"เปิดตัว เอส-26 พีอี โกลด์ (S-26 PE Gold) สูตร Advanced 7+7 "
ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมเด็กชี้ 7 สัญญาณถึงเวลายกระดับศักยภาพ ช่วยคุณพ่อคุณแม่สังเกตพฤติกรรมการกินยาก ช่างเลือกของลูกน้อย ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กวัย 1-3 ขวบ ด้านธุรกิจโภชนาการ ไฟเซอร์
ผ่านการค้นคว้าวิจัย มอบ 7 สารอาหารสำคัญที่เด็กกินยาก ช่างเลือก อาจได้รับไม่เพียงพอ
ผู้เชี่ยวชาญเผย 7 สัญญาณที่ต้องยกระดับศักยภาพของลูกน้อยวัย 1-3 ปี
กรุงเทพฯ – ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมเด็กชี้ 7 สัญญาณถึงเวลายกระดับศักยภาพ ช่วยคุณพ่อคุณแม่สังเกตพฤติกรรมการกินยาก ช่างเลือกของลูกน้อย ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กวัย 1-3 ขวบ ด้านธุรกิจโภชนาการ ไฟเซอร์ผู้ผลิตนมผงคุณภาพระดับพรีเมี่ยม เอส-26 เปิดตัวนวัตกรรมล่าสุด นมผง “เอส-26 พีอี โกลด์ สูตร Advanced 7+7” มอบ 7 สารอาหารสำคัญที่เด็กกินยาก ช่างเลือก อาจได้รับไม่เพียงพอ
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมเด็ก ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า พฤติกรรม “เด็กกินยาก” เป็นปัญหาที่พบได้ในเด็กทั่วไปและพบบ่อยในเด็กอายุ 1-3 ขวบ เนื่องจากเด็กวัย 1 ขวบขึ้นไป เริ่มได้รับอาหารที่มีลักษณะแข็งขึ้น จึงมักจะพบปัญหาการกินยาก ทั้งนี้ เด็กกินยาก ช่างเลือก มีหลายแบบ เช่น บางคนกินนมไม่กินอาหารอย่างอื่น บางคนจะต้องกินอาหารที่เละ ๆ เป็นโจ๊กเท่านั้น บางคนไม่ยอมกินนม เนื้อสัตว์ไม่ว่าจะหมูหรือไก่ บางคนไม่ยอมกินผัก ที่พบบ่อย คือ ไม่ยอมกินผัก และไม่ยอมกินเนื้อ อะไรที่มีเส้นใยเหนียว ๆ แข็ง ๆ จะไม่กิน
จากงานวิจัยของดร.นพ.ประสงค์ เทียนบุญ หน่วยโภชนศาสตร์และศูนย์วิจัยโภชนาการ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องพฤติกรรมการกินของเด็ก Picky Eater และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เมื่อปีพ.ศ.2553 ระบุว่า เด็กที่มีพฤติกรรมการกินยาก ช่างเลือก อาจนำไปสู่การรับประทานอาหารไม่สมดุล ไม่ครบหมวดหมู่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก คุณพ่อคุณแม่สามารถสำรวจพฤติกรรมการกินยาก ช่างเลือกของลูกได้จาก “7 สัญญาณถึงเวลายกระดับศักยภาพ” ดังนี้ 1) เขี่ยอาหารที่ไม่ชอบ 2) ชอบกินอาหารซ้ำๆ 3) กินอาหารช้า 4) เลือกกินแต่ของชอบ 5) กินยาก อมข้าว 6) กินน้อยไม่สมดุล 7) ชอบกินขนม น้ำอัดลม ไม่ชอบผักผลไม้ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจหากลูกมี 1 ใน 7 สัญญาณถึงเวลายกระดับศักยภาพ
ด้านนักวิชาการโภชนาการ นางเกศกนก สุกแดง ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลศิริราช แนะว่าคุณพ่อคุณแม่ควรเอาใจใส่เรื่องโภชนาการในเด็กตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อให้ลูกน้อยได้รับโภชนาการที่ดี มีคุณภาพครบถ้วนและสมดุล จากผลการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ของบริษัท Insight Asia เมื่อปี พ.ศ. 2553 พบว่า 74% ของเด็กวัย 1 ปีขึ้นไปมีพฤติกรรมกินยาก ช่างเลือก
“การที่เด็กมีพฤติกรรมกินยาก ช่างเลือก อาจจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก ทั้งด้านการเรียนรู้ สุขภาพ การเจริญเติบโต และด้านโภชนาการ เพราะอาหารที่มีคุณภาพเป็น 1 ใน 3 องค์ประกอบหลักที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาสมองและร่างกายของเด็ก นอกเหนือจากปัจจัยเรื่องพันธุกรรมและกระบวนการเรียนรู้ผ่านสิ่งแวดล้อม การดูแลเอาใจใส่ให้เด็กได้รับโภชนาการที่ดีมีคุณภาพ เพื่อให้ได้รับคุณค่าสารอาหารที่ดีครบถ้วนและสมดุลตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันจึงมีส่วนสำคัญมาก ดังคำกล่าวที่ว่า โภชนาการที่ดีสามารถเสริมศักยภาพลูกคนเก่งของคุณแม่” นางเกศกนกกล่าว
นางสาวสภาพร กังวานเวชกุล ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจโภชนาการ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตนมผงคุณภาพระดับพรีเมี่ยมซึ่งผ่านการค้นคว้าวิจัยสำหรับเด็ก กล่าวว่า “เอส-26 เห็นความสำคัญของโภชนาการที่ดี และเชื่อว่าพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านสมองและร่างกายสามารถเสริมให้เต็มศักยภาพเพิ่มขึ้นอีก ด้วยการมอบโภชนาการที่ครบถ้วนและสมดุล ดังนั้น เราจึงคิดค้นนวัตกรรมใหม่ นมผงปรุงแต่งกลิ่นวานิลลา เอส-26 พีอี โกลด์ (S-26 PE Gold) สูตร Advanced 7+7 ครบครันเหนือกว่า เพื่อตอบสนองความต้องการโภชนาการที่ครบถ้วนและสมดุลสำหรับเด็กวัย 1 ปีขึ้นไปที่มีพฤติกรรมกินยาก ช่างเลือก
สำหรับนมผงปรุงแต่งกลิ่นวานิลลา เอส-26 พีอี โกลด์ (S-26 PE Gold) สูตร Advanced 7+7 มีจุดเด่น คือ มอบ 7 สารอาหารสำคัญที่เด็กมีพฤติกรรมกินยาก ช่างเลือก มีความเสี่ยงที่จะขาด คือ แคลเซียม วิตามินดี สังกะสี เหล็ก ไอโอดีน วิตามินบี 1 และวิตามินเอ และอีก 7 สารอาหารสำคัญ ได้แก่ ฟอสฟอรัส วิตามินเค วิตามินบี 2, บี 6, บี 12 กรดแพนโทธินิค และวิตามินซี นอกจากนี้ ยังมีสารอาหารสูตรเฉพาะของ เอส-26 อันได้แก่ DHA+AA, 5 นิวคลิโอไทด์ (ซึ่งมีอิโนซีน โมโนฟอสเฟต หรือ IMP หนึ่งในนิวคลิโอไทด์) และลูทีน
เพิ่มเติมเรื่อง S-26 PE Gold สูตร Advanced 7+7 ได้ที่ www.s26pegold.com
[1]ดร.นพ.ประสงค์ เทียนบุญ. “งานวิจัยพฤติกรรมการกินของเด็ก Picky Eater”. หน่วยโภชนศาสตร์ และศูนย์วิจัยโภชนาการ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปี พ.ศ. 2553.
[1]บริษัท Insight Asia งานวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research ปี พ.ศ. 2553
ที่มา https://www.widemagazine.com/content_detail.php?cont_id=1069