"สรรพคุณ และ ประโยชน์ของขึ้นฉ่าย"
ประโยชน์ของขึ้นฉ่ายนั้นมีมากมายดีจริง ๆ ว่าแล้วไม่รอช้ามาดู ประโยชน์ของขึ้นฉ่าย และ สรรพคุณของขึ้นฉ่าย กันเลยค่ะ
สรรพคุณ / ประโยชน์ของขึ้นฉ่าย
ขึ้นฉ่ายนั้นมีทั้งในยุโรปและเอเซีย ในยุโรปนั้นถือเป็นพืชพื้นเมืองของยุโรปตอนใต้ ชาวกรีกโบราณมีการทำไวน์ขึ้นฉ่ายเพื่อให้นักกีฬากินและใช้เป็นยาสมุนไพรมานานแล้วด้วย มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ ต้นสีขาว สีเขียว และน้ำตาลเขียว ต้นอวบใหญ่มาก สูงราว 40-60 ซม. ส่วนในเอเชียนั้นจะมีขนาดเล็กว่าคือสูงราว 30 ซม. ที่บ้านเรารับประทานกันอยู่นั้นเป็นพันธุ์จากเมืองจีน
สาร สำคัญในขึ้นฉ่ายที่ช่วยลดความดันโลหิต ลดปริมาณโคเลสเตอร์รอลและมีฤทธิ์เป็นยาระงับประสาทก็คือ 3-เอ็น-บิวทิล ฟทาไลด์ (3-n-butylphthalide)
นอกจากนี้ขึ้นฉ่ายยังอุดมไปด้วยธาตุโพแทสเซียมซึ่งช่วยปรับระดับคววามดันเลือดให้เป็นปกติ และมีสารจำพวกเกลือแร่ แคลเซียม และฟอสฟอรัสอยู่มาก จึงช่วยให้ให้กระดูกและฟันแข็งแรงและช่วยบำรุงครรภ์ด้วย
รวมทั้งมีสารต้านอนุมูลอิสระ คือ พีนอลิคอยู่มาก จึงสามารถนำมาใช้ชะลอความเสื่อมของร่างกายได้ดีพอสมควร มีวิตามินซีสูงมากซึ่งสามารถต้านอนุมูลอิสระ รักษาไข้หวัดและช่วยทำให้หัวใจและหลอดเลือดแข็งแรง ทั้งยังมีสารเบตตาแคโรทีนช่วยต้านมะเร็งและหัวใจขาดเลือดอีกด้วย
และคุณสมบัติทางยาของขึ้นฉ่ายตามตำราจีนอีกอย่างหนึ่งก็คือ ช่วยขับปัสสาวะ และน้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายยังช่วยลดอาการบวมน้ำ เช่น อาการบวมน้ำก่อนมีประจำเดือน แก้โรคไขข้อ แก้อาการอักเสบและอาการปวดตามข้อ
ชาวเอเชียรู้จักใช้ขึ้นฉ่ายเป็ยาลดความดันมาเป็นพันปีแล้วค่ะ ชาวจีน ชาวเวียดนามแนะนำให้รับประทานวันละ 4 ต้น เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ ซึ่งมีข้อมูลว่าในปี ค.ศ. 1992 นายมินห์ เลย (Minh Le) ชาวเวียดนามบิดาของนักศึกษามหาวิทยาลัยแพทย์ชิคาโก ถูกวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และแพทย์ได้สั่งยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ แก้อาการเมาเหล้า แก้อาเจียน รับประทานมากทำให้เป็นหมันได้ ใบแก้โรคความดันโลหิตสูง แก้อาการตกเลือด แก้โรคลมพิษ เมล็ด ขับลม ขับประดู ขับปัสสาวะ แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นยาบำรุงหัวใจ เป็นต้น
สอดคล้องกับการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่พบว่า ขึ้นฉ่ายมีสรรพคุณในการลดความตัดโลหิต ขับปัสสาวะ ลดบวม คุมกำเนิด ลดจำนวนอสุจิ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ยับยั้งการเกิดมะเร็ง เนื้องอก ต้านการอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบบีบตัว มีฤทธิ์กล่อมประสาท เป็นต้น
ส่วนสาเหตุที่นิยมนำขึ้นฉ่ายมาใช้ในการปรุงอาหาร เพื่อดับกลิ่นคาวปลาหรือเนื้อหรือเพิ่มความหอมของน้ำซุบ ก็เพราะว่าในขึ้นฉ่ายมีสารจำพวกน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ ไลโมนีน (Limonene) ซีลินีน (Selinene) และ ฟทาไลด์ (Phthaildes) ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นหอมเฉพาะตัวของขึ้นฉ่าย และช่วยกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหาร
เดี๋ยวนี้คนทั่วโลกหันมานิยมรับประทานอาหารขึ้นฉ่ายกันมากขึ้น มีทั้งรับประทานกันแบบสด ๆ หรือนำไปคั้นเป็นน้ำดื่มแบบสด ๆ หรือไปปรุงอาหารสารพัดรูปแบบ
ที่มา https://www.widemagazine.com/content_detail.php?cont_id=535