ครีมกันแดด สารกันแดดตัวใหม่ ใน ครีมกันแดด


864 ผู้ชม


ครีมกันแดด

สารกันแดดตัวใหม่ ใน ครีมกันแดด

คลิกๆ  "ครีมกันแดด" ผลิตภัณฑ์ที่แพทย์แนะนำ

การตากแดดนานๆ นอกจากก่อให้เกิดผิวไหม้ และวัยชราเร็วแล้ว ระบบภูมิคุ้มกัน ก็เสียไปด้วย บางคนมีผิวขรุขระ เปลี่ยนสี หรือที่เรียกว่า วัยตกกระ หลายคนอาจเป็นมะเร็งผิวหนัง

                                                                                                    

ครีมกันแดดตัวใหม่

แสงอัลทราไวโอเล็ต มี 3 ชนิด

แสง เอ 1 : UVA I มีคลื่นแสง 340-400 นาโมมิเตอร์
แสง เอ 2 : UVA II มีคลื่นแสง 320-340 นาโมมิเตอร์
แสง บี : UVB มีคลื่นแสง 290-320 นาโมมิเตอร์

แสงบี ก่อให้เกิดอันตรายมากกว่า แสง เอ เพราะปริมาณของแสงมีมากกว่า 10-100 เท่าบนพื้นผิวโลก แสง เอ และบี ทำให้คนแพ้แสงได้ แสง บี ก่อให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง แต่แสง เอ ขนาดสูงๆ ก็ก่อให้เกิดมะเร็งได้เช่นกัน

สารป้องกันแสงแดด

ครีมกันแดด มักผสมสารดูดซึมแสงอัลทรา ซึ่งมักกันแสง บี เช่น สารพวกอโวเบนโซน สามารถดูดซับแสง เอ ให้ด้วย แต่สลายตัวได้ง่าย และบางทีมีปัญหา ของการระคายเคือง สารเมนธิลแอนทรานิเลต และอ๊อกซีเบ็นโซน ดูดซับแสง เอ 2 ชนิดสั้น นอกจากนี้ยังมี สารไตเตเนียมไดอ๊อกไซด์ และสังกะสีอ๊อกไซด์ซึ่งเป็นตัวกันแสง และสะท้อนแสงออกไป
เมื่อเร็วๆ นี้ มีการพิสูจน์ว่า แสง เอ 1 ก่อให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้น ได้มีการผลิต สารกันแดด ตัวใหม่ คือ สังกะสี อ๊อกไซด์ เมื่อผสมสังกะสีอ๊อกไซด์ กับซิลิโคนชนิดหนึ่ง เมื่อทาบนผิวแล้ว ไม่ก่อให้เกิดปฎิกิริยาต่อผิวหนัง สามารถป้องกันแสง บี และเอ ได้ ตั้งแต่ 290-380 นาโนมิเตอร์ เมื่อถูกแสงก็ไม่ถูกทำลาย ใช้ได้ดีตามปกติ

หรือ ตากแดดตามชายหาด แสง บี แรงมากแถบเส้นศูนย์สูตร และในฤดูร้อน แต่แสง เอ มีคงที่ตลอดปี สามารถผ่านทะลุกระจก ไม่ว่าเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน ในรถ บางทีคนเราลืมไป หรือไม่สนใจ ดังนั้นที่คนเราแก่เร็ว ผิวหย่อนยาน เกิดจากแสง เอ และ บี ถ้าเราตากแดดสัก 1 ชั่วโมงในฤดูร้อน มีการเปลี่ยนแปลงของหนังกำพร้าหนาขึ้น มีไลโซไซน์ มาย่อยใยยืดหยุ่น การสลายตัวของเซลล์คุ้มกัน ผิวหนังหนาขึ้น และมีเซลล์อักเสบในหนังแท้ จากการศึกษาพบว่า แสง เอ1 ที่ 340-400 นาโนมิเตอร์ เป็นตัวการสำคัญ นักวิจัยอธิบายว่า กรดยูโรเคนิกในผิวหนัง ดูดซับแสงอัลทราไวโอเลต เอ ก่อให้เกิดอ๊อกซิเจนประจุเดียว ซึ่งเป็นอันตราย ต่อใยคอลลาเจน และใยยืดหยุ่น ทำให้เร่งให้เกิดวัยชรา

ครีมกันแดดตัวใหม่สารกันแดด มีมากมายหลายชนิด ถึงแม้ติเตเนียมไดอ๊อกไซด์ ยังกันแสง เอ 1 ชนิดยาวไม่ได้ สารอ๊อกซิเบนโซน กันได้แต่แสง เอ 2 ชนิดสั้น ดังนั้น บริษัทผู้ผลิตผสมสารหลายชนิด เพื่อที่จะกันแสง เอ และ บี ให้ครบ สารอโวเบนโซน หรือพารซอล 1789 กันแสง เอ 1 ชนิดยาวได้ จำเป็นต้องผสมกับสารอื่น เพื่อกันแสง บี แต่จากการทดลองพบว่า สารนี้สลายตัวเมื่อใช้ไปได้ 1 ชั่วโมง ดังนั้น ถ้าจะให้ดี ต้องผสมสังกะสีอ๊อกไซด์ด้วย เพราะกันแสงได้ถึง 290-380 นาโนมิเตอร์ สารอื่น กันแสงได้ไม่เท่า สารนี้ใช้มานานกว่า 300 ปี และเขามักใช้ทาผิวเด็กๆ  ความปลอดภัยจึงสูง สังกะสีอ๊อกไซด์ ในรูปใหม่ของ โมเลกุลที่เล็กมาก จึงใช้ได้ดี บางคนคิดว่า ติเตเนียมไดอ๊อกไซด์ และสังกะสีอ๊อกไซด์ คงมีประสิทธิภาพเครือๆ กัน แต่ความจริง ติเตเนียมกันดีสำหรับแสง บี และแสง เอ 2 ชนิดสั้น แต่กันแสง เอ 1 ชนิดยาวได้ไม่เท่าสังกะสีอ๊อกไซด์ สารติเตเนียม มีการกระจายแสงสูงกว่าสังกะสี ดังนั้น จึงผสมออกมายากกว่า ความเข้มข้นของ สังกะสีอ๊อกไซด์ ที่ใช้กันประมาณ 2-7% ถ้ามีความเข้มข้นสูงก็กันได้ดีกว่า ลองดูที่ข้างกล่องว่า เขาเขียนบอกว่าใส่เท่าใด บางทีเขาไม่ได้บอกไว้ ดังนั้น จึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว รู้สึกเนียนผิว อย่าลืมเลือกใช้ชนิด oil-free หรือไร้ไขมัน เพื่อกันเป็นสิวด้วย

ถ้าไม่จำเป็น อย่าตากแดดก็แล้วกัน ใช้หมวกหรือร่ม แว่นตากันแดด ถ้าไปชายทะเล หรือตีกอล์ฟ ถ้าจะให้ดีอีกนิด เลือกผลิตภัณฑ์ที่ผสม กลุ่มไวตามินซี หรือกรดแอสคอรบิก ซึ่งเป็นตัวขจัดอนุมูลอิสระ หรือใช้สารกระตุ้นเซลล์คุ้มกันด้วย ยิ่งดีใหญ่ ไหนๆเสียเงินทั้งที เลือกใช้ชนิดดีๆ แต่ไม่แพงนัก

 ครีมกันแดด ที่ดี ควรมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

ไม่แสบหน้า ใช้แล้วพอใจ ไม่เป็นอันตราย ป้องกันแสงอัลทรา เอ และ บี ไม่เสื่อมสลายเมื่อโดนแสงแดด กันน้ำได้ และมีการป้องกัน SPF สูง

  1. ใช้แล้วไม่มีปัญหา กับผิวอ่อนละมุนของคุณ เพราะ สารกันแดด รุ่นเก่าๆ มีปัญหา
  2. ใช้แล้วพอใจ ทาแล้วเหมือนไม่ได้ทา ไม่ขาวมาก ไม่เหนียว ไม่มัน ไม่มีสี ไม่มีรส เพราะบางทีติดริมฝีปาก
  3. ไม่เป็นอันตราย เพราะบางคนใช้ทาทั้งตัว อาจมีสารบางชนิดซึมเข้าสู่ผิวได้ ดังนั้น สารนั้นควรจะอยู่แค่ หนังชั้นขี้ไคลเท่านั้น
  4. ป้องกันแสง เอ และ บี ได้ เพราะจากการตรวจพบว่า แม้แต่แสง เอ ทำให้เกิดการทำลายผิวได้ ถ้ามีการทำลาย ดีเอ็นเอ จากแสง บี อาจก่อให้เกิด การเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ดังนั้น สารที่ใช้ต้องดูดซับแสง เอ และแสง บี
  5. ไม่เสื่อมสลาย เพราะเมื่อแสงอัลทราทำปฎิกิริยากับ สารกันแดด สารอาจเสื่อมสลาย หรือไม่ทำงาน เมื่อแสงอัลทราเข้ามา ถูกเปลี่ยนให้เป็นแสงอินฟราเรด และความร้อน สารนั้นเป็นสารทนแสง สารกันแสงที่ดี คือ สารเม็กโซริล เอสเอ๊ก แต่ยังไม่นิยมแพร่หลาย ดังนั้น การเลือกใช้สารหลายตัว จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดการเสื่อมสลาย เมื่อขี้ไคลสลายตัว หลุดออกเป็นขี้ไคล ประมาณ 1ใน 3 ในเวลา 8 ชั่วโมง แต่อาจมีผันแปรบ้าง คือ บางทีก็ไม่หลุดเร็ว บางทีก็หลุดเร็วกว่านั้น การลอกของชั้นขี้ไคลนี้ ขึ้นอยู่กับแสงแดดเหมือนกัน สารที่ติดอยู่ บนชั้นขี้ไคลจะหลุดออก ทำให้การป้องกันแสงลดลง ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุด อยู่ในระยะ 2-3 ชั่วโมงแรก ของการทา ครีมกันแดด
  6. ความสามารถในการกันน้ำ ครีมที่ กันแดด ดี มักละลายน้ำดีด้วย การเล่นน้ำ ขี้ไคลอาจ หลุดออกโดยน้ำทะเล หรือน้ำสระ ทำให้ สารกันแดด ละลายออกไปด้วย
  7. SPF คำว่า SPF ที่ปิดไว้ที่ข้างกล่อง หมายความว่าอย่างไร ตัวเลขเท่าไร จึงจะดี
    SPF คือ อัตราส่วนของเวลา ที่ทำให้เกิดผื่นแดงหลังทา ครีมกันแดด ต่อเวลาที่ทำให้เกิดผื่นแดง เมื่อไม่ทา ครีมกันแดด เขามักเขียนที่ข้างกล่อง ว่า SPF 15 ตัวเลข คือ เวลาที่ ครีมกันแดด กันแสง บี เท่านั้น ทาแล้ว กันแดด ได้นานเท่าใด ในคนไทย SPF 1 ทนแดดนานประมาณ 25 นาที. SPF 15 หมายถึง คูณด้วย 15 =(หารด้วย 60)= ทนได้ประมาณ 7 ชั่วโมง ถ้าเขาเขียนว่า SPF 30 คือ ระยะเวลาที่กันได้ 15 ชั่วโมง บางคนว่าต้องใช้ 50 นั่นหมายความว่า กันได้ 25 ชั่วโมง ไม่ทราบว่าตอนกลางคืน ใช้ ครีมกันแดด ทากันแสงด้วยหรือไง

ปริมาณที่ใช้ทา ต้องมีปริมาณ 2 มิลลิกรัม ต่อ 1 ตารางเซนติเมตร จึงจะได้ SPF ที่เขียนบอกไว้ แต่ในทางปฎิบัติ คนเรามักทาบางกว่าที่เขากำหนดไว้ ดังนั้น ควรเลือกใช้ SPF ประมาณ 26 ขึ้นไป ใช้ได้ทั้งนั้น แต่อาจพบว่า SPF ที่เขาเขียนไว้ 30 ความจริงวัดแล้ว เหลือแค่ 15 ก็มี ในสภาพบรรยากาศที่มีลม ความร้อน ความชื้น และความสูง ทำให้ประสิทธิภาพ ของ ครีมกันแดด ลดลง แถมยังทาบางไป ทำให้ได้ SPF เหลือต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง บางชนิดว่ากันน้ำ แต่ถ้าลงเล่นน้ำจริงๆ คงต้องหาบ่อยๆ ที่ว่ากันน้ำคงจะกันได้จริง แต่จริงแค่ 50% และไม่มีสารใดกันได้ 100% บางทีการทดลอง SPF เขาใช้เครื่องทำแสงแดดเทียม ไม่ใช้แสงแดดธรรมชาติ ดังนั้น ผลที่ได้ อาจแตกต่างกัน ในการป้องกันแสง ค่า SPF ไม่ได้บอกว่าสามารถกันแสง เอได้ ถ้ากันแสง เอ เขาเรียกว่า UVA-PF ซึ่งแต่ก่อน มีค่าแค่ 3 ก็พอเพียงแล้ว แต่ในปัจจุบันมีสารออกมาใหม่ อ้างว่ากันได้ถึง 12 ส่วนการวัดแสง UVA นั้นยังไม่ตกลงกันว่า จะใช้วิธีไหนวัด จึงจะถูกต้อง 

ครีมกันแดดตัวใหม่

ทา ครีมกันแดดแล้ว จะป้องกันการขาดไวตามิน ดี (D) จากแสงแดดหรือไม่?

จากการศึกษา ไม่พบว่าคนจะขาดไวตามิน ดี ซึ่งแสงแดดเป็นตัวสร้าง

ครีมกันแดด สามารถป้องกัน การทำลายดีเอ็นเอ มีการทดลองใช้วัด DNA-PF แทน SPF ซึ่งก็ได้ผลคล้ายๆกัน ครีมกันแดด ยังสามารถป้องกัน ยีน(gene)) เปลี่ยนแปลง หรือที่เรียกว่าผ่าเหล่า นอกจากนี้ ยังป้องกันระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากแสงแดด ทำให้เซลล์คุ้มกัน ของหนังกำพร้า เปลี่ยนรูปร่างและการทำงาน ก่อให้เกิดการหลั่งสารชนิดหนึ่ง ที่เรียก ไซโตคายน์ ซึ่งทำให้กรดยูโรเคนิก เปลี่ยนรูป ก่อให้เกิดการทำลาย ระบบภูมิคุ้มกัน
แสงแดดยังทำให้เกิด ริ้วรอยความชราเร็วไปกว่า คนที่ไม่ได้ถูกแสงแดด มีการศึกษาใช้สาร เม็กซอรีล เอส เอ๊ก ทาร่วมกับสารป้องกันแสง เอ พบว่าใยคอลลาเจนไม่ถูกทำลาย เมื่อเทียบกับ สารกันแดด อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งยังพบว่า มีการทำลายใยคอลลาเจนได้ สาเหตุเป็นเพราะสารนั้น ไม่ทนต่อแสงแดด ทำให้สลายตัวไปบ้าง

การป้องกันโรคโดยใช้ ครีมกันแดด โรคที่ใช้เช่น SLE และโรคแพ้แสง(PLE) มีการทดลองใช้ ครีมกันแดด ในโรคแพ้แสง PLE แล้วใช้แสงอัลทรา เอ ฉายที่ผิวหนัง พบว่าถ้าใช้ สารกันแดด อื่นๆ สามารถทำให้โรค PLE ที่ดีขึ้นแล้ว กลับเป็นใหม่ได้อีกเกือบ 90% ถ้าใช้สารเม๊กซอรีล เอส เอ๊ก ผสม อโวเบนโซน พบว่าโรคกำเริบน้อยมาก ดังนั้น สารนี้จึงเป็นสารที่ดีมากตัวหนึ่ง ในแง่ของการไม่สลาย เมื่อถูกแสงแดด จึงสามารถป้องกันผิวได้เป็นอย่างดี
ครีมกันแดด ป้องกันมะเร็งได้หรือไม่?

จากการศึกษาพบว่า ทา ครีมกันแดด สามารถป้องกันมะเร็ง (actinic keratosis) ชนิดเริ่มต้นได้ คนที่ทาจะเป็นมะเร็งน้อยกว่า คนที่ไม่ใช้ ครีมกันแดด แต่มะเร็งชนิดอื่นยังไม่ได้ศึกษา 

50 ปีผ่านไปหลังจากที่ได้มีการวิจัย เรื่อง สารกันแดด เราควรรู้ว่าเราต้องป้องกันผิวอย่างไร เมื่อไปชายทะเล หรือตีกอล์ฟ จำไว้ว่าแสงแดดทำลายผิว โดยก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ ที่เป็นอันตรายต่อใยต่างๆ ก่อให้ผิวชราเร็ว แสงแดดเป็นพิษ ทำให้ผิวเราชราเร็ว ไม่ใช่เวลาที่ผ่านไปตามปกติ
ที่มา   https://www.doctorcosmetics.com/read_content.php?id=1854&pagetype=product

อัพเดทล่าสุด