ครีมกันแดด เลือกใช้ ครีมกันแดด ให้ได้ผล


697 ผู้ชม


ครีมกันแดด

เลือกใช้ ครีมกันแดด ให้ได้ผล

คลิกๆ  "ครีมกันแดด" ผลิตภัณฑ์ที่แพทย์แนะนำ

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายของแสงแดด ในปัจจุบัน แพร่หลายมาก สามารถหาได้จากสื่อนานาชนิด และวิธีป้องกันแดดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ยากันแดด 
ยากันแดด เริ่มมาจากชนผิวขาว ซึ่งมักนิยมการอาบแดด เพื่อให้มีผิวสีแทน (tan) เพราะถือเป็นสัญลักษณ์ ของสุขภาพที่ดี และฐานะร่ำรวย แต่มีปัญหาผิวไหม้แดง และมะเร็งผิวหนัง ทำให้มีการคิดค้น ยากันแดด เพื่อให้ป้องกันผิวไหม้แดง แต่ยังคงความสามารถในการเกิดผิวสีแทน (tan) ดังนั้น การวัดประสิทธิภาพของ ยากันแดด ในระยะแรก ก็จะเน้นที่ความสามารถในการป้องกันผิวไหม้แดง นั่นคือ สามารถดูดซับแสง UVB ได้ดี หรือคือ ค่า SPF (sun protective factor)

ค่า SPF 15 มีความหมายว่า ในกรณีที่ท่านทา ยากันแดด อย่างทั่วถึง ในความหนา 2 มิลลิกรัมต่อพื้นที่ผิวหนังหนึ่งตารางซม. ท่านจะต้องใช้เวลาตากแดดเพิ่มขึ้นถึง 15 เท่า จึงจะทำให้ผิวไหม้แดง 
ตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์จริง ถ้าอยู่กลางแสงแดดจัด เวลาเที่ยง บริเวณชายทะเล ในเวลาประมาณ 15 นาที จะทำให้ผิวหนังแดงได้ การใช้ ยากันแดด SPF 15 อย่างทั่วถึง จะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น 15 เท่า จึงจะเกิดผิวไหม้แดง นั่นคือ เท่ากับ 15x15 คือ 225 นาที หรือ 3 ชม. 45 นาที แต่เนื่องจาก ในการทดสอบ ยากันแดด จะทำในห้องทดลอง โดยใช้หลอดไฟเลียนแสงอาทิตย์ ซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิ, ความชื้น, การเคลื่อนไหวของผู้ทำการทดสอบ ทำให้ค่าที่ทดสอบได้ มักจะสูงกว่าการใช้จริง ดังนั้น ในความเป็นจริง อาจจะเป็นเวลาประมาณ 2/3 ของเวลาที่ทดสอบ คือประมาณ 2 ชม. เป็นต้น 
ครีมกันแดด เลือกใช้อย่างไรสำหรับข้อสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ แม้ ยากันแดด SPF>15 จะป้องกันผิวไหม้แดงได้ดี แต่ยังพบความคล้ำของผิวหนัง ได้เช่นเดิม เนื่องจากความคล้ำ หรือการเกิด tanning นั้น แสงที่มีบทบาทสำคัญ คือ แสง UVA แต่เนื่องจาก UVA ไม่ได้มีบทบาทที่สำคัญ ในการทำให้เกิดผิวไหม้แดง จึงไม่ได้รับความสนใจในระยะแรก ในปัจจุบันเริ่มมีข้อมูลว่า UVA นอกจากทำให้ผิวคล้ำแล้ว ยังสามารถทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง และทำลายเนื้อเยื่อคอลลาเจน และอีลาสติก ทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ซึ่งจะสังเกตเห็นได้มาก ในบริเวณที่ถูกแสงแดดเป็นประจำ หรือคนที่ทำงานกลางแจ้ง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ไม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เหมือนผิวไหม้แดง ซึ่งเกิดภายใน 24 ชม.หลังได้รับแสงแดด แต่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ทีละเล็กน้อย อย่างช้าๆ และเห็นได้หลังจากถูกแสงแดดนับสิบปี

ยากันแดด ในปัจจุบัน จึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อป้องกันแสง UVA เพิ่มขึ้นด้วย แต่การวัดประสิทธิภาพ ของการป้องกันแสง UVA ยังไม่มีมาตรฐานสากล เหมือนค่า SPF สำหรับ ยากันแดดที่มีฉลากว่า กันได้ทั้ง UVA, UVB นั้น ในต่างประเทศ ได้มีผู้นำมาทดสอบ พบว่า ความสามารถในการป้องกัน UVA ต่างกันมาก และไม่สัมพันธ์กับค่า SPFที่สูงขึ้น เช่น ยากันแดด ที่มีค่า SPF 45 ไม่สามารถกัน UVA ได้ดีกว่า ยากันแดด ที่มีค่า SPF 15 เป็นต้น ทำให้มีปัญหากับผู้บริโภค ในการเลือกใช้อย่างเหมาะสม 
สารกันแดด ที่มีฤทธิ์ป้องกัน UVA ได้ดี ในปัจจุบัน ได้แก่ Oxybenzone, Parsol 1789, TiO2, ZnO, Mexoryl SX, XL, Tinosorb M,S เป็นต้น ซึ่งยากันแดดในท้องตลาด ที่มีประสิทธิภาพกัน UVA ได้ดี น่าจะมีสารที่กล่าวแล้วข้างต้น ผสมกันอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป ในความเข้มข้น 2-3% 
เลือกใช้อย่างไร ? ใครจำเป็นต้องใช้ ?

สำหรับคนเอเชีย เช่น คนไทย ซึ่งไม่นิยมผิวคล้ำ และการอาบแดด การป้องกันอันตรายจากแสงแดดที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด ในช่วงเวลา 9.00-15.00 น., สวมเสื้อผ้าปกคลุมมิดชิด, แว่นกันแดด, หมวกปีกกว้าง, หรือกางร่มเสมอ แต่ในกรณีที่ทำงาน หรือเล่นกีฬากลางแจ้ง, เด็ก หรือการท่องเที่ยวทางน้ำ มีความจำเป็นต้องใช้ ยากันแดด ควรเลือกดังนี้ 
1. ยากันแดด ที่มีค่า SPF สูงกว่า 15 
2. ยากันแดด มีสารเคมีที่กัน UVA ได้ดีอย่างน้อย 2 ชนิด เช่น Oxybenzone + TiO2 หรือ Parsol 1789 + ZnO เป็นต้น 
3. ยากันแดด กันน้ำได้ ( water resistance, หรือ water proof) 
4. ยากันแดด ที่มีการทดลองว่า ไม่สลายจากแสง (photo stable)

ครีมกันแดด เลือกใช้อย่างไรควรทา ยากันแดด ให้หนาเพียงพอ 15 นาที ก่อนอยู่กลางแดด และอาจทาซ้ำทุก 15 นาที หลังจากทาครั้งแรก หรือทุก 1-2 ชม. ถ้าว่ายน้ำ หรืออยู่กลางแดดจัด เนื่องจากการทา ยากันแดด ซ้ำ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการกันแดด ได้อีก 2-3 เท่า เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ มักทา ยากันแดด ในปริมาณน้อยกว่าที่ควร

สำหรับการใช้ ยากันแดด ประจำวัน ในผู้ที่ทำงานในร่ม และใช้เวลานอกอาคาร หรือรถยนต์ เฉพาะช่วงเช้า ก่อน 9 นาฬิกา และหลังจาก 15 นาฬิกา อาจไม่มีความจำเป็น เนื่องจากแสง UVB, UVA สามารถผ่านกระจกรถ ที่ติดฟิล์มกรองแสง ได้น้อยกว่า 5% และแสง UV ในช่วงเวลาเช้าตรู่ และเย็น มีปริมาณน้อย 
โดยสรุป การป้องกันอันตราย ทั้งระยะสั้น และระยะยาว จากแสงแดด ควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก ด้วยการให้ความรู้ ให้หลีกเลี่ยงการตากแดดจัด ป้องกันร่างกายอย่างมิดชิด ด้วยเสื้อผ้า, แว่นตา, หมวก และร่ม เลือก ยากันแดด ที่เหมาะสม กับกิจกรรมแต่ละประเภท แต่สิ่งที่ต้องระลึกไว้เสมอ ก็คือ การได้อยู่กลางแสงแดด จะทำให้ร่างกาย และจิตใจสดชื่น เนื่องจากมีการหลั่งของสาร Endorphin และร่างกายยังต้องการ วิตามินดี จากแสงแดด เพื่อกระดูกแข็งแรง โดยเฉพาะในวัยเด็ก และผู้สูงอายุ เนื่องจากปริมาณวิตามินดี จากอาหารไม่เพียงพอ ดังนั้น ควรได้รับแสงแดด อย่างสม่ำเสมอ ครั้งละ 15-30 นาที สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ในเวลาเช้า หรือบ่ายที่แสงแดดปานกลาง 

อัพเดทล่าสุด