หลุมสิว หลุมแผลเป็น
หลากวิธี รักษาหลุมสิว รอยแผลเป็นสิว
ปัญหาแผลเป็น รอยหลุมสิว
1. แผลเป็น ชนิด Ice Pick Scar
2. แผลเป็น ชนิด Box car Scar
3. แผลเป็น ชนิด Rolling Scar
1. การทำให้เซลล์หลุดลอกออก ทำให้รอยหลุมตื้นขึ้น แบ่งเป็น
1.1 Chemical Peeling:
โดยการแต้มด้วยกรดเข้มข้น เช่น 50-70 % AHA หรือ 30-50% TCA กลไกการรักษา ก็คือ การทำให้เซลล์ผิวชั้นนอกบริเวณรอยหลุม หลุดลอกออกช้าๆ เพื่อเตรียมให้บริเวณที่ต้องการรักษา นุ่มและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้เซลล์ผิวใหม่ที่ได้มีการแบ่งตัว และดันตัวขึ้นมาบริเวณรอยหลุม พร้อมแก้ไขเซลผิวหนังชั้นนอกที่มีปัญหาให้กลับคืนสู่สภาพปกติ มักจะใช้ในการรักษารอยหลุมสิวทั้ง 3 แบบ คือ Ice Pick scar, Box car scar, Rolling scar โดยแต้มทุก 2-3 อาทิตย์ต่อครั้ง
1.2 การกรอผิวหน้าด้วยเกร็ดอัญมณี (Microdermabrasion ):
โดยการกรอผิวหน้า ให้หลุดลอกออกด้วย เกร็ดอัญมณีขนาดเล็กมาก ประมาณ 80-100 Micron ซึ่งผลึกครีสตัลที่นิยมใช้ ก็คือ Aluminium Oxide โดยให้วิ่งตามการพ่นของเครื่องปั๊มในกระบอกสูญญากาศที่ ปลอดเชื้อ ( Air flow in Sterile Closed system) โดยมีการปรับความแรง ความเร็วในการพ่นผลึกดังกล่าวได้ตามต้องการของผู้ใช้ ทำให้รอยหลุมตื้นขึ้นได้และต้องทำหลายๆ ครั้ง เพราะต้องค่อยๆ กรอบางๆ เพราะถ้ากรอลึกเกินไป อาจจะทำให้เกิดรอยแดง รอยดำได้และทำให้เจ็บปวดขณะทำได้ นอกเหนือจากนี้ ผู้ทำการกรอควรเป็นแพทย์หรือผู้ที่เชี่ยวชาญและชำนาญด้านนี้มาพอสมควร จึงจะได้ผลดี และผลข้างเคียงน้อยสุด ระยะเวลาในการกรอ จะแตกต่างกันแล้วแต่การพิจารณาของแพทย์ โดยคำนึงถึงผลที่ได้ และผลข้างเคียงที่จะเกิดภายหลัง เช่น กรอน้อยไป อาจจะได้ผลน้อยกว่า การกรอลึก หรือกรอนาน แต่ก็มีผลข้างเคียง (เช่น รอยถลอก รอยแดง หรือแสบหลังกรอ ทาครีมอื่นๆไม่ได้ ) การกรอผิว มักจะใช้ในการรักษารอยหลุมสิวทั้ง 3 แบบ คือ Ice Pick scar, Box car scar, Rolling scar แต่ใน 2 แบบแรก จะได้ผลช้าและน้อยกว่า Rolling scar ส่วนใหญ่มักจะนัดกรอผิวทุก 1-2 อาทิตย์ และเว้นเป็นช่วงๆ เพื่อมิให้ผิวหน้าบางเกินไป
1.3 การกรอผิวหน้าด้วยเลเซอร์( Laser Resurface):
ที่นิยมทำ ก็คือ การกรอด้วยเครื่อง Co2 (UltraPulse) Laser หรือ Erbium:YaG Laser 2940 nm (Laser Peel) หรือ ทำทั้งสองอย่างร่วมกัน การกรอหรือลอกเซลล์ผิวหน้าด้วยเลเซอร์ นิยมใช้แก้ปัญหารอยหลุมที่มีมากและทั่วหน้า ได้ผลดีเร็วทันใจ ทำให้รอยหลุมตื้นได้มากๆ และได้ผลเร็ว (สำหรับคนใจร้อนๆๆ) แต่ก็จะต้องเสี่ยงกับผลข้างเคียงที่ค่อนข้างมาก เช่น ความเจ็บปวดขณะทำ หลังทำคนไข้อาจมีรอยแดง มีการอักเสบ ต้องพักฟื้นหยุดงาน มากกว่า 1-2อาทิตย์ และมักเกิดรอยดำหลังการรักษา โดยเฉพาะในคนเอเซีย รอยดำคล้ำ อาจนานเป็นปี กว่าจะจางหายไป และก็มีโอกาสติดเชื้อจากบาดแผลก็เกิดได้สูงกว่า และ ต้องทำโดยแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนี้มาอย่างดี มักจะใช้ในการรักษารอยหลุมสิวทั้ง 3 แบบ คือIce Pick scar, Box car scar,Rolling scar
2.1 ยากลุ่มวิตามินเอ:
2.1.1 0.05-0.1% Retin-A: ซึ่งเป็นวิตามินเอเจล ความเข้มข้นสูง นำมาใช้ในการรรักษาด้วยเครื่องไอออนโต แล้วใช้หลักการประจุบวก ลบทำการผลักยาให้แทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ลึกขึ้นกว่าการทาครีมปกติ ทำให้ผลการรักษาเร็วขึ้น สามารถทำได้ 2 ครั้งต่ออาทิตย์
2.1.2. ยารับประทานกลุ่ม Retinoids: ซึ่งสกัดจากอนุพันธ์ของวิตามินเอ เช่น Roaccutane,Isotretinoin,Acnotin มักนิยมให้คนไข้ไปรับประทานทุกวัน วันละ 10-20 มก. เพราะนอกจากจะแก้ไขปัญหาผิวหน้ามัน สิว กระชับรูขุมขนแล้ว ยังมีหลักฐานสนับสนุนว่า ช่วยทำให้ผิวหน้าและรอยหลุมเรียบเนียนขึ้น โดยไปกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและฟื้นฟูสภาพผิวในชั้นหนังแท้ แต่ตัวยาดังกล่าวก็มีผลข้างเคียงเช่นกัน ถ้าใช้ติดต่อกันระยะเวลานาน
2.1.3. ครีมทาลบแผลเป็นริ้วรอย: ซึ่งประกอบด้วย วิตามินเอ อี AHA จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลใหม่ให้ เลื่อนขึ้นมาเต็มบริเวณรอยหลุม แต่ทั้งนี้บริเวณเซลผิวชั้นนอก ต้องมีความยืดหยุ่นอ่อนนุ่ม (ซึ่งควรจะได้รับการรักษาก่อนด้วย)
2.2. การเติมรอยหลุมด้วย Filler agents:
คือ การฉีดสารเติมให้เต็มเข้าไปที่รอยหลุมโดยตรง ได้ผลเร็ว แต่มักจะใช้ในกรณีรอยหลุมแบบRolling Scar ที่ไม่มีพังผืดยึดเกาะที่ฐาน เพราะรอยหลุมแบบอื่นๆ ไม่สามารถเติมให้เต็มได้ เพราะผนังจะหนาและแข็ง ทำให้ สารที่เติมขณะฉีดจะไปอยู่ในชั้นผิวหนังปกติ ทำให้คลำเป็นก้อนๆ ได้ การเติมด้วยสารนี้ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
2.2.3 Premanent Filler agents: ได้แก่ new-fill (เป็นสารสังเคราะห์ประเภท Polylactic Hydrogel ) Bioplatique ที่แม้จะมีอัตราการแพ้น้อย และอยู่ได้นานกว่าหลายปี แต่ก็มีข้อเสีย ก็คือ ฉีดยาก เจ็บ และมักคลำก้อนได้ นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดก้อนเนื้อ Granuloma ได้ถึง 30 %
<< Filler
2.3 Non-ablative Laser
2.3.1 IPL (Intense pulse Light):จัดเป็น เลเซอร์ ความถี่จำเพาะ รุ่นแรกๆ ที่ใช้หลักการรักษารอยหลุม ด้วยวิธี Photorejuvenationจะใช้ได้ผลบ้าง ในกรณีรอยหลุมแบบ Rolling Scar ที่ไม่มีพังผืดยึดเกาะที่ฐาน ส่วนรอยหลุมแบบอื่นๆ จะได้ผลน้อยกว่า และก็ต้องทำหลายๆ ครั้ง
<< IPL
2.3.2 Cool touch: จัดเป็น เลเซอร์กลุ่ม Nd:YaG ความถี่ 1320 nm. ซึ่งได้ผลิตออกมาไล่เลี่ยกับIPL โดยได้มีแพทย์บางกลุ่มได้ใช้ เลเซอร์ ชนิดนี้ มารักษารอยหลุมเช่นเดียวกัน เพราะเชื่อว่าสามารถยิงลำแสง เลเซอร์ ลงได้ลึกกว่า IPL แต่จากรายงานระยะต่อมา พบว่าได้ผลในการรักษารอยหลุมไม่แตกต่างกันมากนัก กับเครื่อง IPL
2.3.3 Smooth Beam: จัดเป็น เลเซอร์ กลุ่ม Diode Laser ความถี่ 1450 nm. ซึ่งได้ผลิตออกมาหลัง เลเซอร์ Cool Touch ได้มีแพทย์บางกลุ่ม นำมารักษารอยหลุมสิวเช่นกัน แต่ก็พบว่าได้ผลในการรักษารอยหลุมไม่แตกต่างกันมากนักกับเครื่อง IPL และ Cool Touch
2.3.4 Fractional Photothermolysis (เช่น Fraxel) : ถือว่าเป็น Non-ablative Laser ตัวล่าสุด เริ่มมีการผลิตและนำเข้ามารักษาปัญหารอยหลุม ในปี ค.ศ. 2004 และได้การรับรองจาก FDA จากอเมริกา ในปี ค.ศ. 2006 ว่า สามารถแก้ไขปัญหาริ้วรอย ฝ้า กระ ตลอดจนรอยหลุมสิว ผิวหน้าไม่เรียบ ให้มีสภาพกลับมาดีขึ้น อย่างได้ผลชัดเจน ในระยะเวลาไม่นาน หลักการทำงานของ FP ก็คือ การปล่อยคลื่นแสงในช่วง Mid-Infrared ที่มีความยาวช่วงคลื่นที่ 1,550 นาโนเมตร ลงไปใต้ผิวหนัง บริเวณที่มีปัญหา โดยจะทำงานแตกต่างจากเลเซอร์รุ่นก่อนๆ ซึ่งเดิมจะใช้ เลเซอร์ คลื่นแสงเดียว วิ่งเป็นเส้นตรงไปยังเป้าหมายที่ต้องการรักษา แต่เทคนิค FP จะปล่อยพลังงาน ออกมาเป็นอนุภาคเล็กมากๆ แต่ละจุดที่ปล่อยจะเรียกว่า Microthermal Treatment Zone (MTZ) โดยจะปล่อยประมาณ 1,250-2,500 จุดต่อบริเวณผิว 1 ตร.ซม. ทำให้มีการทำลายเซลล์ผิวที่ผิดปกติออกไปเป็นจุดเล็กๆ มากๆ จนตาเปล่ามองไม่เห็น เซลล์ผิวดีที่อยู่รอบข้าง จะเป็นตัวซ่อมแซมให้เกิดเซลล์ผิวใหม่ ขึ้นมาแทนที่ภายใน 24 ชั่วโมง เปรียบเหมือนการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์ ที่มีการแก้ไขจุดบกพร่อง ทีละฟิกเซล พบว่า เลเซอร์ ชนิดนี้ สามารถแก้ไขรอยหลุมสิวให้ดีขึ้น ได้กับรอยหลุมสิวทุกชนิด
2.4 Skin Needling (Dermarolling): จัดเป็นเทคนิคใหม่ในการแก้ไขปัญหาผิวพรรณ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Derma Roller มีลักษณะเป็นลูกกลิ้งที่มีเข็มเล็กๆ จำนวนมาก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.25 มม. ยาว 1.5 มม. กลิ้งไปบนผิวหนัง เข็มจะลงได้ลึกถึงชั้นหนังแท้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการอักเสบเล็กๆ แล้วร่างกายจะซ่อมแซมอาการบาดเจ็บ โดยการสร้างเซลล์ใหม่ ด้วยการกระตุ้นการ สร้างคอลลาเจนและอีลาสติน และมีการจัดโครงสร้างเนื้อเยื่อใหม่(Remodeling) ในเนื้อเยื่อผิวชั้นหนังแท้ ( Dermis) ขณะที่ทำการรักษาจะทำให้เกิดรูขนาดเล็กจำนวนมากบนผิวหนัง เมื่อเติมสารบำรุงหรือยา ที่สำคัญลงไปร่วมด้วย จะทำให้สามารถซึมเข้าสู่ ผิวหนังได้ลึกและได้ผลกว่าการทายาทั่วไปถึง 40 เท่า เมื่อการทำรักษาหลายๆ ครั้งอย่างต่อเนื่อง พบว่าทำให้เกิดกระบวนการจัดโครงสร้างผิวหน้าใหม่ โดยมี Fibroblast เป็นตัวที่มีบทบาทมากที่สุด ทำให้เกิดคอลลาเจนเพิ่มขึ้นๆ และแข็งแรงขึ้น (จาก Collagen type 1 >type 3) การรักษาวิธีนี้จะคล้ายๆ กับการหายของแผลหลังทำการลอกหน้าด้วยเลเซอร์ แต่จะไม่มีการทำลายชั้นหนังกำพร้าหรือผิวหน้าส่วนบนให้เกิดผลเสีย หรือผิวหน้าบาง หรือเกิดแผลเป็นใดๆ จัดว่าเป็นการรักษารอยหลุมสิวที่มีประสิทธิภาพในการรักษามากและเห็นผลได้รวดเร็ว Skin Needling จัดเป็นเทคนิคการรักษารอยหลุมที่ได้ผลดีกับรอยหลุมสิวทุกชนิด เช่นเดียวกับ เลเซอร์ Fraxel
ก่อนและหลังการรักษารอยหลุมด้วยเทคนิค Skin Needling
เริ่มมีการทำการรักษากับคนไข้ที่มี ปัญหารอยหลุมสิว ในปี ค.ศ. 2002 โดยแพทย์จากสวิสเซอร์แลนด์ และเสนอรายงานการรักษาอย่างได้ผล จึงทำให้ กลุ่มแพทย์ทางยุโรปได้เริ่มทำการรักษาด้วยวิธีนี้กันมากขึ้น โดยพบว่าผลการรักษาได้ผลดีมาก ไม่แตกต่างกับการรักษาด้วย เลเซอร์กลุ่ม Fractional Photothermolysis (Fraxel) แต่ไม่ต้องเสี่ยงกับผลข้างเคียงจากเลเซอร์ และค่าใช้จ่ายก็ถูกกว่า3.1 Punch excision: มักนำมารักษารอยหลุมสิว แบบ Ice Pick scar และ Box car scar ที่มีขนาดไม่เกิน 3 มม. โดยการใช้เครื่องมือตัดรอยหลุม แล้วเย็บปิด หรือ ปิดด้วยเทป Sterile Strip หรือ Dermabond
3.2 Punch elevation: มักนำมารักษารอยหลุมสิว แบบ Box car scar ที่มีขนาดไม่เกิน 3 มม. โดยการยกรอยหลุมขึ้นในระดับเดียวกับขอบหลุม แล้ว เย็บปิด
3.3 Punch grafting: มักนำมารักษารอยหลุมสิว แบบ Ice Pick scar และ Box car scar ที่มีขนาดความลึกไม่ค่อยเท่ากัน โดยการนำผิวหนังจาก ที่อื่นมาเย็บปิดตรงรอยหลุม
การทำศัลยกรรมรอยหลุมสิว ในข้อ 3.1-3.4 มักจะทำในกรณีที่มีจำนวนรอยหลุมบางชนิดเท่านั้น ( แบบ Ice Pick scar และ Box car scar ) และมีจำนวนไม่มากนักในร่างกาย แต่ก็ต้องทำโดยแพทย์ที่ชำนาญอย่างมากเท่านั้น เพราะมีโอกาสเกิดผลข้างเคียง ได้ เช่น รอยเย็บของแผล สีผิวบริเวณรอยหลุมไม่เท่ากันกับสีผิวข้างเคียง (ในกรณีที่ graf ที่นำมาปะรอยหลุมอาจจะไม่ติด เกิดการติดเชื้อ หรือแผลเป็นนูนภายหลังได้)
3.5 Subcision: คือการใช้เข็มที่เรียกว่า Nokor Needle(เข็มที่มีใบมีดอยู่ตรงปลายเข็ม ใช้สำหรับทำ Subcision โดยเฉพาะ) เบอร์ 18 แทงเซาะบริเวณใต้ฐานหลุม ทำให้มีการแยกชั้นของผิวหนัง พังผืดที่ยึดเกาะรอยหลุมก็จะหลุดออก เกิดเลือดมาสะสมที่ในรอยแยก พร้อมกับนำพา Fibroblastมาทำการซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บ ให้มีการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนขึ้นมาใหม่ จึงทำให้รอยหลุมตื้นขึ้นได้ เทคนิคนี้ไม่มีรอยกรีดที่ผิวหน้า จึงไม่ต้องเย็บแผล เหมือนวิธีอื่นๆ ในข้อ 3.1-3.4 เมื่อหลุมแผลเป็นนูนเสมอผิวปกติแล้ว อาจจะตกแต่งแผลด้วย เลเซอร์ หรือการกรอผิวอีกครั้ง หรือลอกด้วยกรดเข้มข้น เพื่อให้ผิวเรียบเนียนขึ้น ใช้ได้ผลกับหลุมสิวทุกประเภท แต่ได้ผลดีสุดกับ หลุมสิว แบบrolling scar จึงมักจะเป็นวิธีที่แพทย์นำมารักษารอยหลุมสิว ผสมผสานกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ
ที่มา https://www.doctorcosmetics.com/read_content.php?id=1837&pagetype=articles