หน้าที่ 1 - ลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุนด้วยความรู้ด้านพันธุกรรม
หากพูดถึง “โรคกระดูกพรุน” ฟังดูเหมือนว่าเราคุ้นเคยกันมานานแล้ว อันที่จริงแล้ว ประเทศไทยเพิ่งจะมีการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังเมื่อ 2-3 ปีมานี่เอง ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน คณบดีคณะแพทยศาสตร์ หัวหน้าหน่วยวิจัยต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม์ โรงพยาบาล
รามาธิบดี กล่าวว่า สังคมไทยเพิ่งตื่นตัวกับโรคกระดูกพรุนเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากประชากรไทยมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้น และต้องประสบกับโรคดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ... ลองมาทำความรู้จักกับโรคกระดูกพรุนกัน
โรคกระดูกพรุน คือ สภาวะที่ความหนาแน่นของกระดูกลดลง และมีการเสื่อมของกระดูกในระดับย่อยๆ ของส่วนต่างๆ ในร่างกาย เนื่องจากมีการสร้างกระดูกน้อยกว่าการทำลายกระดูก ทำให้กระดูกเปราะบาง มีอัตราเสี่ยงของกระดูกหักเพิ่มขึ้น พบได้บ่อยในสตรีวัยหมดประจำเดือน ซึ่งความหนาแน่นของกระดูกอาจลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดผลแทรกซ้อนที่สําคัญคือ ทำให้กระดูกเปราะแตกหักง่ายในกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นสาเหตุของความทุพลภาพ และเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
โรคกระดูกพรุนมีสาเหตุหลายอย่างด้วยกัน เช่น
การ ได้รับปริมาณแคลเซียมไม่พอเพียง โดยปกติคนไทยได้รับแคลเซียมจากการรับประทานเฉลี่ยราว 360 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน แต่ชาวอเมริกันได้รับคำแนะนำให้ทานแคลเซียมราว 1,000-1,500 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน แหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุดคือ นม และผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากนม รองลงมาก็คือ ปลาเล็กที่กินทั้งกระดูก กะปิ ในขณะที่แคลเซียมจากผักจะดูดซึมไม่ดี เนื่องจากปริมาณสารไฟเตตและออกซาเลตจะรบกวนการดูดซึมแคลเซียม
การได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ ก็มีผลต่อการเกิดโรคนี้เช่นกัน วิตามินดีมีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ ควบคุมการขับถ่ายแคลเซียมออกจากไต และควบคุมการสะสมแคลเซียมบนกระดูก ปกติแล้วคนไทยได้รับปริมาณแสงแดดมากพอที่จะทำให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี ได้เองอย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม อาจเกิดภาวะขาดวิตามินดีเช่นกัน หากใช้เวลาอยู่แต่ในที่ร่มเป็นหลัก
พันธุกรรมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับการเกิดโรคกระดูก พรุน ปัจจัยด้านพันธุกรรมระหว่างคนไทยกับคนตะวันตกในเรื่องนี้ก็มีความแตกต่างกัน อีกด้วย
ปัจจัยอื่นๆ เช่น การไม่ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวน้อย ภาวะการหมดประจำเดือน หรือการที่ต้องถูกตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง โรคบางอย่างเช่น ไทรอยด์เป็นพิษ หรือยาบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ที่ทานติดต่อกันเป็นเวลานาน เป็นต้น
การป้องกันโรคกระดูกพรุนสำหรับคนไทย ทำได้ใน 2 แบบใน 2 ช่วงเวลาสำคัญ นั่นก็คือ
- เพิ่มการสะสมมวลกระดูกในระยะที่มีการสะสมมวลกระดูกสูงสุด คือในวัยเด็กและวัยรุ่น
- การป้องกันไม่ให้เกิดการสลายตัวอย่างรุนแรงของกระดูกในวัยสูงอายุจนเกิดเป็นโรค
แม้วาระดับความรุนแรงของโรคนี้ในคนไทยจะน้อยกว่าที่พบในประเทศตะวันตก แต่ก็พบกรณีกระดูกสะโพกหักในสตรีสูงอายุในประเทศไทยสูงถึงร้อยละ 30-50 ของประเทศทางตะวันตก
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้สนับสนุนให้นักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร
โรง พยาบาลรามาธิบดี นําโดย ศ.นพ. บุญส่ง องค์พิพัฒนากุล ศึกษาและพัฒนาวิธีการตรวจลักษณะทางพันธุกรรมเพื่อประเมินความเสี่ยงของการ เกิดโรค เพราะโรคกระดูกพรุนเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรมอย่างใกล้ชิด การพัฒนาการตรวจทางพันธุกรรมเพื่อใช้ร่วมกับการศึกษาปัจจัยเสี่ยงทางคลินิก จะช่วยให้การวางแผนป้องกันโรคกระดูกพรุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คณะนักวิจัยพบว่ามียีนเครื่องหมาย 3 ยีนที่มีความสัมพันธ์กับโรคกระดูกพรุนอย่างใกล้ชิด โดยสตรีที่เป็นโรคกระดูกพรุนมักจะมีความผิดปกติของยีนกลุ่มดังกล่าว ในขณะที่สตรีในวัยเดียวกันที่ไม่เป็นโรคกระดูกพรุนไม่พบความสัมพันธ์ดัง กล่าว นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า ในกลุ่มสตรีอายุประมาณ 20-40 ปี ที่ยังไม่มีอาการกระดูกพรุน แต่มีความผิดปกติของยีนในกลุ่มนี้ มีความหนาแน่นของกระดูกต่ำกว่ากลุมสตรีในวัยเดียวกันที่ไม่มีความผิดปกติของ ยีนกลุ่มดังกล่าว
ข้อมูลจากการตรวจกรองโรคดังกล่าว จึงมีประโยชน์ในการช่วยให้กลุ่มเสี่ยงมีการดูแลและเฝ้าระวังตนเองมากขึ้น เช่น ดูแลเรื่องปริมาณแคลเซียมให้ได้รับอย่างเพียงพอ จะทำให้สามารถลดความสูญเสียในด้านต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตในช่วงบั้นปลายให้ดีขึ้นได้
ที่มา https://vcharkarn.com/varticle/39209