ฝ้า Melasma ชนิดของฝ้า และ สาเหตุของ ฝ้า


1,033 ผู้ชม


ฝ้า Melasma

ชนิดของฝ้า และ สาเหตุของ ฝ้า

ฝ้า ชนิดของฝ้า การรักษาฝ้า ฝ้า Melasma คือ แผ่นสีน้ำตาลอ่อน หรือ น้ำตาลเข้ม บนใบหน้า มักพบได้ที่บริเวณโหนกแก้มทั้ง 2 ข้าง, หน้าผาก, จมูก, เหนือริมฝีปาก ฝ้า ที่เห็นนั้นเกิดจาก เซลล์สร้างเม็ดสี ในบริเวณผิวหนังทำงานผิดปกติ และส่งเม็ดสีขึ้นมาบนผิวหนังด้านบนเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ความเข้มของสีผิวไม่สม่ำเสมอ พบใน ผู้หญิง มากกว่า ผู้ชายและ พบมากในวัยกลางคนอายุประมาณ 30-40 ปี

ชนิดของ ฝ้า

ฝ้า แบ่งได้เป็น ๒ ชนิด ตามความลึกของการเกิด ฝ้า คือ ฝ้าแบบตื้นและ ฝ้าแบบลึก

ฝ้าแบบตื้น จะอยู่ในระดับผิวหนังกำพร้า (ผิวหนังชั้นนอก) มักมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลขอบชัด เกิดได้ง่าย และสามารถรักษาให้หายได้เร็ว นอกจากนี้ ฝ้า ชนิดนี้ยังรักษาโดยการใช้ ยาทาฝ้า อ่อนๆ และ ยากันแดด ก็สามารถลบเลือนให้หายได้ 

ฝ้าแบบลึก จะมีอาการผิดปกติ อยู่ในชั้นที่ลึกกว่าชนิดแรก โดยจะเกิด ฝ้า ในระดับที่ลึกกว่าผิวหนังกำพร้า จะเกิดความผิดปกติในระดับชั้นผิวหนังแท้ มีลักษณะเป็นสีม่วงๆ อมน้ำเงิน ขอบเขตไม่ชัด รักษาได้ยากกว่า ฝ้าชนิดตื้น และไม่ค่อยหายขาด การใช้ ยาทาฝ้า อ่อนๆ และ ยากันแดด เพียงแต่ช่วยให้ดีขึ้นเท่านั้น

บางคนก็เป็น ฝ้า ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรืออาจจะเป็นทั้ง ๒ ชนิดพร้อมกันก็ได้ ในการวินิจฉัยแยกชนิดของ ฝ้า ว่าเป็นชนิดใดนั้น ต้องได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือที่มีชื่อเรียกว่า Wood's lamp

ตำแหน่งที่พบ ฝ้า ได้บ่อย

ตำแหน่งที่พบ ฝ้า ได้บ่อย ได้แก่ บริเวณใบหน้าที่มีโอกาสสัมผัสกับแสงแดดมากๆ เช่น โหนกแก้ม หน้าผาก จมูก เหนือคิ้ว และบริเวณเหนือริมฝีปาก ซึ่งมักเป็นทั้งด้านซ้ายและขวาของร่างกายอย่างสมมาตรกัน ในบางคนอาจพบรอยดำได้ บริเวณหัวนม รักแร้ ขาหนีบ หรืออวัยวะเพศร่วมด้วย
     
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด ฝ้า

ฝ้า เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน มีผลทำให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างเม็ดสีในชั้นผิวหนัง ปัจจัยเหล่านี้อาจได้แก่

 1. แสงแดด เชื่อว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด แสงอัลตราไวโอเลตทั้ง เอ และ รวมทั้งแสง visible light เป็นตัวกระตุ้นให้เกิด ฝ้า หรือ ทำให้ ฝ้า เป็นมากขึ้นได้ทั้งสิ้น

2. ฮอร์โมน ด้วยอิทธิพลของ ฮอร์โมน จะทำให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย (เช่น การตั้งครรภ์, วัยหมดประจำเดือน) หรือได้รับ ฮอร์โมน จากภายนอกร่างกาย (เช่น รับประทานยาคุมกำเนิด, การใช้ เครื่องสำอาง บางชนิดที่มี ฮอร์โมน ผสมอยู่) จึงมักพบผู้ที่เป็น ฝ้า ขณะตั้งครรภ์ หรือ รับประทานยาคุมกำเนิดได้บ่อย 

3. ยา พบว่าผู้ที่รับประทานยากันชักบางชนิด มักเกิดผื่นดำคล้ายรอย ฝ้า ที่บริเวณใบหน้า จึงเชื่อว่ายานี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการเกิด ฝ้า

4. เครื่องสำอาง การแพ้ส่วนผสมในเครื่องสำอางอาจทำให้เกิดรอยดำแบบ ฝ้า ได้ ส่วนผสมเหล่านี้อาจเป็นพวกสารให้กลิ่นหอม หรือ สี 

5. พันธุกรรม เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากมีรายงานว่าเป็นในครอบครัวได้ถึง ร้อยละ 30-50 

6. ภาวะทุพโภชนาการ อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากพบผื่นแบบ ฝ้า ในผู้ที่มีหน้าที่การทำงานของตับผิดปกติ และ ผู้ที่ขาดวิตามิน บี 12 เป็น

การรักษา ฝ้า 

หลักการรักษาฝ้า มีดังนี้ 

1. พยายามหาสาเหตุ และแก้ไข หรือ หลีกเลี่ยงสาเหตุ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด ฝ้า เข้มขึ้น โดย

- หลีกเลี่ยงแสงแดด ใช้ ครีมกันแดด ที่มีค่าป้องกัน (SPF) สูง

- หลีกเลี่ยงการได้รับ ฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด, เครื่องสำอาง ที่มีฮอร์โมนผสมอยู่ หรือมี สารสเตียรอยด์ เป็นส่วนผสม

2. ทำให้ ฝ้า จางลง โดยการใช้ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี โดยไม่ทำลายเซลล์สร้างเม็ดสี

3. การขจัด ฝ้า Chemical  Peeling, การเร่ง ผลัด เซลล์ผิว ด้วย AHA TRETMENT , dermabrasionและการใช้เครื่องมือ เช่น เลเซอร์ ในรายที่แพทย์เห็นสมควร เช่น การลอกฝ้า

หลายๆคน คงมีคำถามในใจ นะคะ ว่า ฝ้า รักษาหายได้หรือไม่ ?

หน้าขาวใส ลดฝ้า กระจุดด่างดำ MESO THERAPY โดยไม่ต้องใช้เข็ม

คำตอบ ก็คือ ผลการรักษา ฝ้า ขึ้นกับ สาเหตุและชนิดของฝ้า ฝ้า ที่เกิดจากการรับประทานยาคุมกำเนิด หรือ ยากันชัก ถ้าหยุดยา ฝ้า จะค่อย ๆ จางหายไป เช่นเดียวกับ ฝ้า ที่เกิดระหว่างตั้งครรภ์ แต่บางรายอาจหายไม่หมด เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิด ฝ้า ได้ ฝ้า ชนิดลึก จะรักษายากกว่า ฝ้า ชนิดตื้น การหลีกเลี่ยงแสงแดด ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ ฝ้า หายเร็วขึ้น 

ทราบคำตอบแล้ว อย่าเพิ่งท้อ หรือ หมดกำลังใจ ในการรักษา ฝ้า นะคะ เพราะ ถึงแม้ว่า ฝ้า อาจจะไม่หายขาด แต่เราก็สามารถรักษา ฝ้า ให้จางลงได้ ค่ะ
ที่มา   https://www.doctorcosmetics.com/read_content.php?id=1608&pagetype=articles

อัพเดทล่าสุด