ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)


1,147 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ทั้งตัว  ระบบโรคติดเชื้อ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ไข้  เจ็บคอ  ปวดศีรษะ 

ทั่วไป

ไข้หวัดใหญ่ หรือ ฟลู (Influenza หรือ Flu) เป็นอีกโรคพบบ่อยในทุกอายุทั้งในเด็กจนถึงผู้สูงอายุ และมีโอกาสเกิดใกล้เคียงกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย เป็นโรคเกิดได้ตลอดปี แต่พบได้สูงขึ้นในช่วงฤดูหนาว

โรคไข้หวัดใหญ่เกิดได้อย่างไร?

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคเกิดจากติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (influenza viruses) เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจเช่นเดียวกับโรคหวัด (ไข้หวัดธรรมดา หรือ ไข้หวัด) แต่จากไวรัสคนละชนิด และมีความรุนแรงสูงกว่าโรคหวัดธรรมดามาก

ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีหลายสายพันธุ์ย่อย ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ย่อยมีความรุนแรงของโรคต่างกัน และเป็นไวรัสในกลุ่มเดียวกับไวรัสไข้หวัดนก แต่เป็นคนละสายพันธุ์ย่อย

โรคไข้หวัดใหญ่มีอาการอย่างไร?

อาการสำคัญของโรคไข้หวัดใหญ่ ที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้สูง บางครั้งสูงมาก 38-41°C (เซลเซียส) โดยไข้ขึ้นสูงภายใน 1 วันปวดศีรษะมาก ปวดกระบอกตาเวลาตาเคลื่อนไหว มีน้ำตาไหลเมื่อมีแสงสว่าง ปวดกล้ามเนื้อ/ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลียมากไอแห้งๆ เจ็บคอ คัดจมูก เบื่ออาหาร ทั้งหมดเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่อาการที่อาจพบได้ และ เป็นอาการรุนแรงกว่า เช่น หายใจเหนื่อย หอบ หายใจมีเสียงหวีด ไอรุนแรง หนาวสั่น คลื่นไส้ ท้องเสีย มึนงง ซึม และ/หรือ หัวใจล้มเหลว

โรคไข้หวัดใหญ่รุนแรงไหม? มีโรคแทรกซ้อนไหม?

โดยทั่วไป ในโรคไข้หวัดใหญ่ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน อาการไข้ และ อาการต่างๆ จะดีขึ้นภายใน 5-7 วัน ผู้ป่วยจะค่อยๆฟื้นตัวกลับเป็นปกติ แต่ในเด็กเล็ก คนท้อง ในผู้สูงอายุ หรือ เมื่อมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ (กลุ่มเสี่ยง) ภายหลังไข้ลง อาจยังมีอาการอ่อนเพลียมากต่อเนื่อง ได้อีกหลายสัปดาห์

โรคแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่ มีทั้งชนิดไม่รุนแรง และชนิดรุนแรง ชนิดไม่รุนแรง เช่น การอักเสบของ หูชั้นกลาง และ ของไซนัส แต่เมื่อมีโรคแทรกซ้อนชนิดรุนแรง ซึ่ง มีโอกาสเกิดสูงในบุคคลกลุ่มเสี่ยง อาจเป็นสาหตุให้เสียชีวิตได้ เช่น

โรคไข้หวัดใหญ่ติดต่ออย่างไร?

โรคไข้หวัดใหญ่ติดต่อได้โดยวิธีเช่นเดียวกับโรคหวัด โดยติดต่อ

  • ทางการหายใจจาก การไอ จามของผู้ป่วย
  • จากเชื้อที่อยู่ในละอองอากาศเข้าสู่จมูกจากการหายใจ หรือสัมผัสกับเยื่อตา หรือ เยื่อเมือกช่องปาก
  • และจาก สัมผัสเชื้อโดยตรง เช่น จากมือสัมผัสเชื้อ แล้วมือเช็ดปาก หรือ ขยี้ตา ซึ่ง การแพร่กระจายเกิดได้สูงในสัปดาห์แรกของอาการ

แพทย์วินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่ได้อย่างไร?

โดยทั่วไป แพทย์วินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่ ได้จาก อาการ และ การตรวจร่างกาย แต่ที่แน่นอน คือ การตรวจเพาะเชื้อ จากลำคอโพรงหลังจมูก และ เสมหะ และ การตรวจเลือด ดูสารภูมิต้านทานโรค

โรคไข้หวัดใหญ่รักษาอย่างไร?

โรคไข้หวัดใหญ่มีแนวทางดูแลรักษาเช่นเดียวกับในโรคหวัด ซึ่งที่สำคัญ คือ พักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ (เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม) ให้ยาลดไข้พาราเซตามอล หรือ ตามแพทย์แนะนำ (ห้ามใช้ยา แอสไพรินการแพ้ยาแอสไพริน) ไม่ควรกินยาปฏิชีวนะเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ในรายที่รุนแรง หรือ กลุ่มเสี่ยง อาจรักษาโดยยาต้านไวรัสตั้งแต่เริ่มมีอาการ โดยเฉพาะในเด็ก เพราะอาจเกิด

มีวิธีดูแลตนเองอย่างไร? และควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเอง/การพบแพทย์ เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ ที่สำคัญ คือ

โรคไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้ไหม?

โรคไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้ ที่สำคัญ คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน พักผ่อนให้มากๆ กินอาหารมีประโยชน์ให้ครบห้าหมู่ทุกวัน โดยเพิ่มผัก/ผลไม้มากๆ
  • ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ และทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีสัมผัสผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการไปในที่แออัด
  • รักษาความสะอาดของใช้ส่วนตัว เช่น ไม่ใช้ช้อน แก้วน้ำ ร่วมกับบุคคลอื่น
  • ไม่ใช้มือไม่สะอาดขยี้ตา ล้างมือก่อนเมื่อจะสัมผัสดวงตา
  • รู้จักใช้หน้ากากอนามัย
  • เมื่อเป็นกลุ่มเสี่ยง หรือ ต้องดูแลผู้ป่วย ควรปรึกษาแพทย์ขอรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ต่างจากโรคหวัดไหม?

โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคหวัด เป็นคนละโรค แต่มีวิธีติดต่อ อาการ วิธีวินิจฉัย และแนวทางการรักษาในระยะแรกเหมือนกัน ที่แตกต่าง คือ


ที่มา   https://haamor.com/th/ไข้หวัดใหญ่/

อัพเดทล่าสุด