กำราบภูมิแพ้ให้อยู่หมัด


956 ผู้ชม


หน้าที่ 1 - กำราบภูมิแพ้ให้อยู่หมัด

            ในบรรดาผู้โชคร้ายมักเจอปัญหาตรงกัน คือไม่ว่าจะเพียรพยายามรักษาที่สถานพยาบาลใด ด้วยยาที่ดีขนาดไหนสุดท้ายก็แค่ช่วยบรรเทาหรือยับยั้งอาการเพียงชั่วครั้งชั่วคราว แล้วอย่างนี้ จะมีข่าวดีของคนเป็นภูมิแพ้บางไหมไปดูกัน
 
สาเหตุของโรคภูมิแพ้
            
 กรรมพันธุ์ โรคภูมิแพ้ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้ทำให้ลูกมีแนวโน้มที่จะแพ้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ง่ายกว่าคนธรรมดา
            
 สารพิษ คนรุ่นใหม่สัมผัสสารเคมีที่ผิดธรรมชาติมากขึ้นทุกวัน ทั้งในอากาศ ในน้ำดื่ม ในอาหารที่รับประทานในอาคารที่อยู่อาศัย หรือแม้กระทั่งในเสื้อผ้าที่สวมใส่ ซึ่งรบกวนระบบภูมิ ชีวิตจนร่างกายมึนงง แยกไม่ออกว่าสารใดเป็นมิตรหรือสารใดเป็นศัตรู ทำให้ร่างกายไวต่อสารแปลกปลอมมากขึ้น
            
 ยาทุกวันนี้เรากินยากันในทางที่ผิดและโดยไม่จำเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ เช่น เป็นหวัด เราก็กินยาฆ่าเชื้อ โดยหารู้ไม่ว่าหวัดนั้นเกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนยาฆ่าเชื้อเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งไม่ได้ช่วยให้โรคหวัดดีขึ้นเลย หรือเมื่อหกล้มฟกช้ำดำเขียว เราก็กินยาปฏิชีวนะ ที่เรียกกันว่า “ยาแก้อักเสบ” กันจนติดปาก ทั้งที่จริงจะมีประโยชน์แก้อักเสบก็เฉพาะเป็นการอักเสบจากการติดเชื้อ หรือถ้าเป็นแผลก็ต้องแผลเป็นหนองเท่านั้น นี่เป็นแค่ตัวอย่างเบาะๆที่เราใช้ยาปฏิชีวนะกันโดยไม่จำเป็น และยาเหล่านี้เองที่จะกระตุ้นทำให้เกิดการแพ้ได้ ใครที่เป็นภูมิแพ้ลองถามตัวเองว่าใช้ยาปฏิชีวนะบ่อยไหม
            
 อาหารและโภชนาการ ทั้งสิ่งที่กินและประสิทธิภาพในการย่อยล้วนมีผลต่อระบบภูมิชีวิต เช่น ถ้ากินอาหารชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ระบบภูมิชีวิตก็อาจจะทำงานผิดพลาด หรือภาวะขาดสารอาหารเรื้อรังก็จะทำให้ระบบภูมิชีวิตอ่อนแอได้
            
 ความเครียด ใครที่เครียดเป็นประจำและติดต่อกันนานๆ ระบบภูมิชีวิตก็จะรวนไปหมดจนแยกมิตรและศัตรูไม่ค่อยถูก อาการของภูมิแพ้ก็จะถามหาได้โดยง่าย

การรักษาภูมิแพ้แผนปัจจุบัน
            วงการแพทย์ปัจจุบัน ยังไม่พบยารักษาการแก้ที่ถูกจึงควรเป็นการแก้ที่ต้นเหตุว่า ทำอย่างไรที่จะให้ภูมิชีวิตฟื้นฟูดีขึ้น ซึ่งตัวคุณเองนี่แหละค่ะที่จะปกป้องตัวเองไม่ให้เกิดอาการกำเริบ หรือช่วยตัวเองด้วยการปรับสมดุลของร่างกาย จนภูมิชีวิตกลับมาเป็นปกติได้ดีที่สุด ซึ่งจะต้องค่อยเป็นค่อยไปและใช้เวลาเป็นปีๆ
            ในระหว่างนั้น การหลีกเลี่ยงจากสารกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้จะช่วยให้คุณปลอดภัยมากที่สุด และหากเจอะเจอกับสารกระตุ้นภูมิแพ้โดยไม่ตั้งใจ ก็อาจจะใช้ยาเม็ดและยาฉีด ตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบันช่วยบรรเทาอาการได้ชั่วครั้งชั่วคราว หรือป้องกันไม่ให้โรคกำเริบไปก่อน
            ยาเหล่านี้ได้แก่ยา แก้แพ้และแก้คัดจมูกยากันหอบหืด ยาลดอาการบวม ปัจจุบันมีการรักษาที่เรียกว่า “การรักษาด้วยหลักอิมมูโนวิทยา” ซึ่งจะลดความไวของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอม ด้วยการฉีดสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดเจือจางเข้าสู่ร่างกายทีละน้อย ติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือนหรือเป็นปี เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ คุ้นเคยกับสิ่งแปลกปลอม พอร่างกายเคยชินต่อสารกระตุ้นก็จะค่อยๆ ปรับตัว ไม่ถูกกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ขึ้นอีก วิธีนี้ฟังดูน่าจะเข้าท่าแต่น่าเสียดายค่ะที่การรักษาได้ผลไม่ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ แถมค่าใช้จ่ายสูงและกินเวลานานมาก
กำราบภูมิแพ้ด้วยตัวเอง
            ในเมื่อการรักษาด้วยการใช้ยาและเทคโนโลยีเป็นการพึ่งพาได้เพียงชั่วคราวคราว ลองมาดูกันว่าแล้วเราจะช่วยตัวเองในการพลิกฟื้นภูมิชีวิตที่มันเสียระบบไปได้อย่างไรบ้าง

            ออกกำลังกาย เมื่อออกกำลังกายจะมีเลือดไปเลี้ยงตามส่วนต่างๆ มากขึ้นช่วยให้ลำไส้ย่อยอาหารดีขึ้นกระตุ้นการทำงานของสมอง และเพิ่มความแข็งแรงในทุกระบบของร่างกาย สมองหัวใจ ปอดผิวหนังอวัยวะภายในกล้ามเนื้อ หรือแม้แต่ระบบภูมิชีวิต และยังช่วยให้ร่างกายขับของเสีย รวมทั้งสิ่งแปลกปลอมออกจากเซลล์ทุกเซลล์ได้มากขึ้น
            ทำสมาธิ มีการศึกษาพบว่าการทำสมาธิช่วยลดความดันเลือด ความเครียดและความเจ็บปวดช่วยเสริมสร้างภูมิชีวิตในด้านจิตใจจะช่วยผ่อนคลายความเครียดทำให้เผชิญกับโรคภูมิแพ้ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังได้ดีขึ้น
            อาหารเสริมภูมิชีวิต ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายจะดีเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่เราป้อนไปอาหารจึงเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญปัจจัยหนึ่งในการปรับภูมิชีวิต นอกจากนี้ยังมีสารอาหารหลายชนิดที่ช่วยให้ระบบภูมิชีวิตดีขึ้น
            
 สังกะสี มีมากในข้าวซ้อมมือ อาหารที่มีส่วนผสมของยีสต์ เช่น ข้าวหมากหรือขนมปังอาหารทะเล
            
 ซีลีเนียม อาหารที่มีซีลีเนียมสูง ได้แก่ บร็อคเคอลี เห็ด กะหล่ำปลี แตงกวา หอมกระเทียม วิตามินเอ เป็นวิตามินฆ่าเชื้อโรค และเมื่อเราขาดวิตามินเอ ระบบภูมิชีวิตจะลดลง แหล่งขอวิตามินเอ ได้แก่ กล้วยมะเขือเทศ กระถิน แครอท มะละกอสุก ข้าวโพด ผักกาดหอม
            
 วิตามินอี มีมากในในน้ำมันถั่วเหลืองน้ำมันดอกทานตะวัน และน้ำมันข้าวโพด ข้าวซ้อมมือ ถั่วแดง ถั่วเหลือง
           
 โรคภูมิแพ้มีสาเหตุที่ซับซ้อน การดูแลรักษาจึงควรเป็นไปอย่างเป็นองค์รวม คือดูแลทั้งด้านอาหารการกินหลีกเลี่ยงสารกระตุ้น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสและฝึกสมาธิ ซึ่งต้องใช้เวลา เพราะภูมิชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องปรับอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ที่มา   https://vcharkarn.com/varticle/42327

อัพเดทล่าสุด