หน้าที่ 1 - ถึงคราวแบคทีเรียอาละวาด จับตาการระบาดครั้งใหม่ของ กาฬโรค
จากสถานการณ์การระบาดของ โรคกาฬโรคปอด ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้ป่วยไปแล้ว 3 ราย โดยผู้เสียชีวิตรายแรกเป็นชายวัย 37 ปี อาศัยอยู่ที่เมืองจื่อเคอถาน ในมณฑลชิงไห่ ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ผู้เสียชีวิตรายที่สองคือชายวัย 32 ปี มีอาชีพเลี้ยงสัตว์ เป็นเพื่อนบ้านของผู้เสียชีวิตรายแรก ผู้เสียชีวิตรายที่สาม เป็นชายวัย 64 ปี ที่อยู่ในเมืองเดียวกัน นอกจากนี้รายงานล่าสุดยังพบว่ามีผู้ติดเชื้อแล้วอีก 10 คน ผลการตรวจสอบพบว่าเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกับกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองอักเสบที่ทำคนตายมาแล้วในยุโรปถึง 25 ล้านคน โดยขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขของจีนได้มีคำสั่งให้ปิดเมืองจื่อเคอถาน และพื้นที่ใกล้เคียง ห้ามติดต่อกับโลกภายนอกอย่างเด็ดขาดแล้ว
ด้านกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยได้ออกมาเตือนประชาชนไม่ให้ตื่นตระหนก เพราะการแพร่ระบาดของโรคยังเป็นในหมู่คนจำนวนน้อย ไม่ลุกลามข้ามประเทศ แต่เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือและป้องกันตนเองจากโรค จึงควรมาทำความรู้จักกับโรค กาฬโรคกันกาฬโรค (Plague) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียรูปแท่งชื่อ เยอร์ซิเนีย เพสติส( Yersinia pestis) ผู้พบเชื้อครั้งแรก พบใน พ.ศ. 2437 โดย Yersin & Hitasato เดิมแบคทีเรียสปีชีส์นี้ จัดอยู่ในจีนัส Pasteurella ในปี พ.ศ. 2487 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Yersinia ตาม
ชื่อผู้พบเชื้อคนแรก และปี พ.ศ. 2497 โดยกาฬโรคเป็นโรคติดต่อที่มีอันตรายร้ายแรงที่สุด หากมีการเกิดโรคนี้ต้องแจ้งความตามพระราชบัญญัติป้องกันโรคติดต่อ พ.ศ.2523
กาฬโรคมีกี่ชนิด
กาฬโรคมี 3 ชนิด คือ
1. ชนิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เป็นชนิดที่อ่อนที่สุด และพบบ่อยที่สุด มีอาการคือ บริเวณต่อมน้ำเหลืองที่อักเสบนั้นจะบวมแดงและนิ่ม เวลากดจะเจ็บ ตำแหน่งที่พบได้แก่ ข้างคอ ขาหนีบ รักแร้ อาจมีไข้ร่วมด้วย ถ้าไม่รักษาจะกลายเป็นชนิดที่ 2 คือ เชื้อเข้าสู่กระแสเลือดแบคทีเรีย Yersinia pestis
2. ชนิดเชื้อในกระแสเลือด มักจะลุกลามจากชนิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ มีอาการคือ มีไข้สูงความดันเลือดต่ำ ช็อก หัวใจเต้นเร็ว กระสับกระส่าย เพ้อ หมดสติ เลือดออกในอวัยวะต่างๆ เสียชีวิตภายใน 3-5 วัน หรือภายในไม่กี่ชั่วโมง
3. ชนิดกาฬโรคปอด อาจเกิดตามหลังจาก 2 ชนิดแรก หรือติดเชื้อจากคนไอจามรดกัน มีอาการคือ ปอดบวม ไอเป็นน้ำ เสมหะไม่เหนียว ต่อมาจะมีเลือดปน อ่อนเพลีย มีไข้เหมือนกับ 2 ชนิดแรก หากไม่ได้รับการรักษา จะตายเร็วมากภายใน 1-3 วัน นอกจากนี้ อาจเป็นชนิดเล็กน้อยเหมือนอาการเจ็บป่วยทั่วไป เช่น มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต ไอเหมือนเจ็บคอ หรือหวัดทั่วไป
การติดต่อของโรค
1.ติดต่อทางผิวหนัง กาฬโรคเป็นโรคติดต่อที่มีสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู กระแต กระรอก และกระต่าย เป็นพาหะนำโรค สัตว์ที่พบมักเป็นโรคบ่อยได้แก่ หนู ประเภท Rattus โดยมีหมัดเป็นพาหะ มักเป็นพวก Xenopsylla cheopis ที่พบเกิดการระบาดในคนบ่อยๆ เชื้อสามารถอยู่ในตัวหมัดได้เป็นเดือนขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม เมื่อหมัดหนูดูดเลือดจากตัวหนู หรือสัตว์ฟันแทะอื่นๆ ที่มีเชื้อกาฬโรคอยู่ในตัวของสัตว์นั้นแล้วมากัดคน เชื้อจะเข้าทางบาดแผล อีกกรณีคือคนที่มีบาดแผลไปสัมผัสกับหนูที่มีเชื้อโรค
2. ติดต่อทางการหายใจ ติดต่อทางการหายใจ โดยคนสูดเอาละอองเชื้อโรค(ไอ จาม เสมหะ)จากผู้ที่เป็นโรค หรือจากหนู หรือจากหมัดหนู สูดเข้าไป กลายเป็นกาฬโรคชนิดที่ติดเชื้อทางกระแสเลือดหรือกาฬโรคปอดชนิดนี้รุนแรงและเสียชีวิตได้ง่ายภาพจำลองการติดต่อของโรคกาฬโรค
ประวัติการระบาด
ในอดีตมีการระบาดใหญ่ของกาฬโรคเกิดขึ้น 3 ครั้ง
การระบาดครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เรียก การระบาดครั้งนั้นว่า Plague of justinian การระบาดเริ่มจากประเทศอียิปต์ไปสู่ทวีปยุโรป โดยเฉพาะที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล มีคนตายวันละหมื่นคน มีการระบาดติดต่อกัน เป็นระยะเวลาประมาณ 50 ปี มีคนตายหลายล้านคน
การระบาดครั้งที่สอง คือในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรียกการระบาดครั้งนั้นว่า The Black Death (กาฬมรณะ) โดยเริ่มต้นจากตอนใต้ของประเทศอินเดียและจีน ผ่านประเทศอียิปต์เข้าสู่ประเทศในยุโรป มีการระบาดในอิตาลีเมื่อปี พ.ศ.1889 เรียกว่า "Great Mortality" และมีการระบาดเป็นระยะตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 15, 16, 17 ในปี พ.ศ. 2208 เกิดการระบาดใหญ่ที่กรุงลอนดอน มีคนตายเป็นจำนวนประมาณ 60,000 คน จากประชากร 450,000 คน เรียกว่า The Great Plague of London การระบาดในยุโรปครั้งนั้นมีประชากรประมาณ 25 ล้านคน ต้องตายด้วยโรคนี้
การระบาดครั้งที่สาม เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก ปี พ.ศ. 2439 มีการระบาดเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์ ไทย ฟิลิปปินส์ ฮาu3652 .วอี อารเบีย เปอร์เชีย เตอร์กี อียิปต์ และแอฟริกาตะวันตก เข้ารัสเชียและในทวีปยุโรป เข้าสู่อเมริกาเหนือ และเม็กซิโก มีรายงานระหว่างปี พ.ศ. 2443-2444 ในภาคตะวันออกของจีนมีคนตายประมาณ 60,000 คน ปี พ.ศ. 2453-2454 ที่แมนจูเลีย มีคนตายประมาณ 10,000 คน ต่อมามีรายงานการระบาดที่รัฐแคลิฟอเนียและประเทศรัสเซีย
ประวัติการระบาดในประเทศไทย
นายแพทย์ เอช แคมเบล ไฮเอ็ด เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล (Principal Medical Officer of Bangkok City) ได้รายงานการกาฬโรคครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2447 ว่า โรคได้เกิดขึ้นที่บริเวณตึกแดงและตึกขาวซึ่งเป็นโกดังเก็บสินค้า จังหวัดธนบุรี เป็นที่อยู่ของพ่อค้าชาวอินเดีย แล้วระบาดเข้ามาฝั่งพระนคร จากนั้นกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ ที่มีการติดต่อค้าขายกับกรุงเทพฯ โดยทางบกทางเรือและทางรถไฟ ไม่มีสถิติจำนวนผู้ป่วยตายที่แน่นอน รายงานปรากฏก่อนปี พ.ศ. 2456 ที่จังหวัดนครปฐม มีคนตาย 300 คน ครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 มีรายงานผู้ป่วย 2 รายตาย 1 ราย ที่ตลาดตาคลีจากนั้นไม่มีรายงานกาฬโรคเกิดขึ้นในประเทศไทยจนปัจจุบันนี้
การรักษา
ผู้ป่วยกาฬโรคต้องรักษาโดยแยกห้อง เพื่อมิให้เชื้อแพร่กระจาย ซึ่งยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษากาฬโรคได้แก่ 1.สเตรปโตมัยซิน 2.คลอแรมเฟนิคอล 3.เตตราซัยคลีน 4.โคไตรม็อกซาโซล ภาพตำนานการระบาดของกาฬโรคในยุโรปยุคกลางบุคลากรที่ทำการรักษาต้องมีความ ระมัดระวังอย่างเคร่งครัดด้านการป้องกันการติดเชื้อ โดยสวมถุงมือ ปิดปาก จมูก และควรทำลายเชื้อจากเลือด น้ำเหลืองและหนองของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อ
การป้องกันตนเองจากกาฬโรค
1. สำหรับผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรค หรือหนูที่สงสัยว่าตายจากกาฬโรค ต้องกินยาเตตราซัยคลีนวันละ 1 กรัม (แคปซูลละ 250 มิลลิกรัม กินครั้งละ 1 แคปซูล 4 เวลา หลังอาหาร) เป็นเวลา 7 วัน
2. การป้องกันส่วนบุคคล เช่น ใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก ใช้หลายๆ ชั้น สวมถุงมือยาง สวมแว่นตาให้มิดชิด
3. กำจัดหนู กำจัดหมัด จัดที่อยู่อาศัยให้เรียบร้อย ถูกสุขลักษณะ
ที่มา https://vcharkarn.com/varticle/39157