งูกัด (Snake bite)


1,130 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ผิวหนัง 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

แผล 

ทั่วไป

งูกัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เป็นปัญหาที่พบบ่อยและโดยเฉพาะในเวลาที่น้ำท่วม เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน มีลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของงู ในประเทศไทยมีงูอยู่ราว 163 ชนิด ปัญหางูกัดที่สำคัญและเป็นปัญหาเร่งด่วนคือ งูพิษกัด ซึ่งหากรู้ว่างูพิษเป็นชนิดใดและให้การรักษาทันเวลาและถูกต้องเหมาะสม จะสามารถทำให้หลีกเลี่ยงการเป็นอันตรายมากซึ่งในบางกรณีอาจถึงเสียชีวิตได้

ธรรมชาติของงูเป็นอย่างไร?

ส่วนใหญ่งูจะกัดต่อเมื่อถูกทำให้ตกใจ หรืออยู่ในสภาวะถูกคุกคาม หากเป็นไปได้มันมักจะหนีผู้คน งูมักอยู่ใกล้น้ำหรือในน้ำ และส่วนมากจะเป็นงูไม่มีพิษ แต่หากถูกงูกัด และไม่ทราบชนิดของงู ต้องนึกว่าเป็นปัญหาใหญ่ และต้องนึกถึงงูพิษไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย โดยเฉพาะในเด็กซึ่งตัวเล็ก น้ำหนักน้อย หากถูกงูพิษกัดอาการจะมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะปริมาณของพิษมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวน้อย

งูกัดอันตรายไหม?

เนื่องจากงูส่วนใหญ่เป็นงูไม่มีพิษ เมื่อถูกกัดอาจทำให้เกิดแผล เจ็บปวดบ้าง หรืออาจมีอาการติดเชื้อตามมาถ้าแผลสกปรก แต่คนทั่วไปมักไม่รู้จักงู และไม่ทราบว่า เป็นงูมีพิษหรือไม่ จึงต้องระลึกว่า เมื่อถูกงูกัด งูนั้นอาจมีพิษไว้ก่อน ให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำดังจะกล่าวต่อไป และรีบพบแพทย์ซึ่งถ้าเป็นไปได้ควรไปโรงพยาบาลจะดี กว่า อย่างไรก็ตาม ป้องกันอย่าให้งูกัดดีที่สุด

ผลข้างเคียงจากงูกัดมีอะไรบ้าง?

ผลข้างเคียงจากงูกัด ที่อาจพบได้ คือ

  1. ผลเฉพาะที่จากพิษงู หรือจากเอนไซม์ (Enzyme)/สารบางชนิดในน้ำลายของงูที่อาจทำให้เกิดเนื้อเยื่อบริเวณที่ถูกกัดตายบริเวณกว้าง ทำให้มีการสูญเสีย กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อต่างๆ และผิวหนัง โดยรอบแผล หรือแผลงูกัดติดเชื้อแบคทีเรีย บางคนต้องทำการปลูกถ่ายผิวหนัง โดยตัดผิวหนังส่วนที่ดีมาปะส่วนของผิวหนังที่เสียหายไป
  2. ผลที่เกิดจากพิษงูทั้งทาง ระบบประสาท ระบบเลือด และที่ทำให้เกิดไตวาย แต่หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ได้เซรุ่มแก้พิษงูตามชนิดของงู และตามข้อบ่งชี้ ร่วมกับการรักษาประคับประคองตาอาการที่เหมาะสม ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะกลับเป็นปกติ แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตจาก การหายใจล้มเหลวหรือจากหัวใจล้มเหลว เนื่องจากพิษงูมีผลต่อหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือจากสารโปแตสเซียม (Potassium) สูงโดยเกิดจากพิษงูทำให้เกิดการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงและของกล้ามเนื้อ หรือพิษงูส่งผลต่อการแข็ง ตัวของเลือด ทำให้เกิดเลือดออกมากจากแผล หรือจากเนื้อเยื่อ/อวัยวะอื่นๆจนเสีย ชีวิตได้

ชนิดของงูพิษและบริเวณที่พบงูพิษ

งูพิษในประเทศไทยแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ

  1. งูพิษที่มีผลต่อระบบประสาท

    ได้แก่
    • งูเห่าไทย (Cobra, Naja kaouthia) พบได้ทั่วประเทศ พบมากในภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง
    • งูเห่าพ่นพิษ (Spitting cobra, Naja siamensis) พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันตก
    • งูจงอาง (King cobra, Ophiophagus hannah) พบมากในภาคใต้และภาคกลางบางจังหวัด
    • งูสามเหลี่ยม (Banded krait, Bungarus fasciatus) พบได้ทุกภาคของประเทศ
    • งูทับสมิงคลา (Malayan krait, Bungarus candidus) พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออก
  2. งูพิษที่มีผลต่อระบบเลือด

    แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย
    • กลุ่มแรก คือ งูแมวเซา (Typical viper) พบมากในภาคตะวันออกและภาคกลาง
    • กลุ่มที่สอง เป็น Pit viper ได้แก่ งูกะปะ พบมากในภาคใต้ ชายฝั่งทะเลตะวันออกและภาคเหนือ อีกชนิดหนึ่งคือ งูเขียวหางไหม้ พบมากในกรุงเทพ มหานคร ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  3. พิษต่อไต

    อนึ่ง งูพิษที่กัดคนไทยมากที่สุดคือ งูกะปะ (40%) รองลงมาได้แก่ งูเขียวหางไหม้ (34%) งูเห่า (12%) งูแมวเซา (10%) และงูชนิดอื่นๆ (4%)

    ในภาวะน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. 2554 ขณะที่คนในกรุงเทพมหานคร กำลังประสบความทุกข์ยากจากมหาอุทกภัย ก็มีข่าวที่ทำให้ต้องมีความวิตกกังวลมากขึ้นจากการที่มีผู้แอบเลี้ยงงูที่มีถิ่นฐานอยู่ในทวีปอาฟริกาชื่อ Green mamba และงูหนีออกมา

    พบใน งูแมวเซา อาจเป็นผลจากพิษงูโดยตรง หรืออาจเกิดจากผลทางอ้อมจากสาเหตุอื่น เช่น ภาวะช็อก ผลจากฮีโมโกลบิน (Hemoglobin /สารชนิดหนึ่งที่ให้สีแดงในเม็ดเลือดแดง) ที่ถูกขับออกทางไต
  • งู Green mamba (Dendroaspis angusticeps)

    งูชนิดนี้ เป็นงูที่มีพิษต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตเพราะมีพิษที่เรียกว่า Muscarinic toxin มีการศึกษาส่วนประกอบละเอียดของพิษงู Green mamba พบว่ามากกว่า 50% ของส่วนประกอบเหมือนพิษงูเห่าไทย (Naja kaou thia) ที่พบได้ทั่วประเทศดังกล่าวแล้ว

    ที่ประเทศซิมบับเวได้มีการศึกษาผู้ป่วยที่งูพิษกัดจำนวนมาก พบว่า 18% ของผู้ป่วยถูกงู Black และ Green mamba กัด ขณะที่งูเห่ากัด 37% อย่างไรก็ตามผู้ป่วยเสียชีวิตจากงูพิษกัดโดยรวมไม่มาก คือ 1.8% การรักษาได้ผลดีด้วย เซรุ่มแก้พิษงู ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก และการรักษาประคับประ คองตามอาการของผู้ถูกงูกัด ซึ่งเป็นวิธีรักษางูพิษกัดทุกชนิดเหมือนๆกัน ดังจะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อการรักษางูกัด ซึ่งรวมทั้งจากงู Green mamba แต่ความแตก ต่างจะอยู่ที่ชนิดของเซรุ่มที่ใช้ ซึ่งต้องแตกต่างกันตามชนิดของงูพิษ เช่น เซรุ่มพิษงู Green mamba เมื่อถูกงูชนิดนี้กัด เป็นต้น

เมื่อถูกงูพิษกัดจะมีอาการอย่างไร?

เนื่องจากพิษงูประกอบด้วยโปรตีนและเอนไซม์ (Enzyme/ สารเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของสารต่างๆในร่างกาย) หลายชนิด มีผลต่อบริเวณที่ถูกกัดและทำให้เกิดอาการต่างๆได้ทั่วร่างกาย

นอกจากนี้อาจมีอาการทั่วไปอื่นๆร่วมด้วย เช่น มีไข้ หมดสติ ความดันโลหิตต่ำ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน/ ท้องเสีย หรืออาการแพ้พิษงู (บวม แดง ขึ้นผื่นคัน อาจทั้งตัว หรือ เฉพาะเนื้อเยื่อ/อวัยวะใด เนื้อเยื่อ/อวัยวะหนึ่ง) แต่พบได้น้อย

เมื่อถูกงูกัดควรปฏิบัติตนเบื้องต้นอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

เนื่องจากเรามักไม่รู้จักชนิดของงู ดังนั้นเมื่อถูกงูกัดให้สันนิษฐานว่าเป็นงูมีพิษไว้ก่อน ซึ่งการปฏิบัติเบื้องต้น (การปฐมพยาบาล) และการพบแพทย์เมื่อถูกงูกัด ได้แก่

  1. ให้ผู้ป่วยอยู่นิ่งๆ อย่าเคลื่อนไหว ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย และให้บริเวณที่ถูกงูกัดอยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจเพื่อให้พิษนั้นเคลื่อนเข้าไปในร่างกาย/กระแสเลือดได้ช้า
  2. ถอดแหวนหรือสิ่งที่รัดบริเวณที่งูกัด เนื่องจากถ้าบวมจะถอดออกไม่ได้ และหาสิ่งดาม หรือทำที่ตรึงหลวมๆ ตรึงบริเวณที่ถูกงูกัดเพื่อลดการเคลื่อนไหว เพราะยิ่งเคลื่อนไหว พิษงูยิ่งเข้าสู่ร่างกายได้เร็วขึ้น
  3. ดูอาการบริเวณที่ถูกงูกัด ถ้าบวม หรือมีสีเปลี่ยนให้สงสัยว่าถูกงูพิษกัด
  4. หากทำได้ ควรตรวจดูสัญญาณชีพ ว่าชีพจรเบาเร็วหรือไม่ การหายใจและ ความดันโลหิตสูง ปกติหรือไม่ มีไข้ หรือไม่ ถ้ามีอาการช็อก เช่น หน้าซีดขาว เวียนศีรษะ หน้ามืด ให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าสูงประมาณ 1 ฟุต และห่มผ้าห่มให้
  5. รีบนำไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด (ฉุกเฉิน) อย่าวางใจว่าอาการปวดไม่มาก อาจไม่มีอันตรายเพราะบางคน ครั้งแรกที่ถูกกัดไม่ปวดแต่พอมีอาการปวด อาการอื่นๆก็รุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ และในระหว่างทางควรโทรศัพท์แจ้งโรงพยาบาลเพื่อการเตรียมเซรุมได้รวดเร็วที่สุด
  6. ถ้าทำได้ และปลอดภัยต่อผู้ดูแล ให้นำงูตัวที่กัดและถูกตีตายไปให้แพทย์ดูด้วย หรือถ่ายรูปงูไปให้แพทย์ดู แต่อย่ามัวเสียเวลากับการไล่ล่างู เพราะงูอาจจะกัดได้แผลใหม่อีก และต้องระวังด้วยว่า งูตัวที่ตีตายแล้วนั้นขณะนำมาให้แพทย์ดู อาจสามารถงับคนได้อีก (จากปฏิกิริยาที่เรียกว่ารีเฟล็กซ์/ Reflex) ซึ่งอาจ จะเกิดได้ภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากงูเสียชีวิตแล้ว จึงต้องระวังตรงบริเวณหัวงูไว้ด้วย
  7. หลังพบแพทย์ และแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน ให้ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ รวมทั้งในการดูแลแผลงูกัด
  8. เมื่อแพทย์นัด ให้พบแพทย์ตามนัด แต่เมื่อกังวลในอาการ หรืออาการต่างๆเลวลง เช่น แผลเลวลง ปวดแผลมากขึ้น หรือแผลบวมมากขึ้น หรือมีไข้ ให้รีบพบแพทย์ก่อนนัด โดยควรพบแพทย์ภายใน 1-2 วันหลังจากมีอาการผิดปกติ และรีบพบแพทย์ฉุกเฉิน ถ้ากลับมามีอาการผิดปกติรุนแรง เช่น มีเลือดออกไม่หยุดจากบริเวณใดก็ได้ ไข้สูง มีแขน ขาอ่อนแรง หรือคลื่นไส้ อาเจียน

สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อถูกงูกัด

เมื่อถูกงูกัด ต้อง ไม่

  1. ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยออกกำลังมาก หรือเคลื่อนไหวมากเกินไปเพราะพิษงูจะเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็วขึ้น ถ้าจำเป็นอาจต้องให้ผู้ป่วยนั่ง หรือนอนในรถนั่ง หรือนอนราบ
  2. ไม่รัดแน่นบริเวณที่ถูกงูกัด การรัดอาจทำให้เนื้อตาย หรือบวมเพราะขาดเลือดไปเลี้ยง ควรใช้ผ้าหรือเชือกพันเหนือบริเวณที่ถูกกัดกับไม้แผ่นเล็กๆ และให้นิ้วมือสอดเข้าใต้ผ้าหรือเชือกที่รัดได้ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยสบายได้หลายชั่วโมงและไม่ควรถอดเชือกหรือผ้าที่ผูกไว้จนกว่าจะไปถึงโรงพยาบาล เนื่องจากพิษงูจะเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็วขึ้นเมื่อถอดเชือกหรือผ้าออก อย่างไรก็ตามวิธีนี้อาจไม่ได้ผลในกลุ่มงูที่ทำให้เกิดพิษเฉพาะที่ เช่น งูเห่า งูเขียวหางไหม้
  3. ไม่ประคบบริเวณที่ถูกงูกัด เพราะพิษงูอาจเข้าสู่กระแสเลือดเร็วขึ้น ส่วนการประคบเย็นอาจทำให้เนื้อเยื่อตายเพิ่มมากขึ้น
  4. ไม่ใช้ของมีคมกรีด หรือใช้ไฟฟ้าจี้บริเวณที่ถูกงูกัด หรือพอกยาบริเวณแผลเนื่องจากอาจมีการติดเชื้อรุนแรงที่แผลได้
  5. ไม่ใช้ปากดูดพิษงู เพราะพิษจะก่ออันตรายต่อผู้ดูดพิษงู หรือก่อการติดเชื้อต่อแผลงูกัดได้
  6. ไม่ให้ผู้ป่วยกินยา หรือสารกระตุ้น หรือยาแก้ปวด ยกเว้นจะได้รับการแนะ นำโดยแพทย์ หากปวดมากให้ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) และไม่ให้ดื่มแอลกอฮอล์เพราะอาจทำให้ประเมินความรู้สึกตัวของผู้ป่วยผิดพลาด
  7. ไม่ให้ผู้ป่วยกินอาหาร หรือดื่มน้ำ เพราะอาจก่อการสำลัก อุดทางเดินหาย ใจ เสียชีวิต หรือ เกิดภาวะปอดติดเชื้อ/ปอดบวมรุนแรงได้ โดยเฉพาะในผู้ที่ได้รับพิษงูที่มีผลต่อระบบประสาท
  8. ไม่ยกอวัยวะที่ถูกงูกัดอยู่เหนือระดับหัวใจ เพราะพิษงูจะเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็วขึ้น

แพทย์รักษาผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัดอย่างไร?

แพทย์รักษาผู้ป่วยถูกงูพิษกัด โดย

  1. แพทย์จะประเมินการหายใจ ระบบหัวใจ ว่ายังทำงานได้ปกติหรือไม่ หรือต้องการการรักษาเบื้องต้นอย่างไร หากผู้ป่วยรัดเหนือแผลมาจะคลายเชือกที่รัดออก (หลังจากประเมินผู้ป่วยแล้ว) ทำแผลให้สะอาด
  2. แพทย์จะซักประวัติเรื่องงูกัด เวลาที่ถูกกัดก่อนมาถึงโรงพยาบาล หรือว่าตัวงูที่นำมาเป็นงูชนิดใด หากไม่รู้จัก แพทย์จะเปรียบเทียบรูปงูกับหนังสือหรือทางอินเตอร์เน็ต แพทย์จะตรวจดูว่างูกัดจริงหรือไม่ โดยดูรอยเขี้ยว (Fang mark)
  3. แพทย์จะประเมินว่างูที่กัดมีพิษหรือไม่มี หากมีพิษเป็นพิษชนิดใด พิษต่อระบบประสาท ระบบเลือด หรือระบบไต โดยแพทย์จะเจาะเลือดตรวจหาความผิด ปกติในเลือดตามหลักฐานและความจำเป็น
  4. แพทย์จะดูอาการว่า มีอาการเฉพาะที่บริเวณที่กัด หรืออาการทั่วร่างกายและอาการรุนแรงระดับใด น้อย ปานกลาง หรือมาก (แพทย์จะมีแนวทางในการประเมิน) อาการแรกที่บ่งบอกว่ามีพิษงูเข้าสู่ร่างกาย มักจะเป็นอาการที่ไม่จำเพาะ ได้ แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ดังนั้นถ้ามีอาการเหล่านี้ อาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติมเพื่อตรวจหาอาการของพิษงูต่างๆทันที เช่น ตรวจเลือดซีบีซี (CBC) หรือ ดูการทำงานของไต
  5. แพทย์จะพิจารณาการให้เซรุ่มแก้พิษงู ตามข้อบ่งชี้ และตามชนิดงู
  6. แพทย์จะรักษาประคับประคองอื่นๆตามข้อบ่งชี้ และเมื่อมีอาการที่จำเป็น ต้องให้การรักษา เช่น ให้เลือดและส่วนประกอบของเลือดในกรณีงูพิษมีผลต่อระบบเลือด ใส่เครื่องช่วยหายใจในกรณีหายใจไม่ได้เนื่องจากพิษมีผลต่อระบบประสาท ล้างไตในกรณีไตวาย รักษาภาวะช็อกถ้ามีภาวะช็อก รักษาภาวะติดเชื้อหากมีข้อบ่งชี้ และให้วัคซีนกันโรคบาดทะยักแก่ผู้ป่วย ให้ยาแก้ปวด และรักษาแผล
  7. ในกรณีที่ผู้ป่วยถูกงูพิษกัด แต่ยังไม่มีอาการ แพทย์มักให้ผู้ป่วยนอนโรง พยาบาลเพื่อติดตาอาการอย่างน้อย 24 ชั่วโมง โดยดูแลอาการที่อาจเกิดตามมาอย่างใกล้ชิด

ป้องกันงูกัดอย่างไร?

การป้องกันงูกัดเป็นการรักษางูกัด และป้องกันผลข้างเคียงจากงูกัดที่ดีที่สุดซึ่งได้แก่

  1. หลีกเลี่ยงไม่เข้าไปในบริเวณที่งูชอบซ่อนตัวอยู่ เช่น ใต้ก้อนหิน ท่อนไม้ ที่รกๆ หรือกองเสื้อผ้า สิ่งของในที่มืดๆ โดยเฉพาะในช่วงน้ำท่วมที่งูหนีน้ำมา เมื่อเข้าห้องน้ำที่ตั้งอยู่ในที่ต่ำซึ่งงูซ่อนตัวได้ถึง ควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ
  2. อย่าเล่นกับงู ยกเว้นจะมีการฝึกมาอย่างดี
  3. เมื่อจะเดินไปในบริเวณที่รกๆ หรือที่มืดๆ ให้เอาไม้ตีแหวกทางเพื่อให้งูหนีไปก่อนเพื่อแน่ใจว่าไม่มีงูอยู่
  4. หากต้องเดินไปในบริเวณที่งูชุกชุม ควรใส่กางเกงขายาวและรองเท้าบู๊ท

ที่มา   https://haamor.com/th/งูกัด/

อัพเดทล่าสุด