"มือถือ กำลังฆ่าคุณ?"
มือถือ กำลังฆ่าคุณ? เชื่อหรือไม่คะกับคำกล่าวนี้แต่ล่าสุดผู้เชี่ยวชาญทางด้านสรีรศาสตร์ (Ergonomics Expert) กล่าวว่าอุปกรณ์สื่อสารเหล่านี้อาจทำให้อวัยวะหลายส่วนในร่างกายคุณเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น หลังค่อม ตาเสื่อม ฯลฯ
บทความในเว็บไซต์ New York Times ระบุว่า มือถือ โน้ตบุ๊ค และแท็บเล็ต เป็นสิ่งที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์แย่ลงกว่าก่อนนี้มาก แม้พวกมันได้รับการออกแบบให้ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย แต่กลับส่งผลต่อสุขภาพในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นข้อต่อ มือ หลัง และคอ ก่อนหน้านี้ ผู้เชี่ยวชาญฯ กล่าวว่า พนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์อาจจะกังวลแค่เรื่องสายตาเท่านั้น เนื่องจากโต๊ะ เก้าอี้ และคอพิวเตอร์ ได้รับการออกแบบให้ร่างกายสามารถนั่งทำงานอยู่ในท่าที่ถูกต้องได้ แต่เทคโนโลยีทีมีขนาดเล็กกว่า อย่างเช่น มือถือที่สามารถถือไว้ในมือ และไหล่ในการยกมันขึ้นใช้งานในลักษณะต่างๆ ตลอดทั้งวัน ซึ่งไม่ใช่ท่าที่ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์ โดยเฉพาะเมื่อคุณไม่ได้ใช้ขณะนั่งอยู่ที่โต๊ะ
เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ใช้ทีใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้แทบตลอดเวลา จึงมีโอกาสที่จะอยู่ในท่่าทางที่ไม่ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่ท่าทีสะดวกสบาย จนอาจส่งผลให้เกิดอาการอย่างเช่น การปวดข้อมือคล้ายๆ กับ Carpal Tunnel Syndrom ไปจนถึงการมองเห็นที่แย่ลง หรือแม้แต่นิ้วล็อค แย่สุดคือ มือไม่สามารถกำ หรือหยิบจับสิ่งของต่างๆ ได้ นอกจากนี้ ผู้ใช้ที่พยายามอีเมล์ด้วยอุปกรณ์สื่อสารพวกนี้ ยังมีความเสี่ยงทีจะเกิดอาการผิดปกติต่างๆ ทางร่างกายดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นอีกด้วย
แล้วอะไรคือทางเลือกที่ดีทีสุดสำหรับการทำให้สุขภาพของร่างกายปกติในขณะที่ยังคงสามารถเชื่อมต่อกับผู้คนอื่นๆ ด้วยอุปกรณ์เหล่านี้ คำตอบก็คือ "ไม่มี" ตราบใดที่ผู้ผลิตยังไม่สามารถพัฒนาอุปกรณ์ที่ตอบโจทย์เรื่องนี้ ซึ่งจุดของการออกแบบที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ต้องมีการแก้ไขอย่างเช่น คีย์แพดขนาดเล็กบนสมาร์ทโฟนที่ผู้ใช้ต้องใช้นิ้วโป้งด้วยวิธีที่ไม่เป็นธรรมชาติ และยังเป็นการทำร้ายตัวเองอีกด้วย หรือทัชแพดที่ต้องใช้นิ้วกดสัมผัส เพื่อควบคุมพอยน์เตอร์บนหน้าจอ ซึ่งมันมีวิธีเดียวที่จะหนีจากความเครียดที่ส่งผลกระทบต่อส่วนต่างๆ ของร่างกายอันมีสาเหตุมาจากการใชอุปกรณ์แก็ดเจ็ตต่างๆ เหล่านี้ ก็คือ ปิดมัน แล้วออกไปเดินสูดอากาศภายนอก พักสายตา และยืดเส้นยืดสายบ้าง ฟังดูง่าย แต่ทำยากมากสำหรับผู้บริโภคในยุคดิจิตอล แล้วคุณผู้อ่านของเว็บไซต์ arip ล่ะครับ คิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้
ที่มา https://www.widemagazine.com/content_detail.php?cont_id=1316