วัคซีนป้องกันไขหวัดใหญ่


1,177 ผู้ชม


หน้าที่ 1 - วัคซีนป้องกันไขหวัดใหญ่

 


วัตถุประสงค์

         1. เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไขหวัดใหญ่ เช่น ปอดบวม, โรคหัวใจ, โรคตับ, โรคไต, ผู้ป่วย HIV ฯลฯ
         2. ลดโอกาสเกิดการ re-assortment หรือ การผสมเชื้อของไข้หวัดนกกับไข้หวัดใหญ่ในบุคคลเดียวกันซึ่งจะเร่งให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (Pandemic  strain) ที่มีอันตรายร้ายแรงและแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วทั่วโลก

ข้อบ่งชี้ของการฉีดวัคซีน
องค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดข้อบ่งชี้สำหรับผู้ที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไว้ดังนี้
         1. ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
         2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคเลือดและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
         3. หญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2-3 ในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่
         4. ผู้ที่ต้องกินยาเอสไพรินติดต่อกันเป็นเวลานาน
         5. บุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากต้องทำงานสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยตลอดเวลา
         6. ผู้ที่ทำงานในสถานเลี้ยงดูคนชราหรือเด็กเล็ก

ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น

         ผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่แล้วประมาณ 10-14 วัน จะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นสามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ร้อยละ 60-90 และภูมิคุ้มกันนี้คงอยู่นานประมาณ 1 ปี จึงต้องฉีดทุกปี

ชนิดของวัคซีน

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มี 2 ชนิด คือ


         1. วัคซีนเชื้อตาย (Inactivated   Vaccine) เป็นวัคซีนที่ทำจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ถูกฆ่าให้ตายแล้ว   แต่ยังคงคุณสมบัติในการกระตุ้นร่ายกายให้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นได้   สมัยก่อนใช้วัคซีนที่จาก Whole  cell พบว่ามีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายเกิดขึ้นได้ คือ Guillain-Barre  Syndrome (ทำให้เป็นอัมพาตแขน ขา) ประมาณ 1:20,000-30,000 ของผู้ที่ฉีดวัคซีน  ปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการทำวัคซีนโดยอาศัยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมตัดเอาชิ้นส่วนของเชื้อไวรัสเพียงบางส่วนมาทำเป็นวัคซีน เช่น Split  virion และ Subunit  ซึ่งมีคาวปลอดภัยสูงลดโอกาสการเกิดผลแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงกรณีที่ไม่ฉีดวัคซีนที่อาจจะเกิดปอดบวม 1:1,000 และที่อาจจะเกิดสมองอักเสบทำให้เป็นอัมพาตได้เช่นเดียวกัน 1:200,000-300,000

         2. วัคซีนเชื้อเป็น (Live  attenuated  vaccine) เป็นวัคซีนที่ทำจากเชื้อไวรัสตัวเป็น แต่นำมาทำให้หมดฤทธิ์ในการก่อโรคในคน ใช้พ่นทางจมูกในคนที่แข็งแรงดีอายุ 5-49 ปี ซึ่งประเทศไทยไม่มีการใช้วัคซีนชนิดนี้
ที่มาของวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
         วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะผลิตจากการรวบรวมเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่ระบาดในปีที่ผ่านมา  นำมาทำเป็นวัคซีน  ซึ่งสายพันธุ์ที่ระบาดในแต่ละปีอาจจะแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องฉีดทุกปีและเนื่องจากไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในซีกโลกเหนือ (เช่น ทวีปอเมริกาและยุโรป) กับซีกโลกใต้ (เช่น แถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้) มักจะระบาดในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน  และอาจจะเกิดจากเชื้อไวรัสต่างสายพันธุ์กัน โดยซีกโลกเหนือมักจะมีการระบาดในฤดูหนาวคือเดือน พ.ย.-ก.พ. ของปี ในขณะที่ซีกโลกเหนือมักจะมีการระบาดในฤดูฝน เช่น ก.ค.-ต.ค. ของทุกปี ดังนั้น

         - ซีกโลกเหนือ  จึงใช้วัคซีนชนิด Northern  Strain ฉีดเดือน ก.ย.-ต.ค.
         - ซีกโลกใต้   ใช้วัคซีนชนิด  Southern  Strain  ฉีดเดือน พ.ค.-มิ.ย.

ผลข้างเคียงของวัคซีน (Side  effect)

         1. ปวด  บวม  บริเวณที่ฉีด (ปกติฉีดที่ต้นแขน)
         2. บางรายอาจมีไข้ต่ำๆ 1-2 วันหลังฉีด รัษาโดยให้รับประทานยาลดไข้ เช่น Paracetamol
         3. Guillain-Barre  Syndrome ทำให้เป็นอัมพาตแขน ขา  ปัจจุบันโอกาสเกิดน้อยมาก 1:1,000,000 ราย

ข้อห้ามของการฉีดวัคซีน
         1 .ผู้ที่มีประวัติแห้ไข่  เนื่องจากในกระบวนการผลิตวัคซีนจะมีการเพาะเลี้ยงในเนื้อเยื่อของไข่  จึงมีโอกาสที่ Ovalbumin- โปรตีนจากไข่ที่ติดมาด้วย
         2. ผู้ที่เป็นไข้เฉียบพลันรุนแรง
         3. ผู้มีประวัติเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนมาก่อน  โดยเฉพาะเคยมีอาการชาแขน ขา หรือมีอาการกล้ามเนื้อเปลี้ยๆ หลังฉีดวัคซีนตัวหนึ่งตัวใดมาก่อน
         4. เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน

หมายเหตุ

         วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดนก  แต่ป้องกันไข้หวัดใหญ่ในคนได้   จึงสามารถลดโอกาสที่จะเกิด reassortment-การผสมเชื้อของไข้หวัดนกกับไข้หวัดใหญ่ในคน   ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการกลายพันธุ์เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ร้ายแรงและระบาดทั่วโลก (Pandemic  Influenza)

ที่มา   https://vcharkarn.com/varticle/39431

อัพเดทล่าสุด