สรรพคุณ และ ประโยชน์ของมะเขือเปราะ


1,222 ผู้ชม


"สรรพคุณ และ ประโยชน์ของมะเขือเปราะ"

    มะเขือเปราะ จัดเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก ๆ เลยค่ะ แม้ว่าหลาย ๆ คนจะยี้มะเขือเปราะ

แต่คุณรู้ถึงสรรพคุณของมะเขือเปราะ และ ประโยชน์ของมะเขือเปราะ กันบ้างรึเปล่าค่ะ ถ้าคุณ ๆ ได้รับรู้ถึง สรรพคุณของมะเขือเปราะ และ ประโยชน์ของมะเขือเปราะ กันแล้วอาจจะเลิกยี้และหันมารับประทานเจ้ามะเขือเปราะกันมากขึ้นก็เป็นไปได้นะค่ะ อย่างที่โบราณท่านว่าไว้ว่า หวานเป็นลมขมเป็นยานะจ๊ะ นั้นเรามาดู สรรพคุณของมะเขือเปราะ และ ประโยชน์ของมะเขือเปราะ กันก่อนจะตัดสินลงโทษเจ้ามะเขือเปราะทั้งที่ยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมันเลยซักกะติ๊ดเดียว

สรรพคุณ / ประโยชน์ของมะเขือเปราะ

คุณค่าทางอาหารของมะเขือเปราะ
มะเขือเปราะ 100 กรัม ให้พลังงาน 39 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7.1 กรัม แคลเซียม 7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม ไทอะมิน 0.11 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.06 มิลลิกรัม น้ำ 90.2 กรัม วิตามินเอรวม 143 RE. วิตามินซี 24 มิลลิกรัม
ประโยชน์ของมะเขือเปราะ
- ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ ลดความดันเลือด
- บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมะเขือเปราะมีสรรพคุณคล้ายกับอินซูลินลดปริมาณน้ำตาลในเลือด คนเป็นเบาหวานที่มีมะเขือเปราะเป็นผักคู่ใจเลยอาการดีวันดีคืน
- ช่วยขับพยาธิ ลดการอักเสบ
- ช่วยให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดี
- มีประโยชน์ต่อตับอ่อน ทำให้ตับแข็งแรงทำงานได้มีประสิทธิภาพ
สรรพคุณของมะเขือเปราะ
- มะเขือเปราะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดฆ่าเชื้อแบคทีเรียและขับปัสสาวะ
- การแพทย์อายุรเวทของอินเดียใช้รากมะเขือเปราะ รักษาอาการไอ หอบหืด อาการหลอดลมอักเสบ ขับปัสสาวะ และขับลม
- ผลใช้ขับพยาธิ ลดไข้ ลดอักเสบ ช่วยการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร และกระตุ้นทางเพศ ประชากรในแคว้นโอริสสาของประเทศอินเดียใช้น้ำต้มผลมะเขือเปราะรักษาโรคเบาหวาน งานวิจัยนานาชาติระหว่างปี พ.ศ.2510-2538 พบว่า ผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ และลดความดันเลือด
- ผลมะเขือเปราะมีไกลโคอัลคาลอยด์โซลามาร์จีน โซลาโซนีน และอัลคาลอยด์โซลาโซดีนที่ปราศจากโมเลกุลน้ำตาล การทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารเหล่านี้พบว่า ทุกตัวมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่
- พบว่าฤทธิ์ของไกลโคอัลคาลอยด์สูงกว่าโมเลกุลไร้น้ำตาล ราก ต้นและผลแก่มีสารอัลคาลอยด์เหล่านี้ต่ำ แต่ผลเขียว (เหมือนที่คนไทยกิน) มีสารที่มีประโยชน์เหล่านี้ในปริมาณสูงกว่าส่วนอื่นของพืชดังกล่าว
- สารโซลาโซดีนใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์คอร์ติโซนและฮอร์โมนเพศได้ ผลตากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งใช้ปรุงยาแก้ไอ
- งานวิจัยที่แคว้นโอริสสา ประเทศอินเดีย ใช้สารสกัดน้ำของผลมะเขือเปราะลดปริมาณน้ำตาลในเลือดของหนูเบาหวานอะล็อกซาน พบว่าได้ผลลดน้ำตาลในเลือดดีเท่ากับการใช้ยากลิเบนคลาไมด์ (glibenclamide)
ที่มา   https://www.widemagazine.com/content_detail.php?cont_id=263

อัพเดทล่าสุด