สิว(Acne) สาเหตุ และ ประเภทของ สิว


1,159 ผู้ชม


สิว(Acne)

สาเหตุ และ ประเภทของ สิว

สิว บนใบหน้า นอกจากจะเป็นที่มาของความน่ารำคาญแล้ว ยังนำมาซึ่งความน่าอับอายและการเสียบุคคลิกภาพทางสังคมอย่างยิ่ง ปัญหานี้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในวัยรุ่นเท่านั้น โดยประมาณแล้ว 85% ของประชากรผู้ใหญ่ในช่วงอายุเวลาหนึ่งเคยประสบปัญหานี้แล้วทั้งนั้น 

สิวAcne ) เป็นโรคของต่อมไขมันซีบาเซียสของผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว อย่างไรก็ตาม สิวอาจพบได้ในทารกแรกเกิด (acne neonatorum) หรือเมื่อล่วงเข้าสู่วัยชรา (senile comedones) แล้ว โดยเป็นชายร้อยละ 33 และหญิงร้อยละ 67 สิวจะปรากฏอาการในผู้หญิงช่วงอายุ14-17 ปี และชายช่วงอายุ16-19ปี ความรุนแรงของสิวจะมากขึ้น 3-5 ปีหลังจากเริ่มเป็นสิว และมักหายไปในช่วงอายุ 20-25 ปี ร้อยละ85 ของผู้ที่เป็น สิวจะเป็นชนิดไม่รุนแรง มีเพียงร้อยละ 15 ที่เป็นสิวอักเสบรุนแรง

 ผู้ที่เป็น สิว มักมีหน้ามัน ซึ่งความมันบนใบหน้าก็สัมพันธ์กับความรุนแรงของสิว แต่ไม่แน่นอนเสมอไป สิวบนใบหน้ามีหลายรูปแบบ นอกจาก สิว แล้วยังมีร่องรอยที่หลงเหลือของ สิว ให้เห็นเป็นรอยแดง รอยดำ รอยบุ๋ม หรือ รอยนูนปรากฏให้เห็นด้วย

ประเภทของสิว

สิว แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ
สิวไม่อักเสบ (non-inflammatory acne) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1. สิวหัวปิด/สิวหัวขาว (closed or white head comedones) เห็นเป็นตุ่มนูนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-3 มม. สีเดียวกับผิวหนัง ท่อเปิดของต่อมไขมันที่ตุ่มเหล่านี้แทบจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และร้อยละ 75 ของสิวชนิดนี้จะกลายเป็นสิวอักเสบ
2. สิวหัวเปิด/สิวหัวดำ (open or black head comedones ) เห็นเป็นตุ่มนูนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 มม. มีจุดสีดำอยู่ตรงกลางซึ่งเกิดจากการขยายตัวของท่อไขมัน และมีสาร สีดำอุดแน่นอยู่ภายใน สารนั้นประกอบด้วย เคอราติน ไขมัน และ P.acnes
สิวอักเสบ(inflammatory acne)แบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ
 
1. papules เป็นตุ่มนูนแดงแข็งมีขนาดแตกต่างกันออกไป ร้อยละ50 ของสิวชนิดนี้เกิดจากสิวที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า(microcomedones) ร้อยละ25 เกิดจากสิวหัวปิด อีกร้อยละ 25 เกิดจากสิวหัวเปิด
2. pustules (สิวหนองชนิดตื้นและลึก)ซึ่งมีได้หลายขนาด สิวหนองชนิดตื้นมักหายได้เร็วกว่าสิวชนิด papules ส่วนสิวหนองชนิดลึกจะมีอาการเจ็บร่วมด้วย และพบในผู้ที่เป็นสิวรุนแรง
3. Nodules สิวอักเสบแดงเป็นตุ่มนูน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 8 มม. ขึ้นไป สิวชนิดนี้เมื่อหายไปอาจเกิดแผลเป็นตามมาได้
4. Cyst สิวขนาดใหญ่เป็นถุงใต้ผิวหนัง ภายในมีหนองหรือสารเหลวๆ คล้ายเนย หายแล้วมักมีแผลเป็นหลงเหลืออยู่
รอยโรคที่หลงเหลือจากการเป็นสิว
 
  1. รอยสีน้ำตาลดำ(post inflammatory) พบได้บ่อยในคนผิวคล้ำ และปรากฏให้เห็นนานหลายเดือนกว่าจะจางลงไป
  2. รอยแผลเป็นชนิดนูน (hypertrophic scar/keloid)
  3. รอยแผลเป็นชนิดบุ๋ม (ice-pick scar/depressed fibrotic scar) 

รอยแผลเป็น 2 ชนิดหลังนี้มักพบในผู้ที่เป็นสิวรุนแรง โดยรอยแผลเป็นชนิดนูนพบได้บ่อยที่บริเวณมุมของกรามล่าง และที่ลำตัวช่วงบน

สาเหตุของการเกิด สิว

จุดเริ่มต้นของการเกิด สิว มาจากการตอบสนองของผิวหนังต่อสิ่งซึ่งหลั่งออกมามากในวัยรุ่น ฮอร์โมนนี้กระตุ้นการสร้างไขมันที่ชื่อ Sebum ในต่อมไขมันของผิวหนัง โดยจะพบต่อมไขมันได้มากที่สุดบริเวณใบหน้า หนังศีรษะ หน้าอก และหลัง Sebum ที่ต่อมไขมันสร้างขึ้นจะถูกหลังมาสู่ผิวหนังผ่านทางรูขุมขน เมื่อช่องทางผ่านของ Sebum ถูกอุดตัน ผิวหนังบริเวณนี้จึงถูกดันนูนขึ้นมาเห็นเป็นตุ่มเล็กๆ ที่เรียกว่า โคมิโดน ถ้าการอุดตันนั้นยังมีทางเปิดสู่ผิวหนังภายนอกได้ก็จะพบลักษณะของสิวหัวเปิด (open/black head comedones) แต่ถ้ารูเปิดของท่อไขมันเล็กมากจนมองไม่เห็นเรียกว่าสิวหัวปิด (closed/white head comedones)แล้วค่อยๆ โตขึ้น เมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมตุ่มเหล่านี้ ก็จะเกิดการอักเสบทำให้กลายเป็น สิวอักเสบ ซึ่งถ้าการอักเสบอยู่ส่วนบนของผิวหนังจะเห็นเป็น ตุ่มแดง(papule) และ ตุ่มหนอง (pustule) ถ้าการอักเสบอยู่ลึกลงไปจะเห็นเป็น ก้อนบวม (nodule) หรือ ถุงสิว (cyst)
 
ปัจจัยอื่นที่กระตุ้นให้เกิดสิว
 
พันธุกรรม
ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดว่าพันธุกรรมเกี่ยวข้องกับการเกิด สิว แต่พบว่ในฝาแฝดไข่ใบเดียวกัน แฝดที่เป็นสิวจะมีคู่แฝดเป็น สิว เช่นเดียวกันถึงร้อยละ 97.9 แต่ในแฝดไข่คนละใบมีเพียงร้อยละ 45.8 ของคู่แฝดที่เป็นสิวเช่นเดียวกัน
ยาบางชนิด
ยาบางชนิด เช่น คอร์ติโคสตีรอยด์ ไอโอไดด์ หรือวิตามิน บี 12 กระตุ้นให้เกิด สิว ได้
เครื่องสำอาง สบู่ น้ำมันใส่ผม
เครื่องสำอาง สบู่ น้ำมันใส่ผม ก็ทำให้เกิด สิว ได้ (cosmetic acne,acne detergicans,pomade acne)
เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ olive oil, white petrolatum หรือ lanolin สบู่ที่มีส่วนของ tar , sulfur หรือยาปฏิชีวนะ เช่น hexachloropheneซึ่งสารเหล่านี้สามารถกระตุ้นให้เกิด สิว ได้
ระยะก่อนมีรอบเดือน
มีรายงานว่า ร้อยละ 60-70 ของผู้หญิงที่เป็น สิว จะมีสิวมากขึ้นใน 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่หลั่งออกมามากในช่วงนั้นทำให้มีการคั่งของน้ำในร่างกาย รูขุมขนบวมมากขึ้น การไหลผ่านของไขมันเป็นไปได้ไม่ดี สิว มักเห่อใน 2-3 วันต่อมา
ภาวะเครียด
ภาวะเครียดกระตุ้นให้เกิด สิว หรือไม่นั้น ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด แต่มีบางรายที่กล่าวว่า สิว เห่อมากขึ้นในช่วงที่เครียดจากการสอบ
อาชีพและสิ่งแวดล้อม
การทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนชื้น เหงื่อออกมาก ทำให้เกิดการบวมของท่อไขมันและเกิดสิวตามมาได้
อาหาร
อาหารไม่มีผลต่อการเกิด สิว

การรักษาควรเริ่มต้นให้เร็วที่สุด เพระจะสามารถป้องกันการเกิด แผลเป็น ถาวรได้ การรักษาแบ่งออกได้เป็น

1. การดูแลผิว ให้ทำความสะอาดผิวหน้าสม่ำเสมอด้วยวิธีธรรมดา เช่น ใช้น้ำ กับ สบู่เหลว สำหรับผู้ที่ใช้ เครื่องสำอางค์ และรองพื้น การใช้ Cleanser (คลีนเซอร์ หรือ คลีนซิ่งโลชั่น) จะช่วยให้สามารถทำความสะอาดและล้าง เครื่องสำอางค์ ออกได้เกลี้ยงขึ้น สำหรับผู้ที่ หน้ามัน มากอาจใช้ โทนเนอร์ ช่วยในการทำความสะอาดก็ได้

นอกจากการรักษาความสะอาดใบหน้าและผม แล้วควรหลีกเลี่ยงปัจจัยอื่นที่กระตุ้นให้เกิด สิว เช่น การนวดหน้า ขัดหน้า เครื่องสำอางบางอย่าง หรือยาบางชนิด

2. การรักษาด้วยยาทา ยาทารักษา สิว มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับชนิดของ สิว ว่า เป็น สิว ชนิดธรรมดาหรือ ชนิดอักเสบ ควรทายาให้สม่ำเสมอเพื่อให้ได้ผลการรักษาสูงสุด และถ้ามีปัญหาจากการใช้ยาควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลท่านทันที

3. ยารับประทาน ผู้ที่มี สิวอักเสบ จำนวนมาก แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานยา ยาที่ใช้อยู่มีหลายชนิด แบ่งคร่าวๆ ได้เป็น 3 กลุ่มคือ

รักษาสิว สิวอักเสบ สิวอุดตัน สิวเสี้ยน สิว สิว สิว

           1) กลุ่มยาปฎิชีวนะ  เป็นกลุ่มยาที่มีราคาถูก ใช้รักษาได้ผลดีออกฤทธิ์โดยการทำลายเชื้อ แบคทีเรีย และ ลดการอักเสบ

            2) ยาที่เป็นอนุพันธ์ของ วิตามิน A  ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการทำให้ ต่อมไขมัน ทำงานน้อยและฝ่อลง เป็นยารักษา สิว ที่ดีมากสามารถช่วยป้องกัน แผลเป็น ที่อาจเกิดจาก สิว ไ ด้ และยังช่วยให้หายมันได้ด้วย แต่ยานี้มีราคาแพงมากและมีผลต่อทารกในครรภ์ ดังนั้นการใช้ยาจึงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดของ แพทย์ผิวหนัง เท่านั้น

            3) ยาฮอร์โมน ยากลุ่มนี้ออกฤทธิต้านฮอร์โมนเพศชายใช้ได้เฉพาะในผู้หญิง

อัพเดทล่าสุด