อย่าวางใจโรคปอดอักเสบ


984 ผู้ชม


"อย่าวางใจโรคปอดอักเสบ"

    อาการป่วยของเด็กเล็ก คุณแม่อย่าได้วางเป็นอันขาด โรคบางอย่างฟังดูไม่ร้ายแรง ประกอบกับพ่อแม่ชะล่าใจ แล้วปล่อยให้อาการหนัก อันตรายบก็จะทบทวีทีเดียวค่ะ

 ปอดอักเสบ หรือบางครั้งเรียกว่า ปอดบวม เป็นโรคที่ฟังดูคุ้นเคย ฟังดูแล้วไม่น่าจะเป็นโรคที่ร้ายแรง รักษาให้หายได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นในเด็กเล็ก ประกอบกับพ่อแม่ชะล่าใจ แล้วปล่อยให้อาการหนัก อันตรายบก็จะทบทวีทีเดียวค่ะ
ปอดอักเสบมาได้อย่างไร
            คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงทั้งสงสัยและประหลาดใจว่า ทำไมลูกน้อยถึงเป็นโรคปอดอักเสบได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้วิ่งตากฝน ไม่ได้นอนแช่น้ำนาน ๆ หรือไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคนี้
            สาเหตุที่พบได้บ่อยคือเกิดจากเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรียค่ะ ซึ่งเด็ก ๆ มีโอกาสติดได้ง่าย เพราะร่างกายยังมีภูมิต้านทานน้อยอยู่ เมื่อผ่านไปในสถานที่แออัด หรือใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อ ก็อาจจะติดโรคมาได้โดยง่าย ยิ่งถ้าเด็กเล็กเกิดการติดเชื้อก็ยิ่งน่าเป็นห่วงค่ะ
เบบี้เป็นแสนอันตราย
            การที่ลูกน้อยเป็นโรคปอดอักเสบ แล้วอาการรุนแรงเนื่องมาจาก ในเด็กเล็กจะมีท่อทางเดินหายใจเล็กกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งเพียงเสมหะปริมาณน้อย ก็สามารถทำให้ท่อทางเดินหายใจอุดตันได้ และทำให้เป็นปอดอักเสบได้ง่ายกว่าเด็กโตหรือผู้ใหญ่แล้วค่ะ
            แต่อาการของโรคบางครั้งมักไม่แตกต่างกับไข้หวัด แต่จะมีอาการหอบ หายใจเหนื่อยร่วมด้วย คุณพ่อคุณแม่จึงต้องรู้จักสังเกตนะคะ
เหนื่อย หอบ หายใจเร็ว อาการเด่น
            เนื่องจากอาการบางอย่างคล้ายคลึงกับไข้หวัด แต่จะมีอาการไอ หอบ และมีไข้ร่วมด้วย จึงต้องสังเกตจากการหายใจของลูกว่ามีความผิดปกติ หรือมีอาการเหนื่อยหอบร่วมด้วยหรือไม่ โดยอาการแรกที่สังเกตได้คือหายใจเร็ว


 อายุ  การหายใจ
 อายุน้อยกว่า 2 เดือน  หายใจเร็วมากกว่า หรือเท่ากับ 60 ครั้ง/นาที
 อายุ 2 เดือน – 1 ปี  หายใจเร็วมากกว่า หรือเท่ากับ 50 ครั้ง/นาที
 อายุ 1 ปี – 5 ปี  หายใจเร็วมากกว่า หรือเท่ากับ 40 ครั้ง/นาที

            นอกจากนี้ในเด็กบางคนอาจมีอาการหายใจลำบาก หายใจอกบุ๋ม จมูกบาน ส่วนในรายที่เป็นมากจะพบว่ามีอาการริมฝีปากเขียวร่วมด้วย
ไวรัส แบคทีเรีย สาเหตุที่ตรวจได้
            โดยทั่วไปขั้นต้นจะอาศัยประวัติ และการตรวจร่างกายเป็นหลัก จากนั้นจึงจะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจนับเม็ดเลือดและการตรวจภาพรังสีทรวงอก จะสามารถช่วยบอกได้ว่าเป็นไวรัสหรือแบคทีเรียได้
            ซึ่งไวรัสจะตรวจจากสิ่งคัดหลั่งในจมูก ส่วนแบคทีเรียตรวจากเสมหะของผู้ป่วยมาย้อมสีหรือเพาะเชื้อ เพื่อการรักษาที่เหมาะสม
ที่มา   https://www.widemagazine.com/content_detail.php?cont_id=1447

อัพเดทล่าสุด