จากไข้หวัดหมูสู่ไข้หวัดใหญ่แม็กซิโก


870 ผู้ชม


หน้าที่ 1 - ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

โดย บัวอื่น
 

          ข่าวการเสียชีวิตของชาวแม็กซิโกด้วยโรคติดต่อตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำเอาชื่อ “ไข้หวัดหมู (Swine flu)” หรือไข้หวัดใหญ่แม็กซิโกได้กลายเป็นชื่อโรคที่คนทั่วโลกตื่นตระหนกขึ้นมาทันที


ในอดีตโลกเรามีการระบาดครั้งใหญ่ของไข้หวัดใหญ่มาแล้ว 3 รอบได้แก่
           ครั้งที่ 1 "ไข้หวัดใหญ่สเปน" (Spanish Flu) ในปีคศ. 1918 หรือ พ.ศ. 2461  ได้เกิดการระบาดของไข้หวัดชนิด [A (H1N1)] นับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ประมาณว่าเกิดการติดเชื้อร้อยละ 20-40 ของประชากรโลกและมีผู้เสียชีวิต20 ล้านคน พบผู้ป่วยส่วนใหญ่ในวัยนุ่มสาว อายุ 20-50 ปี
                      
                           ภาพ: Spanish Flu 1918 ที่มา: 
www.johnfenzel.typepad.com

           
ครั้งที่ 2 "ไข้หวัดใหญ่เอเซีย"
 (Asian Flu) ในปี คศ. 1957 หรือ พ.ศ. ได้มีการระบาดของไข้หวัดชนิด [A (H2N2)] ต้นเหตุมาจากการกลายพันธุ์ไวรัสในเป็ดป่า ในครั้งนี้การระบาดของโรคไม่รุนแรงเท่าครั้งแรก เพราะมีความรู้จากประสบการณ์ในครั้งแรก ทำให้สามารถรับทือได้ดีขึ้น คาดว่ามีคนตายทั่วโลกประมาณ 2 ล้านคน ส่วนใหญ่พบผู้ติดเชื้อในผู้สูงอายุ

           ครั้งที่ 3  "ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง" (Hong Kong Flu) ในปี 1968 หรือ พ.ศ. 2511 เป็นการระบาดของเชื้อชนิด [A (H3N2)]เริ่มต้นระบาดที่ฮ่องกง แต่ความเสียหายในครั้งนี้ไม่มากนัก คาดว่ามีเหยื่อโรคร้ายนี้เกือบ 1 ล้านคน สำหรับผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ

ไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือ Influenza นั้น แบ่งออกเป็น 3 Type ดังนี้
           Type A องค์การอนามัยโลก แบ่งย่อยเป็นหลาย subtypes ตามความแตกต่างของ H และ N antigens พบในคนและสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่
                      - คน พบ 3 ชนิดได้แก่ H1N1, H2N2, H3N2
                      - ม้า พบ 2 ชนิดได้แก่ H3N8 และ H7N7
                      - สัตว์ปีก พบทุกชนิดได้แก่ H1-15 และ N1-9
           Type B ไม่มี subtype พบเฉพาะในคน
           Type C ไม่มี subtype พบในคนและสุกร

            “ไข้หวัดหมู(Swine flu)” หรือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์แม็กซิโก เริ่มระบาดครั้งแรกในประเทศแม็กซิโก เป็นโรคที่ระบาดจากคนสู่คน และพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ซึ่งแตกต่างไปจากไข้หวัดปกติที่มักเป็นในเด็กหรือคนสูงอายุ ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตกว่าหนึ่งร้อยราย และผู้ติดเชื้ออีกพันกว่าราย ส่วนในประเทศอื่นๆ พบผู้ป่วยที่สหรัฐอเมริกาใน 5 รัฐ คือ แคลิฟอร์เนีย เท็กซัส แคนซัส นิวยอร์ค โอไฮโอ นอกจากนี้ยังพบในประเทศเสปนอีกด้วย
           
           ภาพ: A soldier handed out face masks in Mexico City ที่มา: 
www.nytimes.com

           สำหรับประเทศไทย แต่เดิมนั้นก็เรียกโรคชนิดนี้ว่า “ไข้หวัดหมู” แต่เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน และเหมาะสมจึงได้เปลี่ยนมาเรียกว่า ไข้หวัดใหญ่แม็กซิโก ซึ่งที่เรียกกันว่า “ไข้หวัดหมู(swine flu)” นั้นก็เพราะ โรคนี้เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสหวัดหมู เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของหมู มีสาเหตุมาจากไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (influenza type A)  เชื้อนี้สามารถพบได้ตลอดทั้งปี แต่มักแพร่ระบาดในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว ปกติแล้วคนจะไม่ติดเชื้อไข้หวัดหมู  ยกเว้นแต่ว่ามีการไปสัมผัสใกล้ชิดกับหมู ก็อาจติดเชื้อไข้หวัดหมูมาได้  และยังไม่ค่อยพบว่ามีไข้หวัดหมูระบาดจากคนสู่คน แต่จากสถานการร์ล่าสุด เมื่อพบว่ามีการติดต่อเชื้อเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H1N1จากคนสู่คน ซึ่งเป็นสายพันธุ์พิเศษในแบบที่พบทั้งในคน นก และหมู   จึงเชื่อว่าเกิดจากการที่เชื้อไวรัสกลายพันธุ์ เพราะเชื้อไวรัสไข้หวัดนั้นจะสามารถกลายพันธุ์ มีการแลกเปลี่ยนลักษณะทางพันธุกรรมได้ตลอดเวลา

           ไวรัส  H1N1 นับเป็นเชื้อ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน เป็นสายพันธุ์ว่า H1N1 เชื้อไข้หวัดใหญ่ใน พันธุ์ใหม่เกิดขึ้นจากกระบวนการ เปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือ “Antigenetic Shift” กลายเป็นเชื้อพันธุ์ใหม่ขึ้นมา ซึ่งเกิดจากการผสมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์รวมอยู่ด้วยกัน ประกอบด้วย
           1.เชื้อไข้หวัดนกที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ
           2.เชื้อไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์
           3.เชื้อไข้หวัดหมูที่พบบ่อยในทวีปยุโรปและเอเชีย ผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้ขึ้นสูง ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง และปวดศีรษะรุนแรง

การแพร่เชื้อของไข้หวัดใหญ่แม็กซิโก
          การแพร่เชื้อนั้นก็เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ในคนโดยทั่วไป  โดยการไอ หรือจามรดกันในระยะใกล้ชิด ซึ่งเชื้อนั้นจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย รวมทั้งการสัมผัสกับสิ่งของต่างๆที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่จากการสัมผัส เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา แม้จะพบว่าเชื้อนี้มีการติดจากคนสู่คนได้ แต่ยังไม่พบว่ามีการติดเชื้อนี้จากการบริโภคเนื้อหมู
           สวมใส่หน้ากากเพื่อสุขอนามัย ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่ชุมชน หรือสถานที่แออัด และนอนหลับ พักผ่อนกินอาหารให้ร่างกายแข็งแรง
                                     
                                 ภาพ: สวมใส่หน้ากากเพื่อสุขอนามัย ที่มา: 
www.washingtontimes.com
อาการของไข้หวัดใหญ่แม็กซิโก
           ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ธรรมดา มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ไอ มีน้ำมูก แต่จะแสดงอาการรุนแรง และรวดเร็วกว่า ไข้หวัดใหญ่ธรรมดา นั่นคือ มีไข้สูง หายใจไม่สะดวก ปวดเมื่อยตามร่างกายรุนแรง ปวดศีรษะ ปวดตา ไอ มีน้ำมูก มีเสมหะ ปอดบวม คลื่นไส้ อาเจียนอาการป่วยจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว  เชื้อจะแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต จึงทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีการทรงตัวผิดปกติ หายใจลำบากอย่างรุนแรงภายใน 5 วัน นอกจากนี้อาจสูญเสียการได้ยินอาจถึงขั้นหูหนวกได้ และต้องได้รับการรักษาอย่างทันเวลา ไม่เช่นนั้นอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้  แต่อัตราผู้เสียชีวิตต่อผู้ป่วยนับว่าไม่มากนัก ผู้ได้รับเชื้อจะมีอัตราเสียชีวิตเพียงร้อยละ 5-7 ขณะที่โรคไข้หวัดนกมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 60

การป้องกันไข้หวัดใหญ่แม็กซิโก
           การป้องกันก็เช่นเดียวกับการป้องกันไข้หวัดธรรมดาทั่วๆไปนั้นคือ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชนหรือแออัด การมือให้สะอาดหลังใช้ห้องน้ำหรือสิ่งของสาธารณะ รวมทั้งเวลากลับเข้าบ้าน ใส่หน้ากากปิดปากและจมูก แต่การที่จะต้องระวังตัวเองมากน้อยอย่างไรก็ขอให้ติดตามสถานการณ์และคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณธสุขไม่ควรจะตื่นตระหนกเกินเหตุ

การรักษาไข้หวัดใหญ่แม็กซิโก
           ยาที่ใช้ในการรักษาไข้หวัดใหญ่คราวนี้ได้คือ ยาปฏิชีวนะ คือ วัคซีนแอนตี้ไวรัส ทามิฟลู (Tamiflu) และ รีเลนซา (Relenza) ยังสามารถช่วยในการรักษาได้อาการหวัดอย่างได้ผลในขณะนี้ แต่การที่ไวรัสกลายพันธุ์ออกไปจากเดิมอาจต้องพัฒนาตัวยา รวมทั้งวัคซีนในการรักษาต่อไปซึ่งอาจต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน
                        
                                            ภาพ: ยา Tamiflu ที่มา:www.telegraph.co.uk

           แต่ที่สำคัญคือ ต้องเข้าใจว่า โรคที่กำลังเผชิญกันอยู่นี่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหมูโดยตรงแต่อย่างใด เป็นเพียงโรคที่เป็นสายพันธุ์หมู ต้องเข้าใจว่านี่คือโรคที่ติดต่อจากคนสู่คน เราจึงสามารถรับประทานหมูได้ตามปกติ แต่เพื่อความปลอดภัย ก็ให้ปรุงเนื้อหมูให้สุกโดยผ่านความร้อนที่อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียสขึ้นไป เพื่อฆ่าเชื้อไวรัสให้ตายเสียก่อน

ที่มา    https://vcharkarn.com/varticle/38593

อัพเดทล่าสุด