ปัสสาวะรดที่นอน (Bedwetting)


1,036 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

กระเพาะปัสสาวะ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

บทนำ

ปัสสาวะรดที่นอน (Bedwetting หรือ Enuresis หรือ Nocturnal enuresis) เป็นภาวะ หรือ อาการ ผิดปกติที่เกิดจากการควบคุมการปัสสาวะไม่ได้ ส่งผลให้เกิดการปัสสาวะรดที่นอนในช่วงนอนหลับตอนกลางคืน (Nocturnal enuresis) หรืออาจปัสสาวะรดเสื้อผ้าในช่วงกลางวัน (Diurnal enuresis) หรือเกิดขึ้นทั้งช่วงกลางวันและช่วงกลางคืน (Mixed enure sis) ทั้งนี้ปัสสาวะรดที่นอนจะถือเป็นภาวะปกติ เมื่อเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 4 ปี เพราะเป็นช่วงอวัยวะต่างๆในร่างกาย รวมทั้งระบบสมองและระบบประสาทซึ่งควบคุมการปัสสาวะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เด็กวัยก่อน 5 ปีจึงไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้

นิยาม: นิยามของปัสสาวะรดที่นอน คือ เด็กตั้งแต่อายุ 5 ปีขึ้นไปและยังคงปัสสาวะรดที่นอนอยู่ โดยถ้าอายุช่วง 5-6 ปี การปัสสาวะรดที่นอนหมายถึงปัสสาวะรดที่นอนตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปต่อเดือน และเมื่ออายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป การปัสสาวะรดที่นอนหมายถึงการปัสสาวะรดที่นอนตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไปต่อเดือน ส่วนคำจำกัดความของปัสสาวะรดเสื้อผ้า ยังไม่มีการกำหนดจำนวนครั้ง เพราะพบได้น้อยกว่าการปัสสาวะรดที่นอนมาก จึงหมายความกว้างๆว่า เด็กปัสสาวะรดเสื้อผ้าบ่อยจนผู้ปกครอง หรือคุณครูคิดว่าเป็นปัญหา

ทั้งนี้ เมื่อเด็กปัสสาวะรดที่นอนตั้งแต่เกิด และยังคงปัสสาวะรดที่นอนต่อเนื่องจนถึงอายุ 5 ปีขึ้นไป ไม่เคยมีช่วงที่ปัสสาวะปกติเลย เรียกว่า ปัสสาวะรดที่นอนปฐมภูมิ (Primary enuresis) ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยประมาณ 75-85% ของภาวะนี้ทั้งหมด แต่ถ้าเมื่อช่วงเด็กเล็กปัสสาวะรดที่นอน แต่อาการหายไปจนสามารถควบคุมการปัสสาวะได้เป็นปกติติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือนแล้วกลับมามี อาการซ้ำใหม่อีก เรียกว่า ปัสสาวะรดที่นอนทุติยภูมิ (Secondary enuresis) ซึ่งพบได้ประมาณ 15-25%

ปัสสาวะรดที่นอนเป็นภาวะพบได้บ่อย การศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่าภาวะนี้พบในเด็กชายบ่อยกว่าในเด็กหญิงประมาณ 2 เท่า และพบภาวะนี้ได้ถึงประมาณ 15-25%ในเด็กอายุ 5-6 ปี แต่ทุกๆ 1 ปีที่เด็กโตขึ้นอัตราการเกิดภาวะนี้จะลดลงประมาณ 15% เมื่อเด็กอายุได้ 7 ปี พบภาวะนี้ในเด็กชายประมาณ 9% ในเด็กหญิงประมาณ 6% เมื่ออายุได้ 10-12 ปี พบภาวะนี้ได้ 7-8%ในเด็กชาย และ 3-4%ในเด็กหญิง และเมื่ออยู่ในช่วงวัยรุ่นยังคงพบภาวะนี้ได้ ประมาณ 1-3%ทั้งในเด็กชายและในเด็กหญิง

ปัสสาวะรดที่นอนมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงจากอะไร?

ปัสสาวะรดที่นอนปฐมภูมิ สาเหตุที่แน่นอนของปัสสาวะรดที่นอนปฐมภูมิ ยังไม่ทราบ แต่จากการศึกษาเชื่อว่าน่าเกิดจากหลายสาเหตุ หรือหลายปัจจัยร่วมกัน ซึ่งสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่

ปัสสาวะรดที่นอนทุติยภูมิ สาเหตุของปัสสาวะรดที่นอนทุติยภูมิ ได้แก่

แพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุปัสสาวะรดที่นอนได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุปัสสาวะรดที่นอนได้ด้วยการสอบถามประวัติทางการแพทย์ต่างๆ ทั้งจากเด็ก และจากผู้ปกครอง ประวัติภาวะนี้ในครอบครัว โรคประจำตัวของเด็ก ยาที่ใช้อยู่ ประวัติการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ปัญหาจากเพื่อน โรงเรียน และจากครอบครัว การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะ อาจตรวจอุจจาระถ้าสงสัยสาเหตุจากพยาธิและอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม เช่น ตรวจการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ ทั้งนี้ขึ้นกับความผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบ และดุลพินิจของแพทย์ นอกจากนั้นแพทย์อาจ แนะนำให้ทำบันทึกการปัสสาวะประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อค้นหาสาเหตุ และความสัมพันธ์ของอาการกับปัจจัยต่างๆที่กระตุ้นให้เกิดอาการนี้

รักษาปัสสาวะรดที่นอนอย่างไร?

แนวทางการรักษาปัสสาวะรดที่นอน คือ การรักษาสาเหตุ และการป้องกันการเกิดปัสสาวะรดที่นอนในช่วงการรักษาสาเหตุ

การดูแลรักษาป้องกันการปัสสาวะรดที่นอน เช่น

  • การอธิบายให้เด็ก/ผู้ป่วย และครอบครัวได้เข้าใจ ไม่ล้อเรียน ไม่เครียด ไม่เห็นเป็นเรื่องน่าอาย และไม่ลงโทษ แต่ช่วยกันแก้ไข ปรับปรุง
  • ให้เด็กดื่มน้ำมากขึ้นในช่วงกลางวัน แต่ลดอาหารและการดื่มน้ำในช่วงเย็น และไม่ดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มต่างๆก่อนนอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงเพื่อลดปริมาณปัสสาวะช่วงกลางคืน
  • งดเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เพราะจะเพิ่มปริมาณปัสสาวะ และกระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้ปัสสาวะบ่อยและมาก เช่น ชา กาแฟ โคล่า และเครื่องดื่มชูกำลัง
  • การปลุกเด็กให้ลุกขึ้นปัสสาวะ ก่อนช่วงเวลาที่สังเกตได้ว่าเด็กมักปัสสาวะรดที่นอน
  • การติดสัญญาณเตือนเมื่อเสื้อผ้าเริ่มเปียก จากการปัสสาวะ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้แนะนำ
  • การสวมใส่เสื้อนอนที่ ถอดได้ง่าย และจัดเตียงนอนเพื่อป้องกันปัสสาวะเปียก รดที่นอน ผ้าห่ม หรือเครื่องนอนอื่นๆ เพื่อช่วยลดความเครียด ความกังวลของเด็ก
  • การฝึกการขับถ่ายและปรับพฤติกรรมในการขับถ่าย หรือการใช้ชีวิต รวมทั้ง การกิน การดื่ม ซึ่งแพทย์ พยาบาล และ/หรือนักจิตวิทยาจะเป็นผู้แนะนำ
  • การใช้ยาโดยคำแนะนำของแพทย์ เมื่อการดูแลดังได้กล่าวแล้วไม่ได้ผล ซึ่งอาจต้องใช้ทั้งยา และการปรับพฤติกรรมดังกล่าวร่วมกัน ซึ่งยาที่ใช้อาจเป็นยาในกลุ่มที่ใช้ทางด้านจิตเวช เพื่อช่วยปรับสมดุลของสารสื่อประสาท แต่สามารถมีผลต่อการทำงานของกระเพาะปัสสาวะได้ ไม่ได้หมายความว่า เด็กเป็นโรคทางจิตเวช และ/หรือยาฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณน้ำปัสสาวะ และ/หรือยาต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

ปัสสาวะรดที่นอนรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไร?

ปัสสาวะรดที่นอนเป็นภาวะที่ดูแลรักษาให้หายได้เสมอ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่แก้ไข อาจก่อผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ ปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ ต่อเด็ก จนอาจส่งผลถึงการเรียน บุคลิกภาพ และความประพฤติของเด็กได้ ดังนั้นเมื่อพยายามดูแลเด็ก หรือดูแลตนเองแล้วอาการไม่ดีขึ้น จึงควรปรึกษาแพทย์เสมอ เพื่อหาสาเหตุ และเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง ไม่ควรรอจนเด็ก หรือตนเองเกิดปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ เพราะการแก้ไข รักษาปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ เป็นเรื่องยากเมื่อเกิดการสะสมของปัญหายาวนาน

ควรดูแลอย่างไรเมื่อปัสสาวะรดที่นอน? และควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลเมื่อเด็กปัสสาวะรดที่นอน หรือตัวเองปัสสาวะรดที่นอน คือ การเข้าใจ อธิบายให้เด็กเข้าใจด้วย พยายามหาสาเหตุ ช่วยกันแก้ปัญหา ไม่ถือเป็นเรื่องน่าอาย และไม่มีการลงโทษ

เมื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาแล้ว อาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ โดยเฉพาะถ้ามีการปัสสาวะรดที่นอนชนิดทุติยภูมิ ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุเสมอ

ป้องกันปัสสาวะรดที่นอนอย่างไร?

การป้องกันปัสสาวะรดที่นอน ที่อาจช่วยได้ คือ

  • สอน และฝึกการขับถ่ายที่ถูกวิธีตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก
  • รู้จักเข้าห้องน้ำเมื่อปวดปัสสาวะ ไม่กลั้นไว้ ไม่นั่งแช่นานๆ
  • ปัสสาวะก่อนเข้านอนเสมอ
  • งดอาหาร น้ำดื่ม เครื่องดื่ม ก่อนนอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง
  • งด/จำกัดเครื่องดื่มมีกาเฟอีนดังกล่าวแล้ว
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อสุขภาพกาย (ลดโอกาสติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ) และเพื่อสุขภาพจิตที่ดี

ที่มา   https://haamor.com/th/ปัสสาวะรดที่นอน/

อัพเดทล่าสุด