กลิ่นรักแร้ หรือ กลิ่นเต่า
“กลิ่นรักแร้ หรือ กลิ่นเต่า” เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อบุคลิกภาพ และปฏิสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างเป็นอย่างมากใครที่มีน้อยก็ถือว่าโชคไป แต่สำหรับผู้ที่มีกลิ่นมากต้องคอยซับเหงื่อ คอยฉีดน้ำหอมหรือต้องนำเสื้อมาเปลี่ยนที่ทำงานคงไม่รู้สึกสนุกหรือมีความสุขแต่อย่างใด มาทำความรู้จักกันหน่อยดีไหมครับ
ทำไมคนเราจึงมีกลิ่น รักแร้
บริเวณ รักแร้ ของเรามีต่อมที่สร้างเหงื่ออยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ชนิดแรกเรียกว่า Eccrine glands มีหน้าที่คอยสร้างเหงื่อเวลาที่มีอากาศร้อนเหงื่อชนิดนี้จะใสและมักจะไม่มีกลิ่น ยกเว้นเวลาที่รับประทานอาหารที่มีกลิ่นเช่น กระเทียม แอลกอฮอล์หรือยาบางชนิดก็อาจทำให้มีกลิ่นได้บ้าง อีกชนิดหนึ่งมีชื่อว่า Apocrine glands เหงื่อที่ที่ถูกสร้างออกมาจะมีความเหนียวกว่าและพร้อมที่จะเปลี่ยนสภาพทันทีที่สัมผัสกับแบคที่เรียที่มีอยู่ตามผิวหนังผลที่ได้คือกลิ่นเปรี้ยวๆของ กรดไขมันและแอมโมเนียผสมกันเป็น “กลิ่นรักแร้ หรือ กลิ่นเต่า” นั่นเอง
ทำไมคนบางคนจึงไม่มีปัญหานี้เลย
จำนวนของต่อม Apocrine มีมากน้อยต่างกันตามเชื้อชาติ เพศ และวัย เรามักไม่พบปัญหานี้ในเด็กหรือวัยชรา แต่มักพบในวัยหนุ่มสาวเป็นหลัก เพศชายมากกว่าเพศหญิงและพบในคนเอเซียมากกว่าคนยุโรป
จะทำอย่างไรดีเมื่อกลิ่นแรงมาก
การทำความสะอาดบริเวณรักแร้อย่างสม่ำเสมอ หรือการใช้ยาดับกลิ่นเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ได้ผล แต่ในบางกรณีจำเป็นต้องอาศัยการลดปริมาณเหงื่อที่ถูกสร้างออกมาด้วยการลดการทำงานของต่อมหรือลดจำนวนของต่อมไปเลย การลดปริมาณของต่อมเหงื่อสามารถทำได้ไม่ยากด้วยการฉีดยาในกลุ่ม โบทูลินุ่มท็อกซิน หรือ โบท็อก เข้าไปที่รักแร้โดยตรงก็สามารถลดการทำงานของต่อมไขมันได้บางส่วน แต่ก็ได้ผลเพียงชั่วคราวประมาณ 3-4 เดือนเท่านั้น ดั้งนั้นการที่จะทำให้ปริมาณของเหงื่อลดลงอย่างถาวรจึงจำเป็นต้องลดจำนวนต่อมเหงื่อที่รักแร้ เป็นหลัก
การลดจำนวน ต่อมเหงื่อ หรือกำจัดกลิ่นอย่างถาวร
มีวิธีการมากมายที่นำมาใช้เพื่อลดจำนวนของต่อมเหงื่อดังกล่าว เริ่มจากการตัดผิวหนังบริเวณรักแร้บางส่วนออกไป ซึ่งวิธีนี้ถึงแม้จะได้ผลแต่ก็มีแผลบริเวณรักแร้เกิดขึ้นแทนการใช้เครื่องมือขนาดเล็กล้ายเครื่องขูดมะพร้าว (Curettage) เข้าไปขูดใต้ผิวหนังเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมกัน แต่เนื่องจากต่อมไขมันอยู่ชิดผิวชั้นนอกมากจึงอาจทำให้เกิดการตายของผิวหนังชั้นนอกมากจึงอาจทำให้เกิดการตายของผิวหนังได้ถ้าขูดมากเกินไปและอาจทำให้ผิวหนังมีอาการช้ำมาก ซึ่งต้องใช้เวลารักษาตัวอยู่นาน
เลเซอร์ ช่วยทำให้ผลการรักษาดีขึ้นได้หรือไม่
จากผลการศึกษาล่าสุดพบว่าแสง เลเซอร์ บางชนิดมีความสามารถในการลดจำนวนต่อมเหงื่อลงได้แสง เลเซอร์ ชนิดนี้จะถูกนำผ่านสายไฟเบอร์อ็อพติกขนาดเล็กเพียง 2 มม. ซึ่งถูกสอดเข้าไปยังชั้นใต้ผิวหนังเพื่อทำลายต่อมเหงื่อโดยตรง โดยไม่มีผลกระทบต่อเส้นเลือดฝอยและผิวหนังแต่อย่างใด เนื้อเยื่อจึงมีความชอกช้ำไม่มาก ระยะเวลาในการรักษาและพักฟื้นจึงสั้นกว่าวิธีเดิมๆสามารถกลับไปทำงานได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังไม่ทิ้งร่องรอยของบาดแผลให้เห็นอีกด้วย อย่างไรก็ตามการใช้แสงเลเซอร์เพื่อการรักษาคงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่มีความชำนาญโดยตรง เพื่อลดปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้ที่ผิดวิธี
ที่มา https://www.doctorcosmetics.com/read_content.php?id=1696&pagetype=articles