Laser (เลเซอร์) การใช้ แสงเลเซอร์ รักษาโรคผิวหนัง


1,119 ผู้ชม


Laser (เลเซอร์)

การใช้ แสงเลเซอร์ รักษาโรคผิวหนัง

รักษาโรคผิวหนัง ด้วย แสงเลเซอร์

          แสงเลเซอร์ ( LASER, Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation) ได้ถูกนำมาใช้รักษาโรคผิวหนัง มานานกว่า 20 ปี โดยเริ่มจากการประดิษฐ์เครื่องเลเซอร์ ผลึกทับทิม โดย Maiman ในปี ค.ศ. 1960 โดยอาศัยหลักการของทฤษฎี Quantum ที่ว่า เมื่อ อิเล็คตรอน ในชั้นของระดับพลังงานปรกติถูกกระตุ้น ขึ้นไปอยู่ในชั้นที่พลังงานสูงกว่า ภาวะนี้จะไม่คงทน และอิเล็คตรอนจะลดลงสู่ระดับที่พลังงานต่ำกว่า พร้อมทั้งคายพลังงานออกมา พลังงานที่ปล่อยออกมานี้ จะไปกระตุ้นอิเล็คตรอนอื่นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดกระบวนการที่เรียกว่า Stimulated emission of radiation  เมื่อให้มีการสะสมพลังงาน โดยการให้แสงวิ่งสะท้อนไปมาระหว่างกระจกสะท้อนแสง พลังงานสะสมจะสูงพอ ที่ก่อให้เกิดปฏิกริยาต่อเนื้อเยื่อ จึงปล่อยให้ ผ่านออกมาตามระบบนำแสง เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย 

แสงเลเซอร์ จากผลึกทับทิม เป็น แสงเลเซอร์ ชนิดแรก ที่มีการนำมาใช้รักษาโรคผิวหนัง โดยมีการนำมารักษาปานสีดำ  ผลการรักษาไม่ดีนัก มีแผลเป็นมาก และเครื่องมือมีขนาดใหญ่ และยุ่งยาก ทำให้ไม่ได้รับความสนใจ 

เครื่อง เลเซอร์ ในยุคต่อมาได้แก่เครื่อง เลเซอร์ ชนิดอาร์กอน และ เครื่อง เลเซอร์ ชนิด คาร์บอนไดอ็อกไซด์  แสงเลเซอร์ ชนิดอาร์กอน ให้ช่วงคลื่นระหว่าง 488 ถึง 514 nm ซึ่งดูดซับแสงได้ดี โดยฮีโมโกลบิน ได้มีการนำมารักษาโรคของเส้นเลือด เช่น Hemangioma ถึงแม้จะได้ผลบ้าง แต่มักจะเกิดแผลเป็น หรือ รอยด่างขาวถาวร แสงเลเซอร์ ชนิดคาร์บอนไดอ็อกไซด์ ซึ่งให้แสง ช่วงคลื่น 10,600 nm ได้ถูกนำมาใช้ ผ่าตัดและทำลายเนื้อเยื่อ โดยความหวังว่าจะได้ผลดีกว่ามีด และเครื่องจี้ไฟฟ้า แต่กลับพบว่าเครื่อง เลเซอร์ ในยุคแรก ที่ให้แสงต่อเนื่อง มีความร้อนต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงมาก ทำให้แผลหายช้า และมีรอยแผลเป็น การพยายามลดการแพร่กระจายของความร้อน โดยการเลือกใช้ แสงที่ดูดซับได้ดีเฉพาะส่วนประกอบที่ต้องการทำลาย เช่น แสงช่วงคลื่น 570 nm ของเครื่อง เลเซอร์ ไอทองแดง (Copper vapor ) , ช่วงคลื่น 532 nm ของ Potassium tetranyl phosphate (KTP) หรือ ช่วงคลื่น 577 ของเลเซอร์ชนิด Dye พบว่าแม้จะได้ผลดีขึ้นบ้าง โดยการจำกัดความร้อนอยู่เฉพาะเป้าหมาย แต่ลักษณะของแสง ซึ่งเป็นลำแสงต่อเนื่อง ยังคงทำให้เกิดความร้อนแพร่กระจายได้มาก และผลการรักษาไม่ดีขึ้นมากนัก การยิงแสงเป็นช่วงสั้นๆ เช่น Chopped wave หรือ Superpulse ทำให้การผ่าตัด ด้วย แสงเลเซอร์ ชนิดคาร์บอนไดอ็อกไซด์ช้าลง แต่การลดการเกิดแผลเป็น ไม่ได้ดีอย่างที่คาดหวัง 

วิวัฒนาการของการนำ แสงเลเซอร์ มาใช้ทางโรคผิวหนัง ได้ถึงช่วงของการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง จากการศึกษาถึงความสัมพันธ์ ระหว่าง แสงเลเซอร์ และ เนื้อเยื่อ โดยAnderson และคณะ ในปี ค.ศ. 1986 นำไปสู่การเสนอทฤษฎี Selective Photothermolysis ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนา เครื่อง เลเซอร์ ชนิด ยิงแสงเป็นช่วงสั้น (Pulse Laser) เพื่อจำกัดการทำลาย เฉพาะเป้าหมาย โดยมีอันตรายต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงน้อย เครื่อง เลเซอร์ ที่พัฒนาขึ้นมาบนพื้นฐานนี้ มีหลายชนิด เช่น

เครื่อง เลเซอร์ Pulse Dye, 585 nm ซึ่งเหมาะในการรักษา ปานแดงชนิด Portwine stain, เครื่อง เลเซอร์ Pulse Dye, 510 nm สำหรับรักษาปัญหาสีผิวเข้ม เช่น กระสีน้ำตาล (Lentigines) ในการทำลายเป้าหมาย ที่มีขนาดเล็กมาก เช่น เม็ดสี (Melanin granules) หรือ สีที่สัก (Tattoos) ช่วงกว้างของ Pulse จะสั้นมากกว่า 100 nanosecond ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาเครื่อง เลเซอร์ ชนิด Q-Switched เครื่อง เลเซอร์ ที่อาศัยหลักการนี้ ที่มีใชัได้แก่ เครื่อง Q-Switched Nd:YAG , เครื่อง Q-Switched ruby และ เครื่อง Q-Switched Alexandrite ทั้งสามชนิดเหมาะในการรักษา Nevus of Ota และ  การลบรอยสัก 
รักษาโรคผิวหนัง ด้วย แสงเลเซอร์  
     ความเข้าใจในความสัมพันธ์ ระหว่างผลในการรักษา ระดับพลังงาน และระยะเวลาแสงตกกระทบ ได้นำไปสู่ การพัฒนา เครื่อง เลเซอร์ คาร์บอนไดอ็อกไซด์ ชนิด พลังงานสูงและ ช่วงยิงแสงสั้น ( Ultrapulse) , เครื่องควบคุมการยิงแสงด้วยสมองกล (Computerized Pattern Generator) , และเครื่องควบคุมการยิงแสง ชนิด Flashscan เครื่อง เลเซอร์ ชนิดนี้ สามารถใช้ลอกผิวหนัง ได้ตื้น และมีอันตรายจากความร้อนน้อย จึงสามารถนำมาใช้ในการลอกผิว (Resurfacing ) ซึ่งสามารถรักษา รอยย่น (Wrinkles) , รอยแผลเป็นชนิดหลุม (Pitted scars) , การเปลี่ยนแปลงจากแสง (Photoaging) และเนื้องอกชนิดตื้นหลายชนิด ได้ผลดี ถึงแม้การลอกผิว ด้วย แสงเลเซอร์คาร์บอนไดอ็อกไซด์ จะได้ผลดี แต่ในคนที่มีผิวสีเข้ม เช่น คนเอเซีย ปัญหาที่พบได้บ่อยคือ สีผิวคล้ำ (Post inflammatory hyperpigmentation) หรือ การเกิดรอยด่างขาว ( Hypopigmentation) จึงได้มีการพัฒนา เครื่อง เลเซอร์ Erbium:YAG ซึ่งให้ช่วงคลื่น 2940 nm แสงในช่วงคลื่นนี้ จะดูดซับได้ดีมากโดยน้ำ จึงสามารถลอกผิวหนังได้ตื้นๆ และไม่มีความร้อนแผ่กระจาย การทำการลอกผิวหนังในคนไทย เพื่อแก้ไขปัญหา รอยย่น หรือ รอยแผลเป็น พบว่าได้ผลดีมากรักษาโรคผิวหนัง ด้วย แสงเลเซอร์

วิวัฒนาการล่าสุด ในการรักษาด้วย แสงเลเซอร์ ได้แก่การปรับความกว้าง Pulse ให้เหมาะสมกับเป้าหมาย และเพิ่มพลังงานให้สูงขึ้น นำไปสู่การพัฒนา เครื่อง เลเซอร์ ชนิด Long pulse dye  สำหรับการรักษาเส้นเลือดที่ขาขยาย (Dilated superficial leg veins) และ เครื่อง เลเซอร์ ชนิด Long pulse ruby สำหรับการทำ การกำจัดขนถาวร การพยายามรักษาโรคมะเร็งผิวหนัง หรือโรคผิวหนังบางชนิด เช่น โรคสะเก็ดเงิน ด้วยการฉาย แสงเลเซอร์ ร่วมกับการให้ยาที่ไปสะสมที่เป้าหมาย และทำให้เกิดการทำลายเป้าหมายนั้น โดยการกระตุ้นให้เกิดSinglet oxygen  ซึ่งเป็นหลักการของ วิธีการที่เรียกว่า Photodynamic therapy สารที่ใช้ในระยะแรก เป็น สารในกลุ่ม Hematophophyrin แต่พบว่า มีปัญหาเรื่องการแพ้แสงหลังรักษาอยู่นาน จึงได้มีการพัฒนา สารดูดซับแสง ชนิดทาบริเวณรอยโรค ที่กำลังมีการศึกษาได้แก่ สาร 5- Aminolevulinic acid ร่วมกับ แสงเลเซอร์ ในช่วง 630 -635 nm ผลการรักษามะเร็งผิวหนังได้ผลดี 50-100 % ขึ้นอยู่กับชนิด และขนาดของมะเร็ง

สรุป การนำ แสงเลเซอร์ มารักษาโรค หรือแก้ไขปัญหาของผิวหนัง นับเป็นวิวัฒนาการ ที่สำคัญทางการแพทย์ ทําให้สามารถรักษาโรคหลายชนิด ที่ไม่เคยรักษาได้ หรือรักษาได้ผลไม่ดี ในการรักษาโรคบางชนิด ถึงแม้จะเคยรักษาได้บ้าง ด้วยวิธีอื่นๆ  การใช้ แสงเลเซอร์ได้ทำให้การรักษา สะดวกรวดเร็ว และได้ผลดีขึ้น อย่างไรก็ดี อุปกรณ์ เลเซอร์ จำเป็นต้องซื้อจากต่างประเทศ และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การลงทุนในอุปกรณ์ เลเซอร์เป็นการลงทุนที่สูงมาก หากไม่มีการศึกษา ถึงเทคโนโลยีอย่างลึกซึ้ง และพิจารณาถึงความคุ้มในการลงทุน ตลอดจนค่าใช้จ่าย ในการดูแลรักษาแล้ว การลงทุนในเทคโนโลยีนี้ อาจทำให้เกิดการสูญเสียเป็นอย่างมากได้
ที่มา   https://www.doctorcosmetics.com/read_content.php?id=1859&pagetype=articles

อัพเดทล่าสุด