หน้าที่ 1 - นักวิชาการเตือนกินค้างคาว ผิดกฎหมาย เสี่ยติดเชื้อไวรัสก่อโรคเพียบ
นักวิชาการเตือนกินค้างคาว ผิดกฎหมาย เสี่ยติดเชื้อไวรัสก่อโรคเพียบ
จากกรณีข่าวชาวบ้านจังหวัดกาฬสินธุ์นิยมนำค้างคาวมาใช้ประกอบอาหาร โดยเชื่อว่าเลือดของค้างคามมีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ขณะที่ไขมันที่สะสมอยู่ในตัวค้างคาวจะช่วยให้ร่ายกายอบอุ่นต้านทานความหนาวเย็นได้นั้น ( วันที่ 5 มกราคม 2552 ) ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี หัวหน้าห้องปฏิบัติการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านวิจัยและฝึกอบรมโรคติดเชื้อไวรัสจากสัตว์สู่คน (WHO Collaborating Center for Research and Training on Viral Zoonoses ) คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณีมหาวิทยาลัย กล่าวว่า การดื่มเลือดค้างคาวสด ๆ หรือบริโภคเนื้อหรือเครื่องในค้างคาว แบบสุก ๆ ดิบๆ มีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อจากเชื้อไวรัสสู่คนมาก ทั้งนี้มีรายการพบไวรัสมากกว่า 60 ชนิด จากค้างคาวหลายชนิดทั่วโลก ซึ่งหลายชนิดก่อให้เกิดโรคในคนเช่น ไวรัสตระกูลโรคพิษสุนัขบ้า , ไวรัสอีโบล่า (Ebola) , ไวรัสซาร์ (SARA) , ไวรัสนิปาห์ (Nipah) และผลการวิจัยในประเทศไทยที่ได้รับการสนับสันุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้มีการตรวจพบไวรัสนิปาห์ที่ก่อให้เกิดโรคสมองอักเสบและมีอัตราการเสียชีวิต 40-80% จากการตรวจเลือด น้ำลายเยี่ยว ของค้างคาวแม่ไก่ โดยเชื่อว่าค้างคาวชนิดอื่น ๆ ก็มีเชื้อไวรัสนี้เช่นกัน ส่วนกรณีที่มีคนเชื่อว่าค้างคาวที่จับมาดูสุขภาพดีไม่น่าจะมีการติดเชื้อใด ๆ นั้น ถือเป็นสิ่งที่เข้าใจผิดและต้องระวังมาก เพราะเมื่อค้างคาวมีการติดเชื้อไวรัสอาจไม่แสดงอาการความผิดปกติใดๆ หรือถ้ามีอาการก็เล็กน้อยมาก และแม้ว่าจะมีไวรัสบางชนิดทำให้ค้างคาวป่วยหนักจนตาย แต่ก็จะมีจำนวนไม่น้อยที่หายเอง และยังคงแพร่เชื้อต่อไปได้
อย่างไรก็ดีแม้ขณะนี้หลายคนจะเชื่อว่าการปรุงค้างคาวให้สุกจะสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย แต่ก่อนการปรุงก็มีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้ในหลายขั้นตอน โดย ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านวิจัยและฝึกอบรมโรคติดเชื้อไวรัสจากสัตว์สู่คน (WHO Collaborting Center for Research and Training on Viral Zoonoses ) กล่าวว่า การปรุงสุกอาจจะช่วยทำลายเชื้อไวรัสได้ แต่ประชาชนมีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้ตั้งแต่การจับและการชำแหละ เพราะเชื้อไวรัสจะมีการสะสมอยู่ทั้งในเลือด น้ำลาย และเครื่องใน โดยเฉพาะที่ตับ ม้าม และเยื่อช่องท้องของค้างคาว ดังนั้นหากถูกกัดหรือบริเวณที่มีบาดแผลไปสัมผัสถูกบริเวณดังกล่าวเชื้อไวรัสจะเข้าสู้ร่ายกายได้ทันที อีกทั้งเมื่อรับประทานค้างคาวแล้วไม่รู้สึกถึงความผิดปกติใด ๆ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยร้อย 100% เนื่องจากเชื้อโรคบางชนิดใช้ระยะเวลาฝักตัวนาน เช่น เชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้ามีระยะเวลาฝักตัวเป็นเดือน หรือไวรัสนิปาห์ ที่นอกจากจะแสดงอาการของโรคหลังจากรับเชื้อไวรัสไม่กี่สัปดาห์แล้ว เชื้อไวรัสบางตัวยังสามารถเข้าไปอาศัยอยู่ในร่างกายและในระยะเวลาฝักตัวนานถึง 2ปี จึงจะแสดงอาการออกมา ดังนั้นผู้ที่เคยบริโภคค้างคาว หากมีอาการผิดปกติต่อร่ายกาย เป็นไข้ ควรแจ้งแทพย์ด้วยว่ามีการบริโภคค้างคาวมาก่อน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัยโรค
ทั้งนี้แม้จะพบว่ามีเชื้อไวรัสในค้างคาวหลายชนิด แต่ค้างคาวก็ไม่ได้แพร่เชื้อสู่มนุษย์ได้โดยง่าย การแยกพื้นที่ที่ชัดเจนจะช่วยให้ไม่ให้มีการปะปนของค้างคาวติดเชื้อมายังคนและสัตว์ การไม่รุกล้ำเข้าไปในถิ่นธรรมชาติของค้างคาวเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการครอบครองพื้นที่ รวมทั้งการไม่นำค้างคาวมาบริโภค จะเป็นเครื่องมือป้องกันให้ค้างคาวไทยยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่มีคุณค่าโดยที่ไม่มีผลกระทบนำโรคลายใด ๆ มาสู่คน
ด้าน ดร. สาระ บำรุงศรี นักวิจัยความหลากหลายของค้างคาวในประเทศไทย จากภาควิชาวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กล่าว การจับค้างคาวมาบริโภคไม่เพียงเสี่ยต่อเชื้อไวรัส แต่อาจจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายด้วย เพราะปัจจุบันค้างคาวกินแมลงทุกชนิด และค้างคาวกินผลไม้เกือบทั้งหมด (มีค้างคาวกินผลไม้เพียง 7 ชนิด ไม่จำกัดเป็นสัตว์ป่าคุมครอง ) ล้วนเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 โดยถือเป็นสัตว์ป่าที่ห้ามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ซึ่งค้างคาวที่ชาวอีสานนำมาบริโภคคณะนี้ คือ ค้างคาวปีกถุง เป็นค้างคาวกินแมลง และนับว่าเป็นหนึ่งในสัตว์ป่าคุ้มครองด้วยเช่นกัน
“ส่วนความเชื่อที่ว่าเมื่อกินค้างคาวแล้วไขมันที่สะสมอยู่ในตัวค้างคาวจะช่วยให้ร่ายกายอบอุ่นนั้น ไม่เป็นความจริงเพราะค้างคาวเป็นสัตว์ที่มีไขมันน้อยมาก เนื่องจากค้างคาวต้องบินหาอาหาร ฉะนั้นตัวต้องเบา ร่างกายส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อและหนังเป็นหลักเท่านั้น ” ดร.สาระ กล่าวและว่า ความเชื่อเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่ความเชื้อที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของเหตุและผลอาจนำมาซึ่งความเสียหายทั้งต่อชีวิตและระบบนิเวศได้ในระยะยาว เพราะค้างคาวมีประโยชน์อย่างมหาศาลต่อมนุษย์ มีส่วนสำคัญในการช่วยผสมเกสร กระจายพันธุ์พืชและช่วยรักษาสภาพพื้นป่าให้คงความสมบรูณ์ ที่สำคัญค้างคาวยังเป็นสัตว์ที่ออกลูกเพียงปีละ 1 ตัว เท่านั้น ดังนั้นหากมีการล่าเพื่อนำมาบริโภคเป็นจำนวนมากแล้ว นับเป็นเรื่อยากที่ประชากรค้างคาวจะฟื้นตัวได้ทัน และอาจจะมีผลให้ค้างคาวต้องสูญพันธุ์ได้ในที่สุด
ที่มา https://vcharkarn.com/varticle/38346