"ประโยชน์ และ สรรพคุณของพริกขี้หนู"
เมื่อพูดถึงพริกขี้หนูคงจะไม่มีใครไม่รู้จักเพราะว่า ประโยชน์และสรรพคุณของพริกขี้หนูนั้นมีมากมายจริง ๆ บ้างคนก็ใช้
สรรพคุณของพริกขี้หนู ในการลดความอ้วนได้อีกด้วยค่ะ และวันนี้เราก็มีประโยชน์และ สรรพคุณของพริกขี้หนู มาฝากด้วยนะค่ะ มาดูกันเลยดีกว่า ประโยชน์และ สรรพคุณพริกขี้หนู นั้นจะมีอะไรกันบ้างและช่วยรักษาโรคอะไรบ้าง เพราะพริกขี้หนูก็จัดว่าเป็นสมุนไพรเช่นเดียวกันค่ะ
ประโยชน์ / สรรพคุณของพริกขี้หนู
- ผล ใช้ปรุงรสอาหารช่วยเจริญอาหารและรักษาอาการอาเจียน รักษาโรคหิด กลาก รักษาโรคบิด โดยการใช้พริกสด 1 เม็ด หรือมากกว่านั้นใช้กิน และอาการปวดบวมเนื่องจากความเย็นจัดโดยใช้ผงพริกแห้งทำเป็นขี้ผึ้งหรือสารละลายแอลกอฮอล์ใช้ทา
- พรรณไม้นี้เป็นพรรณไม้สวนครัวที่ขาดกันไม่ได้เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นง่ายแต่บำรุงรักษายาก เพราะใบอ่อนของพริกอร่อยทำให้แมลงต่าง ๆ ชอบกิน ผลแรกผลิใช้ผสมกับผักแกงเลียงช่วยชูรส ส่วนผลกลางแก่ใช้ใส่แกงคั่วส้มจะได้อาหารที่มีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ เพราะมีวิตามีซีและไส้พริกจะมีสารแคบไซซินที่ให้ความเผ็ดและมีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อนเป็นเครื่องปรุงอาหารช่วยชูรส ใส่น้ำพริก ยำ ทำเป็นน้ำปลาดองและยังเป็นยาช่วยกระตุ้นทำให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ หรือใช้ภายนอกเป็นยาทาถูนวดลดอาการไขข้ออักเสบ
ประโยนช์ของพริกขี้หนูทางคลีนิค
1. รักษาอาการบวม ฟกช้ำ ให้ใช้พริกขี้หนูที่แก่จัดเป็นสีแดงแล้วตากแห้งนำมาบดเป็นผงให้ละเอียด แล้วเทลงในวาสลินที่เคี่ยวจนเหลวกวนให้เข้ากันแล้วนำไปเคี่ยวอีกจนได้กลิ่นพริก ใช้สำหรับทาถูรักษาอาการเคล็ด ถูกชนฟกช้ำดำเขียว และอาการปวดตามข้อ ให้ทาตรงบริเวณที่เป็นวันละครั้งหรือสองวันต่อครั้ง
2. รักษาอาการปวดตามเอวและน่อง ให้ใช้ผงพริกขี้หนูและวาสลินหรือผลพริก วาสลิน และแป้งหมี เติมเหล้าเหลืองจำนวนพอประมาณแล้วคนให้เป็นครีมก่อนที่จะใช้ให้ทาลงบนกระดาษแก้วปิดบริเวณที่ปวด ใช้พลาสเตอร์ปิดโดยรอบจะมีอาการทำให้เหงื่อออก การเคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้นและรู้สึกหายปวดจากการตรวจสอบพบว่า ตามบริเวณที่พอกยาจะมีความรู้สึกร้อนและการไหลเวียนของโลหิตเพิ่มขึ้น
ประโยชน์ของพริกขี้หนูทางเภสัชวิทยา
1. สารสกัดจากพริก ใช้ทาลงบนผิวหนังจะทำให้หลอดเลือดตามบริเวณนั้นขยายตัวและการไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น ถ้าใช้มากเกินไปอาจจะทำให้ระคายเคืองได้
2. ฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและฆ่าแมลง แคปซายซินจะมีผลยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus และเชื้อ Bacillus subtilis แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ Bacillus aureus และเชื้อ Bacillus coli นอกจากนี้สารที่สกัดจากพริก โดยวิธีการต้มด้วยน้ำจะมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง
3. ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร แคปซายซิน ทำให้เจริญอาหารและกินอาหารได้มากขึ้น พริกสามารถช่วยกระตุ้นทำให้การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารสุนัขเพิ่มขึ้นและน้ำสกัดที่ได้จากพริก จะช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum ของหนูตะเภาที่เกิดจากอะเซทิลโมลีนและฮีสตามีนได้ส่วนแคปซายซินจะเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum ของหนูตะเภา แต่ถ้าให้แคปซายซินซ้ำอีกครั้งในขนาดเท่า ๆ กัน จะมีผลน้อยมากหรือไม่มีผลเลย
4. ผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต แคปซายซินที่สกัดจากพริกสามารถกระตุ้นหัวใจห้องบนของหนูตะเภา แต่เมื่อฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำของแมวและสุนัขจะทำให้ความดันโลหิตและหัวใจเต้นช้า หายใจขัด และอาการพวกนี้จะหายไป เมื่อเราตัดเส้นประสาทเวกัสออก (Vagotomy) ส่วนแคปซายซินจะเพิ่มความดันโลหิตในแมวที่ถูกตัดหัวออก (decapitated cat) ถ้าฉีดเข้าในหลอดเลือดดำของแมวที่ถูกวางยาสลบจะทำให้ความดันโลหิตในปอดสูงขึ้น แต่เมื่อฉีดเข้าบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจโดยตรง จะทำให้หลอดเลือดนั้นหดตัวและฤทธิ์ของแคปซายซินต่อหัวใจ ห้องบนของหนูตะเภานั้นจะเพิ่มทั้งความเร็วและความแรงในการเต้น
5. ฤทธิ์อื่น ๆ หลังจากกินอาหารที่ใช้พริกขี้หนูแก่จัดสีแดงเป็นเครื่องปรุงแต่งนานประมาณ 3 สัปดาห์ จะทำให้สารกลุ่มคอรืติโซน ในพลาสมาเพิ่มขึ้นและปริมาณที่ขับออกทางปัสสาวะก็จะเพิ่มขึ้น ส่วนสารที่สกัดได้จากพริก ถ้าฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักรจะมีฤทธิ์กดประสาททำให้เดินเซเล็กน้อยและชักตายได้ เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดจะมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูขาวและมีฤทธิ์กระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกทั่วไป
ที่มา https://www.widemagazine.com/content_detail.php?cont_id=122