ใช่คุณหรือเปล่า.. ที่เสี่ยงเป็นเบาหวาน


1,259 ผู้ชม



หน้าที่ 1 - ใช่คุณหรือเปล่า.. ที่เสี่ยงเป็นเบาหวาน

 


              ชวนทุกคนมาลองประเมินความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กัน ทำเสร็จแล้วอ่านการแปลผลและข้อแนะนำ ท่านใดได้คะแนนมากแสดงว่าคุณ .. เสีย่งที่จะเป็นเบาหวานแล้วล่ะค่ะ

โรคเบาหวานชนิดที่ 2
             เป็นโรคที่พบได้บ่อยและมีแนวโน้มสูงขึ้น ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่มีผลต่อการตายและคุณภาพชีวิตในระยะยาว จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตรวจคัดกรองป้องกันการเกิดโรค และดูแลรักษาเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
             การรู้ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน สามารถช่วยพยากรณ์การเกิดโรคเบาหวานและมีประโยชน์ในการ กำหนดกลุ่มเสี่ยงคือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
             
 อายุ ความชุกของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มสูงขึ้นตามอายุ
             
ความอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีความชุกสูงขึ้นในประชากรที่อ้วน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีภาวะอ้วนลงพุง (Central Obesity) เป็นสาเหตุสำคัญต่อภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งเป็นพยาธิกำเนิดที่สำคัญของโรค เบาหวานชนิดที่ 2
             
ความดันโลหิตสูง/ ระดับโคเลสเตอรอลในเลือด เป็นปัจจัยพยากรณ์หนึ่งที่จะบอกความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2
             
ประวัติโรคเบาหวานในญาติสายตรง เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินสูงกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติ ในครอบครัว
             
 ระดับครีอะตินินในเลือด จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีแนวโน้มที่จะมีระดับครีอะตินินในเลือดสูงกว่าคนปกติ
             การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและการคัดกรองโรคเบาหวาน ตลอดจนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต (Lifestyle Modification) เป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและนโยบายระดับประเทศ ปัจจุบันมีการคัดกรองโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงทุกจังหวัด รวมทั้งใน ร.พ.ธ.จะมีการคัดกรองในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันพยาบาลแห่งชาติ วันเบาหวานโลก สำหรับท่านผู้อ่านท่านใดที่ยังไม่เคยตรวจคัดกรองเบาหวาน สามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวานและตรวจสอบผลได้
ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และคะแนนความเสี่ยง

การแปลผลคะแนนความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2และข้อแนะนำ

             แนะนำเพิ่มเติมว่าท่านใดที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวานสูง การตรวจสุขภาพดูระดับน้ำตาลในเลือดก็จะช่วยในการวินิจฉัยเบาหวานได้ แต่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้า โดยการอดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยเบาหวานคือ ค่าน้อยกว่า 100 มก/ดล. ถือว่าปกติ ค่าตั้งแต่ 100-125 มก/ดล. เรียกว่า เบาหวานแฝง ค่าตั้งแต่ 126 มก/ดล. เป็นต้นไป เป็นเบาหวาน (ถ้าให้มั่นใจควรตรวจซ้ำอย่างน้อย 2 ครั้ง และมีวิธีการตรวจอื่นอีก)
ที่มา   https://vcharkarn.com/varticle/42362

อัพเดทล่าสุด