ตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์ ปกป้องลูกน้อยจากความพิการ


1,060 ผู้ชม


"ตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์ ปกป้องลูกน้อยจากความพิการ"

    ตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ดีมากๆ ที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายๆ ท่านควรทำและปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

สมัยนี้เรื่องการตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์นั้นถือจะเป็นเรื่องที่ดูจะธรรมดาและเป็นปกติไปแล้วสำหรับคนรุ่นใหม่ และ ตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ดีมากๆ ที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายๆ ท่านควรทำและปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง เพราะเราเชื่อว่า คุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่านย่อมปรารถนาให้ลูกน้อยทุกคนของคุณมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงและครบทุกประการจริงไหม ฉะนั้นไม่ใช่เรื่องน่าแปลกเลยที่จะมีการตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์แม้ว่าคุณนั้นจะพร้อมในทุกๆ อย่างและทุกๆ ด้านแล้วหากแต่ร่างกายไม่พร้อมคนใดคนหนึ่งคงเป็นปัญหา แล้วคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าใครมีปัญหาอะไรอย่างไรหรือไม่คงจะต้องให้คุณหมอเป็นผู้ตอบคำถามสุขภาพของคุณกันแล้วล่ะค่ะ
" สามีภรรยาส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ว่าใครมีโรคประจำตัวหรือมีโรคทางกรรมพันธุ์อะไรหรือเปล่า บางคนไม่คิดว่าโรคบางโรคอาจติดต่อมายังลูกได้ นี่จึงเป็นประเด็นสำคัญว่าทำไมสามีภรรยาควรไปพบหมอก่อนตัดสินใจมีบุตร " ร.อ.อ.พญ.ภัทราพร ภู่ทอง สูตินรีแพทย์ ประจำโรงพยาบาลพระราม 9 กล่าวไว้ในการสัมมนาแห่งหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้

ตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์ พบหมอก่อนมั่นใจกว่า


การตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับสามีภรรยาที่ตั้งใจจะ มีลูก เพราะสุขภาพที่สมบูรณ์จะทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์มากขึ้นไม่มีปัญหาในการตั้งครรภ์และยังช่วยลดความเสี่ยงหรืออันตรายที่อาจจะเกิดกับลูกในท้อง
การตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์จะเหมือนการตรวจร่างกายประจำปีทั่วไปมีการวัดส่วนสูง น้ำหนัก ความดัน ตรวจดูร่างกายทุกระบบที่เกี่ยวเนื่องกับการตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีขั้นตอนโดยทั่วไปคือ การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ


1. ซักประวัติดูกรรมพันธุ์


ร.อ.อ.พญ.ภัทรพร กล่าวว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับการซักประวัตินี้หมอจะเน้นมากในเรื่องของประวัติการใช้ยา การแพ้ยา การผ่าตัดในอดีต การฉีดวัคซีน รวมไปถึงประวัติครอบครัวแต่ละฝ่ายเพื่อดูว่าเคยมีใครเป็นเบาหวาน ความดันโลหิต ทาสัสซีเมียหรือไม่ เพราะโรคเหล่านี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมซึ่งทำให้เด็กที่คลอดออกมาพิการมีความผิดปกติของร่างกายหรืออาจเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์โดยไม่ทราบสาเหตุ
" คู่สมรสที่มีประวัติเรื่องพวกนี้ควรบอกหมอไว้ก่อน เพื่อที่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือก่อนตั้งครรภ์คุณหมอจะได้ให้คำแนะนำว่า ควรใช้หรือไม่ควรใช้ยาตัวใด บางครั้งยาบางตัวเราก็นึกไม่ถึงว่าจะส่งผลเสียต่อลูกได้ เช่น ยารักษาสิวบางตัวที่มีวิตามินเอ หากภรรยาตั้งครรภ์ระหว่างทานยานี้ลูกที่เกิดมามีโอกาสสูงที่จะพิการทางสมอง ซึ่งหมอสูติฯ มักไม่แนะนำให้ตั้งครรภ์ต่อ"

2. เจาะเลือดหาโรค


- หลักสำคัญของการเจาะเลือดคือการตรวจหาโรคที่อาจถ่ายทอดไปสู่ลูก ซึ่งคุณหมอระวังมากหากพบว่าคู่สามีภรรยามีโรคใดโรคหนึ่งต่อไปนี้
- ทาสัสซีเมีย (โรคโลหิตจาง) หากมีอาการของโรครุนแรงจะทำให้เด็กตายตอนคลอด หากอาการไม่รุนแรงเด็กที่คลอดออกมาจะไม่สมบูรณ์ เช่น ตัวซีด มีตับหรือม้ามโต มีหน้าตาแปลกๆ
- ซิฟิลิส หากภรรยาติดโรคจากสามีและตั้งครรภ์อาจทำให้ลูกมีความผิดปกติ เช่น ขนาดรกโต เด็กมีน้ำในท้อง หัวใจผิดปกติ
- โรคเอดส์ เด็กจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ไปด้วย แต่หากตรวจพบก่อนคุณหมออาจให้ยาที่ลดการติดต่อไปยังลูกได้ เช่น จาก 30% อาจเหลือเพียง 8%
- ไวรัสตับอักเสบบี อาจจะทำให้เด็กมีอาการป่วยเป็นโรคตับแข็งตั้งแต่ยังเล็กๆ ได้
- หัดเยอรมัน ทำให้เด็กมีโอกาสพิการสูง ปกติแล้วหากคุณแม่ติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก คุณหมอมักแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์


3. ละพฤติกรรมเสี่ยง


การตรวจร่างกายไม่ได้มีผลดีเฉพาะการสร้างความมั่นใจในเรื่องการมีบุตรให้กับคุณเท่านั้น แต่คุณยังจะได้รับคำปรึกษาที่ดีเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสม ตลอดจนการรักษาและการป้องกันตัวเองในกรณีที่ตรวจพบอาการของโรคที่อาจซ่อนเร้นอยู่ในตัวคุณ
อย่างไรก็ตามถึงแม้คุณทั้งคู่ โดยเฉพาะว่าที่คุณแม่จะมีสุขภาพสมบูรณ์และพร้อมแล้วที่จะมีลูกเพื่อช่วยให้ลูกน้อยเริ่มต้นชีวิตได้ดีที่สุด ก่อนที่จะปล่อยให้ตัวเองตั้งครรภ์อย่าลืมเลิกพฤติกรรมหรืองดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพต่อไปนี้ด้วย
ลดน้ำหนักเมื่อจำเป็น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
เลิกบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เสี่ยงอาหารที่มีไขมันหรือน้ำตาลสูง
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ที่มา    https://www.widemagazine.com/content_detail.php?cont_id=912

อัพเดทล่าสุด