทย์) แพทย์ทุกสาขา สามารถดูแลผู้ป่วยเด็กได้ทุกคน เพราะในการเรียนแพทย์ แพทย์ทุกคนต้องผ่านการเรียนการสอนในเรื่องของโรคเด็กเป็นวิชาหลักวิชาหนึ่งเสมอ แต่เมื่อเป็นโรคที่ซับซ้อน จึงสมควรเป็นการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางโรคเด็ก ซึ่งแพทย์ที่ดูแลเด็กอยู่ในขณะนั้น มักจะเป็นผู้แนะนำผู้ปกครองเสมอ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ปก ครองมีความสะดวกกว่าในการพบหมอเด็ก หรือ ในโรงพยาบาลที่มีการแยกสาขาตรวจ เมื่อเด็กป่วยก็พบหมอเด็กได้เลยตั้งแต่แรก
โรคเด็กมีสาเหตุจากอะไร? พบโรคอะไรได้บ้าง?
โรคของเด็กมีสาเหตุเช่นเดียวกับในโรคของผู้ใหญ่ เพียงแต่แตกต่างกันในอุบัติการณ์ (การพบได้มาก หรือ น้อย) โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในเด็กที่พบบ่อย ได้แก่
- การติดเชื้อ
โรคจากการติดเชื้อในเด็กพบได้จากเชื้อทุกชนิดเช่นเดียวกับในผู้ ใหญ่ คือ ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา โปรโตซัว หรือ สัตว์เซลล์เดียว (Protozoa) และพยาธิ แต่ที่พบได้บ่อย คือ จากไวรัส และแบคทีเรียเช่นเดียวกับในผู้ใหญ่เช่นกัน
โรคจากติดเชื้อไวรัสที่พบบ่อยในเด็ก เช่น โรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคคางทูม โรคสมองอักเสบ โรคไวรัสตับอักเสบ ทั้งชนิดเอ บี และซี (โรคไวรัสตับอักเสบ เอ โรคไวรัสตับอักเสบ บี และโรคไวรัสตับอักเสบ ซี) และ โรค เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
โรคจากติดเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อย เช่น โรค ไอกรน โรคบาดทะยัก และโรคสมองอักเสบ
ซึ่งพบในเด็กได้สูงกว่าในผู้ใหญ่มาก และติดเชื้อได้หลาก หลายชนิดมากกว่าในผู้ใหญ่ เพราะดังกล่าวแล้วว่าภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของเด็ก ต่ำกว่าในผู้ใหญ่จากเนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ และจากยังสัมผัสโรคต่างๆน้อยกว่าผู้ใหญ่มาก ร่างกายจะยังไม่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคเหล่า นั้น - โรคแต่กำเนิดธาลัสซีเมีย หรือจากการติดโรคหรือจากสุขภาพของมารดาใน ขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน โรคเบาหวานในเด็ก โรคตาขี้เกียจ หรือ โรคตามัว และโรคกลุ่มอาการดาวน์ (Down’s หรือ Down syndrome) ซึ่งพบได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยมักเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรค
- โรคจากมีพัฒนาการบกพร่อง ซึ่งสาเหตุที่แน่ชัดยังไม่ทราบ เช่น เด็กไฮเปอร์ หรือเอดีเอชดี (Attention deficit hyperactivity disorder) และโรคออทิสติก (Autistic)
- โรคจากอุบัติเหตุต่างๆ เพราะเด็กซุกซน และยังดูแลตนเองไม่ได้ เช่น แผลจากหกล้ม การถูกแมลง สัตว์ กัด ต่อย และการจมน้ำ
- โรคในระบบต่างๆเช่นเดียวกับในผู้ใหญ่ แต่พบเกิดน้อยกว่ามาก เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคไตเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ในเด็ก
- โรคขาดอาหาร เพราะเด็กหากินเองยังไม่ได้ ต้องพึ่งพา จึงพบโรคเด็กขาดอาหารสูงกว่าในผู้ใหญ่มาก โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิด และในเด็กอ่อน
- โรคมะเร็งมะเร็งในเด็กมีทั้งชนิดแตกต่างจากในผู้ใหญ่ เช่น โรคมะเร็งตาในเด็ก (โรคตาวาว) โรคมะเร็งไตวิมทูเมอร์ (Wilms’ tumor) และโรคมะเร็งสมองชนิด เมดัลโลบลาสโตมา (Medulloblastoma) และชนิดเหมือนกับในผู้ใหญ่ เช่น โรค มะเร็งเม็ดเลือดขาวเอแอลแอล และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งพบได้ในทุกอายุของเด็ก ตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์จนถึงเด็กโต ทั้งนี้ โรค
รักษาโรคเด็กอย่างไร?
วิธีการรักษาโรคในเด็กเช่นเดียวกับในผู้ใหญ่ทุกประการ คือ การผ่าตัดเมื่อเป็นโรคที่ต้องผ่าตัด เช่น ในโรคไส้ติ่งอักเสบ และการรักษาด้วยยาต่างๆ เช่น การให้ยาปฏิชีวนะเมื่อเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และการรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ซึ่งต่างจากในผู้ใหญ่ คือ เด็กอาจแพ้ยาลดไข้แอสไพรินได้อย่างรุนแรง เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ (การแพ้ยาแอสไพริน) ดังนั้น ยาลดไข้ในเด็กจึงควรเป็นพาราเซตามอล (Paracetamol) ซึ่งการให้ยาในเด็ก จำเป็นต้องให้ปริมาณยาตามช่วงอายุ น้ำหนัก และส่วนสูง
นอกจากนั้น คือ การรักษาประคับประคองตามอาการอื่นๆ ซึ่งเช่นเดียวกับในผู้ใหญ่ เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเมื่อเด็กกินไม่ได้ หรือ มีภาวะขาดน้ำ เป็นต้น
แต่ที่แตกต่างอย่างมากจากผู้ใหญ่ คือ ผู้ปกครองต้องดูแลเอาใจใส่ และเป็นผู้สังเกตความผิดปกติต่างๆ และเป็นผู้แจ้งแพทย์ พยาบาล แทนเด็กเพราะดัง กล่าวแล้วว่า เด็กไม่สามารถบอกเล่าอาการของตนเองได้ ซึ่งสิ่งนี้เองเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคในเด็กมักรุนแรงกว่าในผู้ใหญ่ เพราะเด็กป่วยมักพบแพทย์ล่าช้ากว่าในผู้ใหญ่
โรคเด็กรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?
โรคเด็กมักรุนแรงกว่าโรคของผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำกว่าในผู้ใหญ่ และเด็กบอกอาการตนเองไม่ได้ จึงมักเป็นสาเหตุให้พบแพทย์ได้ล่าช้า
ดูแลเด็กป่วยอย่างไร?ควรพบแพทย์เมื่อไร?
การดูแลเด็กป่วยที่สำคัญ และการพบแพทย์ ได้แก่
- ต้องคอยสังเกตอาการเด็กเสมอ เพื่อรีบนำเด็กพบแพทย์
- ต้องคอยดูแลไม่ให้เด็กขาดอาหารและมีภาวะขาดน้ำ (ตาโหล ปากแห้ง ผิวหนังแห้ง ปัสสาวะน้อย ร้องไห้ไม่มีน้ำตา หรือไม่ปัสสาวะภายใน 4-6 ชั่วโมง)
- กินยาตามแพทย์แนะนำอย่างถูกต้องครบถ้วน ไม่ซื้อยาให้เด็กกินเองโดยไม่ได้ปรึกษา แพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกร
- เมื่อมีไข้ นอกจากกินยาลดไข้แล้ว ต้องคอยเช็ดตัวเสมอเพื่อช่วยลดไข้ เพราะในเด็กเล็ก เมื่อมีไข้สูงเด็กจะชักได้
- รีบนำเด็กพบแพทย์เสมอภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อ
- นำเด็กพบแพทย์เป็นการฉุกเฉินเมื่อ
- เด็กมีไข้สูง และไข้ไม่ลงหลังกินยาลดไข้พาราเซตามอล (Paracetamol)
- หายใจเร็ว และ/หรือ หายใจลำบาก
- ตัวเขียว มือ เท้า เขียวคล้ำ
- ไม่กิน ไม่ดื่ม หรือ กิน/ดื่มได้น้อย
- มีอาการจากภาวะขาดน้ำ
- กระสับกระส่าย สับสน ซึม และ/หรือ ชัก
- อาการต่างๆที่เป็นอยู่เลวลง
ป้องกันโรคในเด็กได้อย่างไร?
การป้องกันโรคของเด็ก ที่สำคัญ คือ
- ปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์เสมอ เพื่อลดโอกาสเกิดโรคเด็กจากพันธุกรรม
- ต้องฝากครรภ์ เพื่อสุขภาพของมารดาและของทารกในครรภ์
- ขณะตั้งครรภ์ ต้องกินแต่ อาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วน หลีก เลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น หมักดอง และไส้กรอก ซึ่งนอกจากสาร อาหารด้อยคุณภาพลงแล้ว ในขั้นตอนการผลิตยังอาจมีสารก่อมะเร็งเจือปนได้ เช่น สารไนโตรซามีน (Nitrosamine)
- มารดาต้องไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ และต้องไม่มีการสูบบุหรี่ในบ้าน
- บิดา มารดา ต้องมีความพร้อมในการมีบุตร เพื่อลดโอกาสเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ และปัญหาสุขภาพจิตในเด็ก
- เด็กต้องได้รับอาหารตามช่วงวัยที่ถูกต้อง ตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล
- สอนตั้งแต่เริ่มรู้ความให้เด็กรู้จักสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่แข็งแรงของเด็ก
- ดูแลป้องกันการเกิดอุบัติเหตุของเด็ก และสอนเด็กรู้จักการระมัดระวังอุบัติเหตุในชีวิตประจำวัน และในการเล่นต่างๆ ตั้งแต่เริ่มรู้ความ
- เด็กต้องได้รับวัคซีนพื้นฐานตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลและกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่แรกเกิด เช่น วัคซีน โรคตับอักเสบบี โรคหัด โรคคางทูม โรคหัดเยอรมัน โรคบาดทะยัก โรคไอกรน โรคคอตีบ และวัณโรค