หน้าที่ 1 - รู้จัก
ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของนิตยสาร @ll Biotech และ วิชาการ.คอม
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
https://www.biotec.or.th/Guru/
ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza) ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบ และอาการทางระบบ เช่น มีไข้ รู้จักกันดีมาตั้งแต่อดีตกาลหลายร้อยปีมาแล้ว เพราะการปรับตัว เปลี่ยนแปลงกลายพันธุ์ของไวรัส ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในอดีตไม่ สามารถป้องกันได้ จึงเกิดการระบาดได้เป็นครั้งคราว เชื้อไข้หวัดใหญ่ ไม่ได้พบได้เฉพาะในมนุษย์เท่านั้น ยังพบ ได้ในสัตว์อีกหลายชนิดโดยเฉพาะนกน้ำที่มีการอพยพ และยัง พบว่าไวรัสดังกล่าวสามารถแลกเปลี่ยนส่วนพันธุกรรม (reassort) ระหว่างไวรัสไข้หวัดใหญ่ด้วยกัน จนเกิดเป็นสายพันธุ์ ใหม่ได้ เพราะ ฉะนั้นหากเกิดไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่มีความรุนแรงขึ้น ก็อาจเกิดการระบาดที่รุนแรงกว้างขวางขึ้นได้ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ จึง เป็นปัญหาทั่วโลกและเป็นการยากที่จะกวาดล้างให้หมดไป ปัจจุบัน ทำได้เพียงแค่ควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดใหญ่ขึ้นเท่านั้น
ไข้หวัดนก เกิดขึ้นได้อย่างไร
สำหรับไข้หวัดนกนั้น พบว่า เกิดการระบาดของไวรัส H5N2 ครั้งแรกเมื่อปี 1991 กับนกน้ำที่อ่าว Delaware ประเทศ สหรัฐอเมริกา ต่อมาในปี 1994 พบการระบาดของไวรัสนี้ในไก่ที่ เม็กซิโก (H5N2) แต่ไม่มีความรุนแรงของโรค แต่หลังจากนั้น 1 ปีได้ เกิดการตายของไก่จากไวรัสนี้ ที่เม็กซิโก ซึ่งจากการศึกษาพบว่า สายพันธุ์ไวรัสที่ทำให้เกิดโรครุนแรง และทำให้สัตว์ที่ติดเชื้อตายนั้น จะไม่แพร่ระบาดอยู่นาน ฉะนั้น แนวทางป้องกันไม่ให้โรค รุนแรงมาก ก็คือ จะต้องควบคุมเชื้อไวรัสนี้ให้หมดไปอย่างรวดเร็ว ก่อนที่ไวรัสจะปรับตัวเองจนกลายเป็นโรคประจำถิ่น และสร้าง ปัญหาอย่างใหญ่หลวงในระยะยาว ซึ่งกรณีของเชื้อไข้หวัดนก เป็นตัวอย่างที่ดี เนื่องจากปกติเชื้อไข้หวัดนกจะไม่สามารถ มีผลต่อคนได้ แต่การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ ในสัตว์ จนทำให้เกิดอาการกับคนขึ้นมานั้น มีรายงานครั้งแรกในปี 1957 เป็นไข้หวัดใหญ่ที่มีชื่อว่า Asian flu (H2N2) ส่วนกรณีที่ พิสูจน์ได้ว่ามีคนติดเชื้อไข้หวัดนก (H5N1) จริงนั้น เกิดเมื่อปี 1997 ที่ฮ่องกง ที่มีผู้เสียชีวิต 6 ราย
ทำไมจึงติดต่อจากสัตว์สู่คนได้
มีทฤษฎีหนึ่งอธิบายการกลายพันธุ์ของไข้หวัดนกจนติด สู่คนได้นั้น เกิดจาก "หมู" เพราะพบว่าเชื้อไข้หวัดใหญ่ในคนหลาย สายพันธุ์ในอดีต มีต้นเหตุมาจากหมู ซึ่งหมูสามารถป่วยเป็น ไข้หวัดใหญ่ของคน และสามารถป่วยเพราะไวรัสไข้หวัดนกได้ ดังนั้น หมูจึงสามารถรับไวรัสไข้หวัดใหญ่นกและของคนเข้าไป พร้อมๆกันและเกิดการติดเชื้อในเวลาเดียวกัน ทำให้อาจเกิดการ แลกเปลี่ยนพันธุกรรมของไข้หวัดใหญ่ ทั้งสองสายพันธุ์ จนเกิดเป็น ไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ที่ติดสู่คนได้ในที่สุด
การติดด่อแบบคนสู่คนจะเกิดได้หรือไม่
การข้ามสายพันธุ์จากนกสู่คนนั้น ในระยะแรกจะยังไม่ สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ แต่ถ้าไวรัสมีเวลาอยู่ในร่างกาย คนนานพอ ก็อาจเกิดการปรับตัวให้เข้ากับคนสามารถแพร่เชื้อ ไวรัสจากคนไปสู่คนได้ และอาจทำให้เกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลกได้ อย่างรวดเร็ว ดังนั้น การเฝ้าระวังมีความสำคัญ เพราะจะสามารถ ช่วยยับยั้งไม่ให้เกิดการติดจากคนไปคนได้
รู้ได้อย่างไรว่ากำลังติดเชื้อ
การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ มีระยะฟักตัว 1-3 วัน อาการของโรค ขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ดังนั้น จึงมีอาการพบได้ตั้งแต่ไม่มีอาการของโรค มีอาการน้อย เช่น เป็นหวัด หรือมีอาการมากจนถึงขั้นหลอดลมอักเสบ และปอด อักเสบ โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เจ็บคอ ระคาย คอ หวัด น้ำมูกไหล ไอ จาม คอและตาแดง บางรายพบ มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต อาการโดยทั่วไป จะเป็นประมาณ 3-5 วัน ในรายที่ป่วยหนัก จะมีอาการทางปอดอย่างรุนแรง เป็นปอดอักเสบ มีอาการไข้สูง ไอ เหนื่อย cyanosis และถึงเสียชีวิต
สำหรับอาการไข้หวัดนกในคน ไม่แตกต่างจากไข้หวัดใหญ่ ทั่วไป แต่อาจเกิดอาการเยื่อตาแดงได้มากกว่า ซึ่งปัจจัยเสี่ยง ที่สำคัญ คือ การสัมผัสหรือใกล้ชิดกับสัตว์ปีก อย่างไรก็ตามมีหลาย รายมีประวัติไม่ชัดเจนกับการคลุกคลีสัมผัสสัตว์ปีก จากการศึกษา เมื่อครั้งระบาดที่ฮ่องกง ด้วยการตรวจแอนติบอดี้ในกลุ่มเสี่ยง (อาศัยในครอบครัวใกล้ชิดผู้ป่วย เกษตรกร เลี้ยงไก่ สุกร และ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ) ตรวจพบผู้มีเชื้อเพียงร้อยละ 1.8 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการติดโดยตรงจากไก่หรือสัตว์ปีกมาสู่คนพบ ได้น้อย และอาการของโรคก็เป็นได้ตั้งแต่ไม่มีอาการ จนถึงรุนแรง หรือเสียชีวิต การติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรืออาการน้อยอาจ ทำให้ไม่ทราบ
รักษาอย่างไร
เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัส การให้ยาปฏิชีวนะจึงไม่เกิดประโยชน์ ยกเว้นมีอาการแทรกซ้อน การรักษาจึงเป็นการรักษาแบบโรค ทางเดินหายใจทั่วไป และรักษาตามอาการ ป้องกันคอยดูแลรักษา การเกิดภาวะหายใจล้มเหลว โดยเฉพาะในรายที่มีอาการปอดบวม ยาต้านไวรัสที่ใช้ในไข้หวัดใหญ่มี 2 ชนิด คือ
1. Amantadine และ Ramantadine มีคุณสมบัติยับยั้ง การแบ่งตัวของไวรัส ควรให้เร็วภายใน 24-48 ชม หลังจากเริ่ม มีอาการ
2. Oseltamivir และ Zanamivir มีคุณสมบัติขัดขวาง การทำงานของเอนไซม์ neuraminidase ควรให้เร็วภายใน 24-48 ชม. หลังมีอาการ ผลการรักษา อย่างไรก็ตามยาดังกล่าวมีโอกาส ที่ไวรัสจะดื้อยาเกิดขึ้นได้
มีวิธีป้องกันหรือไม่
แม้ในปัจจุบันจะยังไม่มีวัคซีนใช้ป้องกันไข้หวัดนก H5N1 แต่การพัฒนาวัคซีนก็มีความเป็นไปได้ โดยจำเป็นต้องศึกษา สายพันธุ์ของ Influenza A H5N1 อย่างละเอียด และแนวโน้ม การกลายพันธุ์เพื่อพยากรณ์ล่วงหน้าในการพัฒนาวัคซีน ซึ่งปัจจุบัน เริ่มการมีการศึกษาวิจัยกันแล้วในต่างประเทศ ส่วนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันยังมีข้อจำกัดอยู่มาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของ สายพันธุ์ไวรัส ทำให้ต้องมีการฉีดใหม่ทุกปี ซึ่งวัคซีนที่ใช้จะเป็น การกำหนดสายพันธุ์โดยองค์การอนามัยโลก โดยกำหนดให้ใช้ในกลุ่มเสี่ยงที่หากเป็นไข้หวัดใหญ่จะเกิดโรคแทรกซ้อน หรือมี อาการรุนแรง ซึ่งสำหรับประเทศไทยน่าจะมีองค์กรหรือผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้กำหนดว่ากลุ่มใดควรจะได้รับเพื่อความเหมาะสมสำหรับ ประเทศไทย การรับประทานอาหารที่สุก ความร้อนสามารถทำลายไวรัส ได้ จึงเป็นวิธีป้องกันตนจากไวรัสได้
การพัฒนางานวิทยาศาสตร์กับไข้หวัดนกในประเทศไทยก้าวหน้ามากน้อยแค่ไหน
ในยุคปัจจุบันจะมีโรคอุบัติเกิดขึ้น และจะมีโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นในอนาคตได้ การเตรียมความพร้อมทางด้านบุคลากร งานวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบจำเป็นต้องมีความพร้อมอยู่ตลอด ไข้หวัดนก H5N1 ไม่ใช่โรคใหม่แต่รู้จักกันมาแล้วตั้งแต่ปี 2540 ดังนั้น การวินิจฉัยจึงไม่ใช่เรื่องยาก
การวินิจฉัยได้เร็วจะทำให้การควบคุมโรคให้อยู่ในขอบเขต จำกัด และการสูญเสียจะน้อยกว่ามาก การปล่อยระยะเวลายิ่งยาว นานจะทำให้โรคดังกล่าวอาจปรับตัวเป็นโรคประจำถิ่น และจะยาก ต่อการกำจัดต่อไป ในกรณีเป็นโรคใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน อาจจำเป็นต้อง ระดมทีมนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ให้ได้คำตอบของโรคภายใน เวลาเป็นสัปดาห์ เช่น ตัวอย่างของ SARS coronavirus ที่นัก วิทยาศาสตร์ทั่วโลกร่วมมือกันถอดรหัสไวรัสได้ภายใน 2 สัปดาห์ สิ่งที่อยากเห็น คือ ความสามารถของประเทศไทย ในการ เฝ้าระวังโรคเกิดใหม่ พร้อมทั้งมีการสำรวจการเปลี่ยนแปลงของ ไวรัสเป็นระยะ เพื่อพยากรณ์ล่วงหน้าก่อนการระบาดและมีงาน ทางด้านวิทยาศาสตร์และการตรวจโรคที่ออกจากประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้ชาวโลกประจักษ์ในความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ และแพทย์ไทย
ที่มา https://vcharkarn.com/varticle/38315