Transamin ยากินรักษาฝ้า รักษา ฝ้า ได้จริงหรือ


1,469 ผู้ชม


Transamin  ยากินรักษาฝ้า

รักษา ฝ้า ได้จริงหรือ

เพราะ ฝ้า เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่หลาย ๆ คนประสบอยู่ การรักษาฝ้าด้วยวิธีต่างๆ ล้วนมีค่าใช้จ่ายสูงด้วยกันทั้งสิ้น แต่ ยากินรักษาฝ้า ที่ชื่อ Transamin  นี้ ได้ผลในการรักษาฝ้า แถมยังราคาไม่แพงด้วยค่ะ แต่รู้หรือไม่ว่า มีผลข้างเคียง และ โทษจากการใช้ยาอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านเลยค่ะ 
ฝ้า เป็นความผิดปกติของการสร้างเม็ดสีบนผิวหนัง ทำให้ความเข้มของสีผิวไม่สม่ำเสมอ เป็นได้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย แต่พบในผู้หญิงมากกว่า และ พบมากในช่วงอายุ 30-40 ปีขึ้นไป
การทำให้ ฝ้า จางลงนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ไม่ว่าจะหลีกเลี่ยงแสงแดด ทาครีมที่ช่วยลดและยับยั้งการสร้างเม็ดสีบนผิวหนัง ทาครีมป้องกันแสงแดดที่มีค่า SPF สูงพอ หรือ การขจัดฝ้า ด้วยวีธีเร่งการผลัดเซลล์ผิว เช่น การทำ AHA TRETMENT, Dermabrasion , Laser แต่ค่าใช้จ่ายในการรักษา ล้วนมีราคาสูงด้วยกันทั้งสิ้น
และ อีกวิธีหนึ่งใน การรักษาฝ้า คือ การรับประทาน ยารักษาฝ้า ที่ชื่อว่า Transamin ซึ่งแท้จริงแล้ว เป็นชื่อทางการค้าของตัวยาTranexamic acidเป็นยาในกลุ่ม antifibrinolytic drug ที่ยับยั้งการทำลาย fibrinที่ศัลยแพทย์ ใช้รักษา Haemorrhage หรือ abnormal bleeding (ภาวะเลือดออกผิดปกติ) ต่างๆ มีผลทำให้เลือดหยุดไหล และ จากการใช้รักษานี้เอง สังเกตพบว่าให้ ผลข้างเคียงที่ทำให้ผิวขาวขึ้น และ ฝ้า จางลงได้

แพทย์ผิวหนังจึงนำมาประยุกต์ใช้ใน การรักษาฝ้า รอยด่างดำ ปรับสีผิวให้หน้าขาวขึ้น (มักใช้ในคนไข้ที่มีอายุ) ทั้งนี้ต้องคอยควบคุมปริมาณยา และ ช่วงระยะเวลาที่ใช้โดยแพทย์เพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงตามมา

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ ยา Transamin
ในการใช้ยา Transamin รักษาฝ้า นั้น ได้พบผลการวิจัยของ Maeda และ Naganumaในปี 1998 เกี่ยวกับการใช้Tranexamic acidในการป้องกันการเหนี่ยวนำให้เกิดpigmentation process จากการได้รับรังสี UV
ปรากฏว่า tranexamic acidซึ่งมีฤทธิ์เป็น plasmin inhibitor จะไปยับยั้งการหลั่งของ arachidonic acid และการสร้าง prostaglandins จึงทำให้ melanocyte tyrosinase activity ลดลง ส่งผลให้การสร้างmelanin ลดลงได้
โดยการศึกษานี้ ใช้หมูตัวผู้จำนวน ตัว ซึ่งได้รับรังสี UV 840 mJcm-2 ต่อเนื่องกันเป็นเวลา วัน เฝ้าสังเกตการสร้าง pigment ตลอดระยะเวลา จากนั้นจึงทา 2-3 % solution ของ Tranexamic acid ลงบนผิวหนังบางส่วนบริเวณที่ได้รับรังสี UV และ สังเกตุอาการต่อจนครบ 29 วัน จึงทำการวิเคราะห์ผลโดยวิธี Fontana-Masson method เพื่อหา melanin content พบว่าบริเวณที่ทาtranexamic acid มี melanin content ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้การทดลองดังกล่าวแม้จะได้ผลลัพธ์ออกมาดี แต่ถือเป็นการทดลองในสัตว์ ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่แตกต่างจากมนุษย์ อีกทั้งรูปแบบของ tranexamic acid ที่ใช้ ยังเป็นชนิดทา ไม่ใช้ ชนิดรับประทานอีกด้วย
ข้อบ่งชี้ในการใช้ ยา Transamin

ยา Tranexamic acid 1 แคปซูล จะมีปริมาณ 250 มก.ได้รับอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนเป็น'ยาห้ามเลือดช่วยให้เลือดหยุดไหล เช่น ภาวะเลือดออกผิดปกติในขณะผ่าตัด ใช้ป้องกันและทุเลาการเสียเลือดในผู้ป่วยโรคฮีโมฟิเลียที่ถอนฟัน ฯลฯ ซึ่งปกติแพทย์จะจ่ายยาให้กับคนไข้ใช้เพียงระยะเวลาสั้นๆ (ไม่เกิน 2-8 วัน) สำหรับรับประทานวันละ ครั้งๆ ละไม่เกิน 1-2 แคปซูล 


ข้อห้าม & ข้อจำกัด ผู้ที่ไม่ควรใช้ยา Transamin ได้แก่

ผู้ที่มีภาวะเลือดออกในสมอง &ผู้ที่มีโรคเส้นเลือดในสมอง (cerebrovascular disease)
ผู้ที่มีการมองเห็นผิดปกติ (accquired defective color vision)
ผู้ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด(cardiovascular disease)
ผู้ป่วยที่กำลังได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ผู้ป่วยโรคไตต้องปรับลดขนาดของยา
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
อาการไม่พึงประสงค์ที่มาจากการใช้ยา  Transamin
มีอาการในระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ฯลฯ อาการดังกล่าวจะสัมพันธ์กับปริมาณยาที่ร่างกายได้รับ
ทำให้เกิดการมองเห็น 'สีผิดปกติ
ปวดศีรษะ
ปวดกล้ามเนื้อ ถ่ายปัสสาวะบ่อย
เจ็บหน้าอก เนื่องจากอาจเกิดลิ่มเลือด (thrombosis)ไปอุดตันอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ และปอด ฯลฯ
∗∗มีรายงานทำให้สมองขาดเลือดและเซลล์สมองตาย (cerebral ischemia and infraction) ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ สมองขยายโต และ มีน้ำขัง (hydrocephalus) และอาจมีอาการทางจิต(psychiatric symptom) ร่วมด้วย∗∗
จะเห็นได้ว่า ยา Transamin ให้ผลในการรักษาฝ้า แต่ก็มีผลข้างเคียงที่น่ากลัวอยู่ไม่น้อยค่ะ การรับประทานยา Transamin จึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ทางที่ดีที่สุด ควรปรึกษาแพทย์ และ ให้แพทย์เป็นผู้จ่ายยาและควบคุมระยะเวลาในการใช้ยา อย่าซื้อยา Transamin รับประทานเองเลยค่ะ เพราะผลที่ได้อาจไม่คุ้มเสีย 
ที่มา   https://www.doctorcosmetics.com/read_content.php?id=1997&pagetype=articles

อัพเดทล่าสุด