ไข้ (Fever): อาการไข้ ตัวร้อน


1,175 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ทั้งตัว  ระบบโรคติดเชื้อ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ไข้ 

บทนำ

ไข้ (Fever หรือ Pyrexia) เป็นอาการ ไม่ใช่โรค (โรค อาการ ภาวะ) เป็นอาการซึ่งร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองเมื่อมีการติดเชื้อโรค หรือมีการเจ็บป่วยจากสาเหตุบางสาเหตุ เช่น การอักเสบของเนื้อเยื่อจากโรคภูมิต้านตนเองโดยไข้จะเกิดอยู่เพียงชั่วคราว เฉพาะในช่วงเกิดโรค หรือมีการเจ็บ ป่วย

ในการวินิจฉัยว่า เป็นไข้ หรือ มีอาการไข้ ที่แน่นอน คือ การวัดอุณหภูมิร่าง กายด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย ซึ่งโดยทั่วไปรู้จักกันในนามของปรอทวัดไข้ เพราะใช้สารปรอทที่บรรจุอยู่ในท่อหลอดแก้วเป็นตัวบอกค่าอุณหภูมิ ทั้งนี้ ที่นิยมที่สุด คือ การวัดที่ใต้ลิ้น หรือ เรียกว่า อมปรอท แต่วิธีนี้ไม่สามารถใช้กับคนที่ไม่สามารถอมปรอทได้ เช่น เด็กอ่อน เด็กเล็ก หรือผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ซึ่งคนไข้ในกลุ่มนี้ มักวัดปรอททางรักแร้ (หนีบปรอทไว้ใต้รักแร้) หรือ สอดปรอทวัดไข้ทางทวารหนัก นอกจากนั้นในปัจจุบัน ยังมีเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายชนิดใหม่ๆที่สะดวกกว่าปรอทวัดไข้ แต่ราคาแพงกว่า เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิฯผ่านทางรูหูเครื่องวัดอุณหภูมิฯทางผิวหนัง และเครื่องวัดอุณหภูมิฯสำหรับคนหมู่มากเมื่อมีการระบาดของบางโรค เป็นต้น

อุณหภูมิปกติของร่างกาย ไม่คงที่ แต่แปรเปลี่ยนได้เสมอ ประมาณ 0.5-1 องศาเซลเซียส (Celsius) ในแต่ละวัน ทั้งนี้ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ช่วงเวลาของวัน (อุณหภูมิร่างกายจะต่ำสุดในช่วง 6 โมงเช้า และจะสูงสุดในช่วง 4 โมงเย็น) ในผู้ หญิงช่วงตกไข่ (อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้น) ขณะเล่นกีฬา (อุณหภูมิจะสูงขึ้น) อุณหภูมิในสิ่งแวดล้อม (ถ้าอากาศร้อน อุณหภูมิของร่างกายจะสูงขึ้น และเมื่ออากาศเย็นอุณหภูมิของร่างกายก็จะต่ำลง) อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้นเมื่อใส่เสื้อผ้าหนาๆโดยเฉพาะในเด็กอ่อน หรือ ขึ้นกับตำแหน่งการวัดอุณหภูมิ (อุณหภูมิจะสูงสุดเมื่อวัดผ่านทางทวารหนัก และอุณหภูมิจะต่ำสุดเมื่อวัดทางผิวหนัง)

อย่างไรก็ตาม ยอมรับกันในทุกวงการ และในทางการแพทย์ว่า อุณหภูมิปกติของร่างกาย คือ 37 องศาเซลเซียส หรือ องศาซี (°C) หรือ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ (Fahrenheit) หรือ องศาเอฟ (°F) แต่ประเทศไทยนิยมใช้ องศาเซล เซียสมากกว่าองศาฟาเรนไฮต์ ดังนั้น ในบทความนี้ต่อไป เมื่อกล่าวถึงอุณหภูมิของร่างกาย จะกล่าวเฉพาะเป็นองศาเซลเซียสเท่านั้น

อุณหภูมิที่ถือว่า เป็นไข้ หรือมีไข้ โดยทั่วไป คือ สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ถ้าสูงไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส เรียกว่า ไข้ต่ำ แต่ถ้าสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส เรียกว่า ไข้สูง และถ้าสูงเกิน 41.5 องศาเซลเซียส เรียกว่า ไข้สูงเกิน (Hyperpyrexia) ซึ่งจัดว่าอันตรายที่สุด มักเกิดจากการติดเชื้อชนิดมีความรุนแรงสูงมากในกระแสโลหิต (เลือด) แต่ที่พบบ่อย คือ เกิดจากภาวะมีเลือดออกในสมอง

อนึ่ง อุณหภูมิของร่างกาย จัดเป็นหนึ่งในสัญญาณชีพ (Vital sign) ซึ่งแสดงถึงการมีชีวิต และเป็นตัวบอกถึงความเจ็บป่วย ซึ่งเมื่อเราเจ็บป่วยและไปพบแพทย์ การตรวจพื้นฐานตั้งแต่แรกสำหรับผู้ป่วยทุกคน คือ การตรวจวัดสัญญาณชีพ ซึ่งได้แก่อุณหภูมิร่างกาย (Temperature หรือ T) ชีพจร (Pulse หรือ P) ความดันโลหิต/ความดันเลือด (Blood pressure หรือ BP/บีพี) และอัตราการหายใจ (Respiratory rate หรือ R หรือ RR/ อาร์อาร์)

ไข้เกิดได้อย่างไร?

อุณหภูมิปกติของร่างกาย เกิดจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อ และตับ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของสมองส่วนที่เรียกว่า ไฮโปธาลา มัส (Hypothalamus) ซึ่งเป็นสมองส่วนอยู่ลึกของสมองใหญ่ ทั้งนี้การควบคุมอุณหภูมิของร่าย จะโดยการกำจัดความร้อนที่เกิดในร่างกายออกทางเหงื่อ (ทางผิวหนัง) และทางการหายใจ (ทางปอด)

เมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อ หรือจากบางสาเหตุ จะส่งผลกระตุ้นให้สมองไฮโปธาลามัส ตอบสนองด้วยการปรับอุณหภูมิร่างกายให้สูงขึ้น เนื้อเยื่อที่จะทำหน้า ที่เพิ่มอุณหภูมิของร่างกายตามคำสั่งของสมอง คือ กล้ามเนื้อ และหลอดเลือด โดยหลอดเลือดจะหดตัวเพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนแพร่กระจายออกทางผิวหนัง และทางปอด ซึ่งการหดตัวของหลอดเลือดนอกจากส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นแล้ว จะส่งผลให้ผู้มีไข้รู้สึกหนาว จากมีการลดปริมาณของเลือดที่หล่อเลี้ยง นอกจากนั้นกล้ามเนื้อต่างๆจะหดเกร็ง จึงก่ออาการหนาวสั่น ทั้งหมด คือ อาการไข้ขึ้น แต่เมื่อการกระตุ้นสมองไฮโปธาลามัสลดลง สมองไฮโปธาลามัสจะตอบ สนองด้วยการปรับลดอุณหภูมิร่างกาย หลอดเลือดจะกลับมาขยาย เนื้อเยื่อต่างๆ ได้รับเลือดเพิ่มขึ้นอุณหภูมิในเนื้อเยื่อเหล่านั้น จึงเพิ่มขึ้น ร่างกายจึงขับความร้อนออกทางเหงื่อ ดังนั้นจึงเกิดอาการเหงื่ออกเมื่อไข้ลดลง

ไข้มีสาเหตุจากอะไร?

สาเหตุสำคัญและพบบ่อยที่ทำให้เกิดไข้ คือ จากการติดเชื้อโรคชนิดต่างๆ ที่พบบ่อย คือ จากเชื้อไวรัส (ไวรัส: โรคจากติดเชื้อไวรัส) เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคหัด และจากเชื้อแบคทีเรีย (แบคทีเรียโรคจากติดเชื้อแบคทีเรีย) เช่น โรคไข้จับสั่น โรคไอกรน โรคไส้ติ่งอักเสบ โรคฉี่หนู และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ไข้ จากสาเหตุอื่นๆที่พบได้บ้าง เช่น จากโรคภูมิต้านตนเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอย และโรคมะเร็ง

น้อยครั้ง ผู้ป่วยอาจมีไข้ และแพทย์หาสาเหตุไม่ได้ เรียกว่า เอฟยูโอ ( FUO, Fever of unknown origin) หรือ พียูโอ (PUO, Pyrexia of unknown origin)

ไข้มีอาการอย่างไร?

อาการที่มักเกิดจากร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ หรือมีไข้ ได้แก่

อนึ่ง นอกจากอาการดังกล่าว ไข้ยังมักเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ ซึ่งแตกต่างกันตามสาเหตุของไข้ เช่น ปวดท้องด้านขวาตอนล่างร้าวมาสะดือ หรือ จากสะดือร้าวมาช่องท้องด้านขวาตอนล่าง เมื่อไข้เกิดจากไส้ติ่งอักเสบ หรือ มีผื่นขึ้นตามตัว เมื่อไข้เกิดจากโรคหัด เป็นต้น

แพทย์วินิจฉัยสาเหตุของไข้ได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุของไข้ ได้จากประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และการวัดอุณหภูมิร่างกาย (วิธีวัดปรอท) ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการวัดทางปาก หลังจากนั้น จึงเป็นการตรวจต่างๆเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการไข้ ซึ่งถ้าสาเหตุเกิดจากโรคทั่วไปที่พบเป็นประจำ แพทย์มักวินิจฉัยสาเหตุเพียงจากประวัติอาการและการตรวจร่างกาย และให้การรักษาได้เลย แต่บางครั้ง เมื่อแพทย์ไม่แน่ใจในสาเหตุ จึงมีการตรวจเพิ่มเติมตามดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะการตรวจซีบีซี (CBC) การตรวจปัสสาวะ และเอกซเรย์ปอด เป็นต้น

รักษาไข้ได้อย่างไร?

การรักษาไข้ มี 3 วิธีหลัก คือ การลดไข้ การรักษาสาเหตุ และการรักษาประคับประคองตาอาการ

 

ไข้รุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?

โดยทั่วไป ไข้เป็นอาการที่ไม่รุนแรง มักหายได้เสมอ (ไข้ลง) ภายใน 2-3 วันเมื่อได้รับการรักษาสาเหตุ แต่ถ้าไข้สูงเกิน อาจก่อผลข้างเคียง คืออาการทางสมองได้ ดังได้กล่าวแล้ว หรือ เมื่อไข้สูงในเด็กเล็ก มักก่ออาการชักได้

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อมีไข้? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเองเมื่อมีไข้ ที่สำคัญ คือ การรู้อุณหภูมิของร่างกาย เพราะเป็นตัวบอกความรุนแรงของโรค ดังนั้นจึงควรวัดอุณหภูมิร่างกาย (วิธีวัดปรอท) เสมอ อย่างน้อย ทุก 6-8 ชั่วโมง หรือเมื่อสงสัยว่าไข้ขึ้น หรือ ไข้สูง (เช่น ปวดศีรษะมากขึ้น ซึมลง หรือกระสับกระส่ายมาก)

การดูแลตนเองในเรื่องอื่นๆ ได้แก่

 

ป้องกันไข้ได้อย่างไร?

การป้องกัน ไข้ คือ การป้องกันสาเหตุ ซึ่งสาเหตุ ไข้ที่พบบ่อยที่สุด คือ จากการติดเชื้อโรค ดังนั้นการป้องกันไข้ คือ การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งที่สำคัญ คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ)
  • รู้จักใช้หน้ากากอนามัย
  • หลีกเลี่ยงการไปในที่แออัดในช่วงมีการระบาดของโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสคลุกคลีกับผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ตั้งแต่แรกเกิด และเป็นระยะๆตาม สาธารณสุข แพทย์ พยาบาล แนะนำ
 
ที่มา   https://haamor.com/th/ไข้/

อัพเดทล่าสุด